SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คลิก Hide Facets ช่วยได้เยอะ
ต.ค. 29th, 2019 by uthairath

การ Search หรือค้นหาข้อมูล ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกในส่วนของ Hide Facets

ผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของการลงรายการการสั่งซื้อหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น เกม ฯลฯ ในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) จึงต้องมีการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงขอนำเสนอวิธีการสืบค้น ที่จะช่วยให้สืบค้นได้ง่ายมากขึ้นจากการใช้ hide facet จากตัวอย่าง การสืบค้น Marrakech

รูปภาพที่ 1 เกมชื่อ Marrakech

1.เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือหรือชื่อเกมที่ต้องการสืบค้น ในครั้งนี้จะทำการสืบค้นเกมที่มีชื่อว่า Marrakech

ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ Read the rest of this entry »

การกำหนดสถานะหนังสืออ้างอิง (Reference Book)
ต.ค. 10th, 2019 by suwanna

การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด  โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด  เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management  Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »

กระบวนการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือของระบบ WMS (WorldShare Management Services) ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
มิ.ย. 12th, 2019 by ladda

ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด  WMS  (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง

ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วใน ศูนย์บรรณสารสนเทศและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location ในระบบ WMS
พ.ค. 4th, 2019 by jittiwan

ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะการแพทย์แผนจีน ทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนมากจะอยู่ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี จะมีบางส่วนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส เมื่อจำเป็นจะต้องย้ายกลับมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลี บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบจึงต้องนำทรัพยากรสารสนเทศมาเปลี่ยน Location ให้อยู่ที่วิทยาเขตบางพลี เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. นำตัวเล่มหนังสือมาสืบค้น ดังตัวอย่าง สืบค้นด้วย ISBN

2. เลือกรายการที่ตรงกับตัวเล่ม ดังตัวอย่าง คลิกที่ชื่อเรื่อง

 

3. ตรวจสอบความถูกต้องหรือมีการเพิ่มเติมรายการบรรณานุกรมให้สมบูรณ์มากขึ้นใน Master record

Read the rest of this entry »

Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

OA & Open Content in the user workflow
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

Discussion guide

เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

สรุปหมวดของ OA

ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ

APRC18 Change the Game
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน

ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี

สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย

Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman

How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki

Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)

WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz

Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom

Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte

OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร

A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
พ.ย. 25th, 2018 by uthairath

ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น (Key Basic Tag) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ  โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการ การสืบค้นสามารถสืบค้นได้ทั้ง 2 โมดูล คือ ในโมดูล  Acquisition เลือก Discover Items  Search และโมดูล Metadata เลือก Record Manager Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหา My Library Holding , All WorldCat, My LHRs
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title,  Author, ISBN, ISSN,  OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ต้องการหาผู้แต่งชื่อ ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล  Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
พ.ย. 3rd, 2018 by kityaphat

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ได้มีฟังก์ชั่น เพื่อส่งบิลการชำระค่าปรับให้กับสมาชิกผ่านช่องทาง E-mail ของสมาชิกได้โดยสะดวกและรวดเร็ว โดยผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงิน ซึ่งสมาชิกสามารถไปตรวจสอบใบเสร็จได้ทาง E-mail ที่สมาชิกได้แจ้งไว้ในระบบ แต่ถ้ามีการร้องขอก็ต้องออกใบเสร็จให้ตามปกติ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติงานการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail ดังต่อไปนี้ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

บทความที่เกี่ยวข้อง

สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tagนการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
ต.ค. 15th, 2018 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ในระบบ WMS มีฟังก์ชั่นในการให้บริการจองทรัพยากรสารสนเทศ  โดยการจองทรัพยากรสารสนเทศทางออนไลน์ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้

  1. จองด้วยตนเองผ่านระบบ (กรณีผู้ใช้บริการจองด้วยตนเอง)
  2. จองโดยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจองให้

การจองทั้ง 2 แบบสามารถจองทรัพยากรสารสนเทศได้ทั้งที่อยู่บน Shelf และที่ถูกยืมออกไป

รายละเอียดของ  การจองหนังสือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa