SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การออกแบบสื่อ Infographic
มิถุนายน 26th, 2019 by Latthawat Rimpirangsri

INFOGRAPHIC คืออะไร

อินโฟกราฟฟิก มาจากคำว่า Information (ข้อมูล) + Graphic (รูป) นั่นเองครับ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย คือ “การนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นรูป”

การออกแบบอินโฟกราฟฟิกต้องมีขั้นตอนสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Research เตรียมข้อมูล – เราจะทำ Infographic เล่าเรื่องอะไรบ้าง? เราจะเอาตัวเลขสถิติมาจากไหน? ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเยอะพอสมควรเลยครับ เพราะบางทีข้อมูลก็มาจากหลายที่ เราต้องเอามารวมกันบ้าง เอามาเช็คบ้างว่าข้อมูลหลายแห่งเหมือนกันมั้ย
  2. Plan วางแผนการนำเสนอข้อมูล – เราอยากให้ Infographic ของเราสื่อ “ข้อความ” อะไรออกไป? จะนำเสนอผ่าน Flow / Narrative แบบไหน? ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เช่น เราอาจจะกำลังทำอินโฟกราฟฟิกที่เชียร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ก็ต้องคิดว่าเราจะสื่ออย่างไรให้แบรนด์นั้นดูดี ซึ่งอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากคนทำงานด้าน Creative เข้ามาช่วยครับ
  3. Design ลงมือออกแบบ – ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของ Designer ในการทำให้ไอเดียออกมาเป็นกราฟฟิกของจริงล่ะครับ ปกติแล้วจะนิยมใช้ Adobe Illustrator กัน เพราะสามารถทำงานออกมาเป็น Vector นำไปใช้ในเว็บก็ได้ ปรินท์ก็ยังคม
  4. Feedback ปรับปรุงให้ดีขึ้น – หลังจากออกแบบอินโฟกราฟฟิกเวอร์ชั่นแรกเสร็จแล้ว นำไปให้กลุ่มเป้าหมายของเราดู (และลูกค้า) เพื่อให้เค้าบอกเราว่ามีส่วนไหนที่ควรปรับปรุงบ้าง เพื่อให้เราทำอินโฟกราฟฟิกออกมาให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

เนื้อหากระชับ เชื่อมโยงกับผู้ชม (Relevant Contents)

คือเนื้อหา (Content) ที่ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงเข้ากับชีวิตของคนที่ดู ซึ่งยากมากในสมัยก่อน เพราะสมัยก่อน สื่อจะมีแค่วิทยุ โทรทัศน์ เราไม่สามารถรับรู้(Feedback) หรือ กลุ่มเป้าหมาย (Target) กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ นั่นทำให้สิ่งที่เราชอบบอกว่า เนื้อหาคือการตอบสนองความต้องการของคน ดังนั้นการสื่อสารกับคนหมู่มาก (Mass) นั้นเราจะรู้ได้ยากมากว่าจริง ๆ แล้วคนเหล่านั้นต้องการอะไร วัตถุประสงค์ของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับผู้ครอบครองสื่อหรือคนทำเนื้อหาเท่านั้น

กลุ่มเป้าหมาย (Target)

ทุกวันนี้สังคมแวดล้อมไปด้วยข้อมูลจากสื่อต่างๆมากล้น ผู้ชมไม่อยากเสียเวลากับเรื่องที่ไม่ช่วยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การนำเสนอเนื้อหาที่ตรงต่อกลุ่มเป้าหมายจึงสำคัญมาก เป็นเนื้อหาที่ทำให้ผู้ชมค้นพบคำตอบที่สงสัย
เป็นเนื้อหาที่ทำให้รู้สึกดี เป็นเนื้อหาที่ทำให้มีความสุขและที่สำคัญต้องเป็นเนื้อหาที่เชื่อถือได้

ใช้ภาพ + คำช่วยสื่อสาร (Visual Aid For Explanation)

เป็นชิ้นงานสื่อที่ใช้ภาพช่วยอธิบาย ด้วยเป้าหมายหลักเพื่อสื่อสารเนื้อหาประเด็นสำคัญๆสู่สาธารณะโดยจะทำด้วยลักษณะวาด / เขียนด้วยมือ (Handmade) หรือใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย (Infographic) ก็ได้ลักษณะสำคัญของ visual aid for explanation คือใช้ภาพและคำมาประกอบ-ส่งเสริมกันเพื่อสื่อสาร ประเด็นข้อมูลความรู้ ให้เข้าใจง่ายดังนั้นจึงไม่ใช่การใช้ภาพมาเพื่อตกแต่งเท่านั้น แต่ภาพ (image / picture) และเนื้อหาความรู้ (text) จะต้องถูกออกแบบให้สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (Structure)

  1. รายการ (List) สามารถใส่ข้อมูลที่จะสื่อสารเป็นข้อๆหรือเป็นชิ้นๆแยกกันได้ แต่จะต้องเป็นข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับหัวข้อใหญ่ และอยู่ในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลอื่นๆ
  2. เปรียบเทียบ (Compare) เปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล 2 ชุดขึ้นไป นำข้อมูลที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน มาเปรียบเทียบกันให้เห็นอย่างชัดเจน บอกถึงความแตกต่างของข้อมูล
  3. แผนผัง/แผนที่ (Map) ข้อมูลที่มีเรื่องตำแหน่งเข้ามาเกี่ยวข้องใช้ภาพเป็นหลัก และต้องการบอกสถานที่อย่างชัดเจน โดยใช้ลายเส้นเป็นตัวเชื่อมไปยังสถานที่ต่างๆ
  4. ลำดับเวลา (Timeline) เรียงลำดับข้อมูลตามเวลาก่อน – หลังเกี่ยวกับเวลา และประวัติศาสตร์ ใช้การลากเส้นเพื่อบอกระยะเวลาหรือใช้รูปภาพตามยุคสมัยที่ต่างๆ
  5. แผนภูมิจำนวน (Chart) เรียงลำดับข้อมูลตามปริมาณมาก – น้อย เกี่ยวกับจำนวนตัวเลข หรือสถิติ
  6. แผนภาพเหตุการณ์ (Flowchart) เรียงลำดับตามขั้นตอน

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa