การศึกษาคุณภาพและดัชนีชี้วัด การดูแลอย่างต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
The study of quality and Indicators of family-centred continuing care
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและดัชนีชี้วัดในการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางตามมุมมองของผู้ป่วย ครอบครัว พยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยการวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงเนื้อหา ระหว่างการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดการดูแลต่อเนื่องและแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปรัชญาความเชื่อในยุคหลังทันสมัยเป็นพื้นฐานความเชื่อในการสร้างแนวทางการพัฒนาคุณภาพและดัชนีชี้วัดการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางจากการตีความ การให้ความหมาย การปลดปล่อยทางความคิด และกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว และทีมสุขภาพ (2) คุณภาพการดูแลอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นจากการพัฒนาคุณภาพของระบบการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน ระบบการวางแผนก่อนกลับบ้าน ระบบการสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทีมสหสาขาวิชาชีพระบบข้อมูลข่าวสาร การจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยและครอบครัว ภายใต้แนวคิดแบบองค์รวม การมีส่วนร่วม การผสมผสาน และการวางแผนกลับบ้าน (3) ดัชนีชี้วัดการดูแลอย่างต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง คือ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความพึงพอใจต่อการให้บริการ ระยะเวลาในการครองเตียงลดลง อัตราการกลับซ้ำโรงพยาบาลลดลง และงบประมาณในการรักษาพยาบาลลดลง
ข้อเสนอในการพัฒนาคุณภาพและดัชนีชี้วัดการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง คือ การดูแลอย่างต่อเนื่องโดยใช้ความรู้สึกนึกคิดของครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การจัดการองค์ความรู้เกี่ยวก้บการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางให้เหมาะกับบริบทส้งคมวัฒนธรรมของผู้ป่วยและครอบครัว สามารถตอบสนองความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวได้ มีระบบการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพการดูแล โดยใช้กระบวนการค้นหาประเด็นปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว การสืบค้นและรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักฐานที่ได้จากการวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานการพยาบาลด้วยการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง สร้างและทดสอบใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อประเมินผล นำไปใช้ในการพัฒนาระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
This research study was proposed the quality and indiators of family-centred continuing care, in perceptive of patient, family, nurse, and health team. The content analysis was research methodology by indepth interview, focus group, and data analysis with continuity care theory and family-centerd care concept. The study outcomes are :
(1) Postmodernism was philosophy underpin to develop the clinical practice guideline in quality and indicators among continuity care with family-centred care by intrepreted, give meaning, freedom ideas and created participation process between patient, cargiver,family, and health team.
(2) Quality of continuity care will be developed the qulity systems in which holistic care, participation, intregation, and discharge planning concepts like as coordinator system, home visit, discharge planning system, communication system, relationships between provider, client, and multidisciplinary health teams, informatics system, environment management.
(3) Continuity care with family-centred care indicators were increasing patient self-care and satifaction with service, decreasing rang of admission, re-admission rate, and managed budjet care.
The proposes of quality and indiators development in continuity care with familycentred care were continuity care must insider perspective with family-centred care, knowledge management could be suitable with problem and need patient, family, and cultural context, settle the audit and quality analysis system. This process follows searching problems, issuses and trend among patient and family, inquiring the litterature and reviewing research, analysis and synthesis evidenced-based to create the clinical practice guideline with continuity care with family-centred care, developing and trial clinical practice guideline for evaluation and applying the outcome to develop these systems.
หทัยชนก บัวเจริญ ฉวีวรรณ ตั้งอมตะกุล และ อังสนา ศิรประชา. (2549). การศึกษาคุณภาพและดัชนีชี้วัด การดูแลอย่างต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 22-35.
อ่านบทความฉบับเต็ม