SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร
พ.ค. 4th, 2016 by sirinun

HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร

HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหาร ที่มีการส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกและผลิตอาหาร เพื่อการบริโภคภายในประเทศ สินค้าอาหารต้องมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารเดียวกันสำหรับผู้บริโภค หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมเอกสารต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียน เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยอาหาร ให้มีศักยภาพรอบด้านทั้งองค์ความรู้และความเข้าใจในหลักการการจัดการความปลอดภัยอาหาร และนำมาประยุกต์และปฏิบัติได้จริงในการแก้ไขปัญหาจากอันตรายต่างๆ ในกระบวนการผลิตอาหารแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ของแต่ละโรงงานได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ หมวดหมู่ TP373.5 ป473อ 2558

รายการอ้างอิง

ปรียา วิบูลย์เศรษฐ์, สุดสาย ตรีวานิช  และวราภา มหากาญจนกุล. (2558). HACCP การจัดการความปลอดภัยอาหาร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ

บทคัดย่อ:

ISO22000 ระบบมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นระบบมาตรฐานสากลกลางที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 23 ประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย รวมทั้งตัวแทนองค์กรจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Codex Alimentarius Commission, FAO (Food and agriculute Organization) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งครอบคลุมทุกองค์กรในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตชั้นต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคชั้นสุดท้าย (Final Consumer) ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ปัจจุบันมาตรฐานนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว และประกาศใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ไม่ถูกกีดกัน สามารถขายได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นครัวของโลกต่อไป บทความนี้นำเสนอ สาเหตุที่ต้องจัดทำระบบมาตรฐานระบบการรับรองคุณภาพอาหาร มาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ประกอบการอาหารควรรู้จัก ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ISO22000 และรายละเอียดข้อกำหนด ประโยชน์ของระบบ ISO22000

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2548). ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 54-63.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa