แบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดหรือเพื่อต้องการทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จัดกิจกรรม เพื่อจะได้ทราบว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นนั้น มีประโยชน์ในการจัดหรือไม่ ผู้ร่วมกิจกรรมมีความคิดเห็นแต่ละด้านที่ผู้จัดต้องการทราบผลการจัดในแต่ละประเด็นอย่างไร ผู้ร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน หรือในภาพรวมอย่างไร หรือไม่ เพื่อจะได้ทราบผลการประเมิน ซึ่งเสมือนเป็นผลของการดำเนินกิจกรรมว่าออกมาในรูปแบบที่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมพอใจ หรือต้องปรับปรุงในด้านใดบ้าง เพื่อจะได้สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นในครั้งต่อไป
การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ จึงต้องสร้างเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการทราบในแต่ละด้าน และมีการกำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจ เช่น มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมตอบแบบประเมินความพึงพอใจมาแล้ว จะต้องนำผลการกรอกคะแนนความพึงพอใจในแต่ละข้อมาคำนวณเพื่อสรุปคะแนนและวิเคราะห์คะแนนในแต่ละข้อ
ยกตัวอย่าง แบบสอบถามความพึงพอใจ เรื่อง “โครงการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน” ดังรูป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
แจกแบบสอบถามให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 ฉบับ เมื่อได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาแล้ว นำมาคำนวณหาค่าคะแนนความพึงพอใจในแต่ละข้อ แต่ละด้าน โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพราะโปรแกรม excel จะใช้ได้ดีในด้านการวิเคราะห์ คำนวณ และการจัดการข้อมูลในรูปแบบตาราง ข้อมูลตัวอย่างดังรูป
หมายเลข 1 หัวข้อการประเมิน
หมายเลข 2 จำนวนผู้ทำแบบสอบถาม
หมายเลข 3 ระดับความพึงพอใจแต่ละหัวข้อ
หมายเลข 4 การคำนวณหาค่าของแบบสอบถาม
ในส่วนของหมายเลข 4 วิธีการคำนวณหาค่า ในโปรแกรม Microsoft Excel
- การหาค่าเฉลี่ย (AVERAGE) สูตรคือพิมพ์ = AVERAGE(คอลัมน์:แถว) ในช่องตาราง ตัวอย่าง คอลัมน์ C แถวที่ 33 เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จให้กด Enter
- การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สูตรคือพิมพ์ =STDEV(คอลัมน์:แถว) ในช่องตาราง ตัวอย่าง คอลัมน์ C แถวที่ 34 เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จให้กด Enter
การสรุปผลแบบประเมินโครงการ
เมื่อใช้สูตรคำนวณ และได้ข้อมูลแล้วนำมาสรุปและเขียนผลการประเมินที่ได้จากการสรุปคะแนน
ตัวอย่างดูได้จากไฟล์แนบ >>> สรุปการประเมินความพึงพอใจโครงการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน <<< (เอกสารตัวอย่างไม่สามารถ Copy ได้)