TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือที่เป็นคู่มือการสอบภาษาต่างประเทศ ของภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คือ TOEIC , TOEFL และ HSK ไว้ให้บริการเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคู่มือเพื่ออ่านเตรียมสอบภาษาต่างประเทศ โดยได้จัดหนังสือพร้อมมีที่นั่งอ่านแบบสบายๆ แถมชมวิวทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติและเน้นความเป็นส่วนตัว ไว้ให้บริการที่ชั้น 3 อาคารบรรณสาร บริเวณชั้น 3
หลายคนคงมีคำถามในใจว่า TOEIC , TOEFL และ HSK คืออะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เพราะในการประกาศรับสมัครงานบางแห่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีผลสอบ TOEIC , TOEFL ประกอบการสมัครงานด้วย เรามาทำความรู้จักคำย่อนี้กันค่ะ Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ
ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีบริการใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ นักศึกษา สามารถยืมหนังสือกลับไปอ่านในช่วงปิดภาคการศึกษาได้ เนื่องจากโดยปรกติแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศจะไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือ จนกว่านักศึกษาจะมีการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อเป็นการสนับสนุนการยืมหนังสือและเป็นการส่งเสริมการอ่าน ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้พิจารณาเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ ไม่มีความเสี่ยงในการยืมหนังสือแล้วไม่นำมาคืน เป็นนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป นักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตระหนักถึงการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา เพื่อเป็นการสอนการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง รู้จักการค้นหาหนังสือ รู้จักแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ รู้จักการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเรียน การศึกษาของนักศึกษา จึงได้จัดกิจกรรม “สถานีความรู้” ขึ้นประกอบด้วย 10 สถานี ตั้งแต่ชั้น 1-ชั้น 6 แต่ละสถานี ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ หรือเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด พร้อมมีคำถาม เพื่อให้นักศึกษาทดสอบตนเองว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละสถานีหรือไม่ และสามารถนำกระดาษคำตอบมาส่งที่เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคำตอบและรับของที่ระลึกถ้าตอบได้ถูกทุกข้อ
กติกาการร่วมสนุก
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน
บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย
เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ
ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »
Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
ข้อดีของ Mendeley
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม การจัดแสดงหนังสือตามวันสำคัญ และจัดแสดงหนังสือร่วมกับคณะวิชาในเทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่มีอยู่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้โดยง่าย เช่น วันแม่ เทศกาลกินเจ วันขงจื่อ หนังสือมุมคุณธรรม มุมหนังสือพุทธทาสภิกขุ มุมหนังสือ สสส. จากการจัดจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจยืมหนังสือ จำนวน 200 คน/ 241 เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นการบริการเชิงรุกที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนหนังสือสู่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้น
แนะนำหนังสือสาขาวิชาต่างๆ
เทศกาลตรุษจีน
ห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ให้บริการอยู่ชั้น 3 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องจากกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง มีการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติออกมามากมาย ทำให้กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติที่เคยประกาศใช้ ไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อีก
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการช่วยพิจารณาหนังสือกฎหมาย และดึงหนังสือที่มีเนื้อหาเก่าหรือเป็นกฎหมายเก่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว แยกออกมาจากหนังสือกฎหมายที่ยังใช้ได้อยู่ ด้วยความกรุณาจากอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้หนังสือในห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็น Collection ทางด้านกฎหมายที่สมบูรณ์มากขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อาจารย์และนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้ในเพื่อการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีการคัดเลือกหนังสือออกแล้ว ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดนิทรรศการถาวร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเป็นมุมความรู้เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ที่นักศึกษากฎหมายควรที่จะได้เรียนรู้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดทำเว็บไซต์สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพื่อเป็นการเสริมการเรียนรู้สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพิ่มเติมให้อีกด้วย
INFOGRAPHIC คืออะไร
อินโฟกราฟฟิก มาจากคำว่า Information (ข้อมูล) + Graphic (รูป) นั่นเองครับ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย คือ “การนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นรูป”
การออกแบบอินโฟกราฟฟิกต้องมีขั้นตอนสำคัญ ๆ ดังนี้
บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ เพื่อให้บริการผู้ใช้บริการ โดยมีหลายกรณีที่บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานตามตารางที่วางไว้ จึงต้องมีการกรอกข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ แต่หลายๆ ครั้งที่การกรอกแบบฟอร์มนั้น มีความไม่ชัดเจน และไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลทำให้บุคลากร มีข้อมูลในระบบการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องได้ ดังนั้น ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลการปฏิบัติงานส่งกองทรัพยากรบุคคล จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีกันต่อไป
ข้อปฏิบัติการเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1.หากมีการเปลี่ยนแปลงการเข้าปฎิบัติงานเหลื่อมเวลาให้ขอแบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการ ชั้น 2 พร้อมลงชื่อรับแบบฟอร์มในสมุดรายการเบิกทุกครั้ง Read the rest of this entry »