SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เยี่ยมชมและศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
เม.ย. 8th, 2019 by buaatchara

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์   หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น  มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม

ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ

1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

TSIC ID: 85302-0082

2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)

อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล

3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย

4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร

5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย

6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร

7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์

กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
เม.ย. 4th, 2019 by chonticha

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562  เวลา 10.00 -12.00 น. โดยศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และดูงานในส่วนของหอสมุด ซึ่งในส่วนของการดูงานหอสมุด นั้น มี ดร.อภิภู  สิทธิภูมิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการและพันธกิจพิเศษ เป็นผู้บรรยาย และนำชม


หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ

การให้บริการตอบคำถามออนไลน์

อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  www.li.mahidol.ac.th   Read the rest of this entry »

เมื่อได้มาดูงานศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
เม.ย. 4th, 2019 by piyanuch

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  โดยมี นางสาวฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยายและนำชมห้องสมุด เริ่มต้นการสรุปแนวทางการบริหารงานของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Read the rest of this entry »

การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภท ตำรา
เม.ย. 2nd, 2019 by suwanna

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ  จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป

หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้  งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »

Library Care the Bear
มี.ค. 29th, 2019 by supaporn

การแถลงข่าว Library care the bear

Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear  “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน

Care the bear

Read the rest of this entry »

Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
มี.ค. 28th, 2019 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการประจำปี เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21  เมื่อวันที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยการบรรยาย  5 หัวข้อ ได้แก่

  • AI and Big Data in KU  โดย ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาส (รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Library Analytic and Matrix Using Data to Driven Decision Services โดย Dr.Jin Chen (Shanghai Jiao Tong University Library)
  • AI กับงานห้องสมุด โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ (ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การเสวนาวิชาการเรื่อง Data Analytics จากประสบการณ์สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุด  โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์สาโรช เมาลานนท์ (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผศ. ดร. ศจี ศิริไกร (สาขาวิชาบริหารปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  และนายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย (ผู้อำนวยการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • SciVal เครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดย นางสาวมณีรัตน์ จอมพุก (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จะขอสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Read the rest of this entry »

ทัศนศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
มี.ค. 24th, 2019 by sirinun

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด

คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 7.00 น. ของวันถัดไป  เป็น Learning Commons มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริหารพื้นที่ เปิดแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือ แบ่งพื้นที่ เป็น

  • ชั้นที่ 1 Business Zone ให้บริการร้านค้า ธนาคาร และมีจัดนิทรรศการ

  • ขั้นที่ 2 Tutoring Zone มีมุมให้อ่านหนังสือมากมาย นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมกลุ่มย่อย ให้ทำรายงานมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตามโต๊ที่นั่งอ่านหนังสือ เพื่อให้บริการผู้ใช้อย่างเพียงพอ

  • ขั้นที่ 3 Reading Zone  มีพื้นที่อ่านหนังสือที่สบาย มีทั้งที่นั่งอ่านหนังสือแบบเดียว และแบบกลุ่ม

  • ชั้นที่ 4 Language Center ห้องฝึกภาษาด้วยตนเอง  มีห้องชมภาพยนต์ 2 ห้อง

  • ชั้นที่ 5 Roof garden เป็นร้านกาแฟ มีบริการเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีวิวทิวทัศน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

Read the rest of this entry »

Utilizing Library Data
มี.ค. 5th, 2019 by supaporn

Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่  Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง  I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่

National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น  จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization

KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC  เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง

National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้

OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)

เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC

OCLC Classify

Read the rest of this entry »

การทำแบบประเมินผลความพึงพอใจ พร้อมสรุปผลแบบประเมิน (แบบคำนวณสูตร Excel)
ก.พ. 1st, 2019 by chanunchida

แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดหรือเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จัดกิจกรรม เพื่อจะได้ทราบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น มีประโยชน์ในการจัดหรือไม่ ผู้ร่วมกิจกรรมมีความคิดเห็นแต่ละด้านที่ผู้จัดต้องการทราบผลการจัดในแต่ละประเด็นอย่างไร ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน หรือในภาพรวมอย่างไร หรือไม่ เพื่อจะได้ทราบผลการประเมิน ซึ่งเสมือนเป็นผลของการดำเนินกิจกรรมว่าออกมาในรูปแบบที่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมพอใจ หรือต้องปรับปรุงในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในครั้งต่อไป

การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ จึงต้องสร้างเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการทราบในแต่ละด้าน และมีการกำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจ เช่น มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมตอบแบบประเมินความพึงพอใจมาแล้ว จะต้องนำผลการกรอกคะแนนความพึงพอใจในแต่ละข้อมาคำนวณเพื่อสรุปคะแนนและวิเคราะห์คะแนนในแต่ละข้อ Read the rest of this entry »

Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa