SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การแนะนำหนังสือใหม่ผ่าน FB
มิ.ย. 25th, 2019 by sirinun

เครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder

ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน มีการจัดแสดงหนังสือแนะนำทุกเดือนที่บริเวณ ชั้น 1  และประชาชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ

ผู้เขียนมีหน้าที่ในการแนะนำหนังสือผ่าน FB ด้วย เริ่มตั้งแต่การสแกนหน้าปกของหนังสือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  1. เปิดเครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder ขึ้นคำว่า Ready ก่อนจึงจะสแกนหนังสือได้
  2. นำหนังสือที่ต้องการจะสแกน กลับหน้าปกวางลงบนเครื่องสแกน
  3. ปิดฝาเครื่องสแกนให้เรียบร้อย
  4. สแกนหนังสือโดยโปรแกรม NAPS2

Read the rest of this entry »

งานพิมพ์สันและประทับตราหนังสือ
มิ.ย. 25th, 2019 by pisit

หนังสือที่ผ่านการวิเคราะห์และลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดแล้ว จะถูกนำมาติดสันและประทับตราในตัวเล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการในการเตรียมหนังสือเพื่อออกให้บริการ

ในการพิมพ์สันเพื่อติดหมวดหมู่ของหนังสือ มีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าระบบ WMS โดยเข้าที่ URL https://hcu.share.worldcat.org/wms เพื่อ Login เข้าสู่ระบบ

2. เลือกโมดูล Metadata และไปที่ Record Manager – Scope เลือก My Library Holding  และ นำเลข Barcode ของหนังสือที่งานวิเคราะห์ฯ ออกให้กับหนังสือเล่มนั้นๆ มาค้นหา และเลือกหนังสือที่ต้องการพิมพ์สันคลิกที่ชื่อเรื่องหนังสือ Read the rest of this entry »

การตรวจเช็คหนังสือโดยใช้เลข Barcode
มิ.ย. 23rd, 2019 by suwanna

การปฏิบัติงานของฝ่ายวิเคราะห์หมวดหมู่ หนังสือ บางครั้งจะต้องมีการตรวจเช็คหนังสือในกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจเช็ครายการหนังสือเพื่อปรับเปลี่ยน Location ในการจัดเก็บ การตรวจเช็คหนังสือในกรณีที่อาจารย์หรือผู้ใช้ต้องการเร่งด่วน หรือตรวจเช็คหนังสือที่อยู่ระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่ เป็นต้น

การตรวจเช็คหนังสือ ในกรณีที่ได้รับข้อมูลมาให้ตรวจสอบไม่ละเอียดนัก หรือผู้แจ้งให้ตรวจสอบไม่สามารถแจ้งข้อมูล ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือ ISBN ได้ วิธีการที่ง่ายที่สุด ก็คือ การให้ดูหมายเลข Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อให้ตรวจสอบในระบบห้องสมุดได้  เนื่องจากระบบ WorldShare Management มีช่องคำค้นให้หาได้จาก Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ โดยมีขั้้นตอนในการค้นหา ดังนี้

  1. เข้าสู่หน้าจอการทำงาน Metadata (ดังรูป)

 

Read the rest of this entry »

Line Official Account โฉมใหม่ ของ Line@
มิ.ย. 21st, 2019 by kamolchanok

ในขณะที่ท่านอาจจะไม่เห็นความสำคัญของการสร้าง Line@ หรือ Line Official Account แต่จริงๆแล้วสำคัญกับการสร้าง ธุรกิจ และการประชาสัมพันธ์ในอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังมาแรงในขณะนี้ เรามาดูวิธีการสร้างกันค่ะ ว่าเราต้องเตรียมอะไรกันบ้าง…

สิ่งสำคัญที่ต้องมี คือ line ส่วนตัวที่ใช้ ที่ลงทะเบียนด้วย Email และ password พร้อมแล้วมาสร้างกันเลยคะ

1. เข้าไปที่ URLนี้นะคะ https://at.line.me/th/จากนั้นคลิกที่ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

2. คลิกสร้างบัญชีทั่วไป

3. จากนั้น ลงทะเบียนด้วยบัญชี LINE  เพื่อความรวดเร็วในการใช้งานค่ะ

Read the rest of this entry »

กระบวนการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือของระบบ WMS (WorldShare Management Services) ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
มิ.ย. 12th, 2019 by ladda

ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด  WMS  (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง

ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วใน ศูนย์บรรณสารสนเทศและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms Read the rest of this entry »

การให้บริการราชกิจจานุเบกษา และการสืบค้นทางเว็บไซต์
พ.ค. 15th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมคำประกาศของทางราชการ แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ”  เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401

หน้าปกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ จะมีรูปเล่มที่คุ้นตากัน ก็คือ มีตัวอักษรและตราครุฑสีดำอยู่บนหน้าปกสีขาว จะขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี เริ่มตอนที่1 ในช่วงของต้นเดือนมกราคม มีขนาดของตัวเล่มคือ กว้าง 14.5 ซม. ยาว 21 ซม.

ราชกิจจานุเบกษาที่มีในห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ

                   

ราชกิจจานุเบกษานับเป็นหนังสือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของทางราชการ ซึ่งใช้สำหรับการประกาศกฎหมาย ข่าวสารสำคัญของบ้านเมือง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลย้อนหลัง ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์

สำหรับราชกิจจานุเบกษา ที่มีอยู่และให้บริการในห้องสมุดกฎหมาย ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ รวบรวมไว้ให้บริการอยู่ที่ชั้น 6 งานวารสารและเอกสาร แผนกบริการสารสนเทศ ซึ่งฉบับแรกที่มีให้บริการจะเป็น ปี พ.ศ. 2534 จนถึง ปี พ.ศ. 2556  รวบรวมไว้เป็นฉบับเย็บเล่มจัดเรียงตามปี พ.ศ. มีการเว้นช่วงการบอกรับไประยะเวลาหนึ่ง สืบเนื่องจากสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง และรวดเร็วกว่าการค้นคว้าจากตัวเล่ม แต่ปัจจุบันทางคณะนิติศาสตร์ได้ขอความร่วมมือให้ทางห้องสมุดติดต่อบอกรับแบบตัวเล่มอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากต้นฉบับได้หลากหลายขึ้น

Read the rest of this entry »

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในรูปแบบ Article Exchange
พ.ค. 13th, 2019 by navapat

การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในระบบ WorldShare Interlibrary Loan หรือ WorldShareILL นั้น มีบริการให้ผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้  2 แบบ คือ

1) ยืมตัวเล่ม (loan)  ดูเพิ่มเติม  ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)

2) ขอสำเนาเอกสาร (Copy) หรือไฟล์ข้อมูล (Article Exchange)  โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึง รายละเอียดและขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้

ขั้นตอนการให้บริการ Article exchange

  1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุดได้รับคำร้อง (Request) จากห้องสมุดหรือสถาบันของผู้ใช้บริการ
  2. ตรวจสอบว่าเอกสารที่ผู้ใช้บริการขอใช้ มีการจัดทำหรือสแกนเป็นไฟล์เอกสารแล้วหรือไม่
  3. พิจารณาค่าธรรมเนียมในการให้บริการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 137/2560 เรื่อง “การกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าบริการยืมระหว่างห้องสมุด พ.ศ. 2560” ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2560   หากพบว่ามีความสอดคล้อง สามารถดำเนินการตามคำร้องของผู้ใช้บริการได้
  4. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสแกน หรือดิจิไทซ์ บทความหรือเอกสารที่ผู้ใช้บริการต้องการ (กรณีที่ไม่มีไฟล์เอกสาร)
  5. จัดส่งไฟล์ให้ผู้ใช้บริการโดยเลือกคลิกลิ้ง OCLC Article Exchange จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกไฟล์ คลิกปุ่ม upload แล้วกด Yes ระบบจะแสดง Password ผู้ใช้บริการสามารถ download เอกสารที่เราจัดส่งให้ด้วย URL และ Password ดังกล่าว เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการให้บริการ ดังภาพ

 

 

环保线装杂记本装订
พ.ค. 7th, 2019 by Kwan Swee Huat

环保线装杂记本装订

崇圣华侨大学极注重环保。图书馆馆长环保意识尤重,因此于3月21日上午,在图书馆楼面层大厅举办具环保的活动——Be My Guest,以实际行动来推广并实践环保于日常生活中。今天的其中一项“复印纸再利用”,即利用图书馆部门的日常影印作业过程所产生的废品,制成杂记本以达到“物尽其用”。这些纸张因另一面未被复印,仍是空白净洁,如就此丢弃或送做“再生纸”则非常可惜,即浪费资源也不合环保。因此,收集这些报废的印刷纸,以基本简易的线装书装订法,教导有兴趣学习者前来制作简单杂记本,即可节省纸张资源,又可实质支持环保运动,尽爱护自然环境的义务,诚一举数得。

这实用且简易操作的工作坊吸引了不少本图书馆同仁及本校学生的参与。

照片提供者:Buaatchara(彭仙荷)

 

一、线装杂记本的基本结构

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเปลี่ยน Location ในระบบ WMS
พ.ค. 4th, 2019 by jittiwan

ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะการแพทย์แผนจีน ทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนมากจะอยู่ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี จะมีบางส่วนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส เมื่อจำเป็นจะต้องย้ายกลับมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลี บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบจึงต้องนำทรัพยากรสารสนเทศมาเปลี่ยน Location ให้อยู่ที่วิทยาเขตบางพลี เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

1. นำตัวเล่มหนังสือมาสืบค้น ดังตัวอย่าง สืบค้นด้วย ISBN

2. เลือกรายการที่ตรงกับตัวเล่ม ดังตัวอย่าง คลิกที่ชื่อเรื่อง

 

3. ตรวจสอบความถูกต้องหรือมีการเพิ่มเติมรายการบรรณานุกรมให้สมบูรณ์มากขึ้นใน Master record

Read the rest of this entry »

Shelf management กรณีวิทยานิพนธ์
พ.ค. 4th, 2019 by kalyaraksa

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์
2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย
4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa