SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กุมภาพันธ์ 28th, 2016 by rungtiwa

การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

An Evaluation of General Education Curriculum, Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีปีพุทธศักราช 2542 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 329 คน อาจารย์ประจำผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 50 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 105 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบคือ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่่วไป คุณลักษณะนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต และการสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ได้ผลการประเมิน ดังนี้

การประเมินบริบท พบว่าหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน แต่ควรพิจารณาเพิ่มเติมความสามารถเชิงการจัดการ และการพัฒนาคนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีดุลยภาพ

การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่าเนื้อหารายวิชาในทุกรายวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน โดยควรปรับปรุงวิชาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ทั่วไป สถิติเบื้องต้น และเพิ่มเติมวิชาด้านการจัดการ และการพัฒนาคนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างพอเพียงร่วมกับผู้อื่นได้ ด้านผู้สอนมีคุณวุฒิ ตรงตามหัวข้อที่สอน มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอนใฝ่หาความรู้และการจัดการเรียนการสอนเหมาะสมในระดับมาก ด้านสื่อการเรียนการสอนสอดคล้องกับเนื้อหาวิชามาก แต่ความทันสมัย คุณภาพและความพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง ขนาดของห้องเรียนต่อจำนวนนักศึกษา และลักษณะการจัดการเรียนการสอนเหมาะสมปานกลาง หนังสือ/ตำรา และเอกสารประกอบการสอน เพียงพอในระดับปานกลาง

การประเมินกระบวนการ พบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนมีวิธีการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เหมาะสมกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายรายวิชาในระดับมาก โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะบูรณาการหลากหลายให้มากขึ้น มีวิธีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา และมีการกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลเหมาะสมมาก การบริหารหลักสูตรและรายวิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง

การประเมินผลผลิต พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ส่วนใหญ่มีผลการเรียนตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปถึงระดับดีมาก (เกรด A-C) สูงกว่าระดับอ่อนถึงตก (เกรด D-F) เกือบทุกรายวิชา นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมในระดับมาก ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าบัณฑิตมีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในระดับมาก ยกเว้นการมีความรู้กว้างขวางในวิชาพื้นฐานหลายสาขาวิชามีความรู้ในวิทยาการที่เป็นสากล มีความสามารถปฏิบัติงานได้ในภูมิภาคเอเซีย ความสามารถในการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา และความเป็นผู้นำอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาและอาจารย์มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะที่ได้จากการเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในระดับมาก ซึ่งคุณลักษณะที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

This study aimed to evaluate the B.E. 2542þs Bachelorþs degree General Education Curriculum at Huachiew Chalermprakiet University, using Stufflebeamþs CIPP Model to assess all 4 core parts: Context Input Process and Product. The supervisors evaluated the graduatesþ characteristics based on the objectives of the General Education subjects, comparing them with the expected characteristics of the students and the existing characteristics in reality. The sample group of subjects in this study consisted of 329 students, 50 permanent instructors attached to General Education Department, 105 instructor advisors, and 299 alumniþs supervisors at work. There were 3 main types of data gathering tools: document analysis; questionnaires asking opinions about overall attitudes towards the General Education Department, studentþs characteristics based on established objectives, graduateþs characteristics assessment form; and focus group discussions. The data were analyzed statistically by using means, and standard deviation (S.D.), which yielded the following results.

1. Context Evaluation: It was found that the General Education Curriculum was commensurate with the University policy as well as the needs of society and workplaces. However, a consideration should be given to an addition of the development of management skills, and the development of individuals so that they can sufficiently maintain their livelihood with others in a balanced fashion.
2. Input Evaluation : It was found that : The contents of every course were commensurate with the objectives, purposes and needs of the society and workplaces, to be improved on the subject of Mathematics, General Mathematics, and Basic Statistics, all of which should be geared towards general education subjects, and to add more contents in Management and how to develop individuals so that they can sufficiently maintain their livelihood with others in the society. The instructorsþ qualifications were commensurate with the topics to be taught; they had necessary experience and expertise in the subjects they were to teach; they were academically inquiring-minded, and were able to effectively manage their classrooms at a high level. Instructional materials were highly commensurate with the course contents, but their modernity, quality, and adequacy were moderately appropriate. There were sufficient self-instructional materials at a moderate level. The average size of each classroom with the matching number of students and the management of teaching/learning process were moderately appropriate. There were sufficient numbers of books/textbooks, supplementary materials at a moderately adequate level.
3. Process Evaluation: It was found that : Teaching methods were commensurate with the objectives. Teaching/learning activities matched the course syllabus and objectives
at a high level. Some of the recommendations were that the extracurricular activities should be integrated with those of other subjects in the General Education Department and should be more diverse. Measurement and evaluation were commensurate with the course objectives. The established criteria for measurement and evaluation were very appropriate. Curriculum and course administration were moderately appropriate.
4. Product Evaluation: The results of studentþs achievement indicated that most students obtained grades Aþs-Cþs, higher than Dþs -Fþs almost in every subject. Both students and the instructors were satisfied with the overall management of General Education subjects at a high level. The characteristics of graduates based on the objectives of General Education subjects as assessed by the supervisors were highly appropriate,except in area of the all-roundedness of the level of the knowledge in various General Education subjects, the area of universal knowledge, the capability to work in Asian
Region, the ability to use at least 2 different languages for communication, and finally the area of leadership, all of which were at a moderate level. The students and instructors expected certain characteristics from the learning of General Education at a high level,while in reality, it was found that the characteristics were at a moderate level, and that the difference was statistically significant at the level of .01.

 

อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ สิริสรณ์ ทิพทวี. (2549). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 36-55.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa