SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย: เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน

Job Safety Analysis (JSA): Hazard Identification Technique for Work Accident Prevention

บทคัดย่อ

การที่แนวโน้มของจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในช่วง พ.ศ. 2550-2552 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 50 และสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การหกล้ม / ลื่นล้ม และการยก/เคลื่อนย้ายของหนัก / ท่าทางการทำงาน สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนแรกของ การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการมีการดำเนินการที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วน การวิเคราะห์หาอันตราย ซึ่งเทคนิค job safety analysis (JSA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์หา อันตรายที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การจัดทำ JSA ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ การคัดเลือกงาน การแตกงานให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ การวิเคราะห์หาอันตรายจาก งานที่เลือกนั้น การพิจารณาวิธีขจัดและลดอันตรายที่พบและการจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเทคนิค JSA ไปใช้มีอยู่ 4 ช่วง คือ ช่วงก่อสร้างหรือเริ่ม การผลิต ช่วงดำเนินการผลิตเป็นปกติช่วงขยายหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต และช่วงซ่อมแซมบำรุงหรือ ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ ข้อควรระวังในการจัดทำได้แก่ การเลือกงานมาวิเคราะห์ซึ่งจำเป็นต้องเป็น งานที่เกิดอุบัติเหตุสูงและควรศึกษารายละเอียดการสืบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยทุกครั้ง การแตกงาน เป็นขั้นตอนย่อยไม่ควรแตกงานแคบเกินไปหรือกว้างเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการวิเคราะห์หาอันตราย การจัดทำ JSA และ Safety Standard Operation Procedure (SSOP) จำเป็นต้องผ่านการทบทวน โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานนั้นเสมอ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถวิเคราะห์ หาอันตรายได้ถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic cause) และผู้จัดทำต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดี ในงานที่นำมาวิเคราะห์และ ไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ถ้าไม่มีการเดินการผลิตก่อน Read the rest of this entry »

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ

Male Adolescence with Health Promoting Behavior for Gender

บทคัดย่อ

วัยรุ่นชาย เป็นวัยที่ควรได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตปัญญา เพื่อให้มีความพร้อมในการแสดงบทบาททางเพศของตนตามที่สังคมคาดหวัง โดยเฉพาะสังคมไทย ผู้ชาย ควรต้องมีความเป็นผู้นำ เสียสละ และช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลที่อ่อนแอกว่าในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงซึ่งสังคมไทยจัดว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ ผู้ชายควรช่วยกันปกป้องและต้องให้ เกียรติไม่ประพฤติปฏิบัติพฤติกรรมต่อเพศหญิงอย่างไม่เหมาะสม เช่น ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจช่วยเหลือ ตามโอกาสที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นความงดงามของสังคมไทยที่ผู้ชายได้แสดงบทบาททางสังคม เหมาะสม หรือที่เรียกว่า การแสดงบทบาทด้านเพศภาวะของตนได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม ไทย แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้ พบว่า พฤติกรรมการเอื้อเฝือ เผื่อแผ่ ความเอื้ออาทร การให้เกียรติ และยกย่องเพศหญิงเป็นพฤติกรรมที่นับวันจะเริ่มลดน้อยลง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เช่น การทารุณกรรม การทำแท้ง การใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ราบรื่น สาเหตุหนึ่งมาจาก การพัฒนาบทบาททางเพศหรือเพศภาวะของผู้ชายไม่ได้รับการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ เป็นปัจจัยผลักดันทางอ้อมของปัญหาเหล่านั้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพด้านเพศภาวะที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นชาย Read the rest of this entry »

ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดจากสารมลพิษรวมในน้ำ จากคลองชวดหมันโดยใช้เมล็ดข้าวโดยเปรียบเทียบระดับความเป็นพิษเฉียบพลันจากค่ายับยั้งการงอกที่ 50% (Inhibition Concentration at 50% : IC50) ของการงอกและความยาวราก ร่วมกับการทดสอบ การกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ (Ames test) นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพน้ำและตะกอนดินเบื้องต้นทาง กายภาพ เคมี และชีวภาพรวมทั้งปริมาณโลหะชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทาง กายภาพของคลองชวดหมัน มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 6.40 – 8.03 และค่าสภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) อยู่ในช่วง 1076 – 3660 µµS/cm คุณภาพน้ำทางเคมีพบว่ามีความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) อยู่ในช่วง 23.23 – 45.88 mg/l Chemical Oxygen Demand (COD) อยู่ในช่วง 166.4- 873.6 mg/l และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 0.49-7.12 mg/l สำหรับคุณภาพน้ำทางชีวภาพ ในน้ำพบว่ามีปริมาณแบคทีเรียอยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ นอกจากนี้ปริมาณโลหะ ในน้ำคลองชวดหมันพบโลหะที่เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ของประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) คือ ตะกั่ว (Lead) และ สารหนู (Arsenic) ซึ่งมีความเข้มข้นที่ 0.11 และ 0.01 mg/l ตามลำดับ สำหรับคุณภาพตะกอนดินทางกายภาพและเคมีของคลองชวดหมันพบว่า มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 7.42 – 8.05 ความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 42.22 – 51.72 และ 32.76 – 103.45 mg – Nkg dry sediment ตามลำดับ สำหรับปริมาณโลหะหนักในตะกอนดิน พบว่า ปรอทมีค่ามากที่สุด คือ 0.5846 µg/kg Read the rest of this entry »

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย

A Study of  Waterway Transportation and Logistics Development Case Study : Overseas Chinese Corporation in Thailand

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา บริษัท ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการและปัญหาอุปสรรคของการดำเนิน ธุรกิจด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำของบริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ขอบเขตของการวิจัย เป็นการศึกษาประวัติและพัฒนาการ ระบบ การบริหารงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และการขนส่งทางน้ำของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาระหว่างปีพ.ศ. 2472-2552 และเป็นการศึกษาการ พัฒนาการของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางประวัติศาสตร์รายงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากสถานที่จริง การสำรวจและศึกษาเอกสารประวัติการดำเนินงานของบริษัท เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลข้อมูล ตามกรอบวิจัยที่กำหนด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ และที่ปรึกษาบริษัท ลูกหลานของผู้ก่อตั้ง หรือมีความสัมพันธ์กับการจัดตั้งหรือการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่อดีต รวมทั้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ Read the rest of this entry »

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา

The Development of Quality Indicators and Best Practices For Study Skills in Higher Education

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีโดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นตอนที่1 สัมภาษณ์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของทุกคณะวิชาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จำนวน 67 คน และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน เพื่อให้ได้ทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี Read the rest of this entry »

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting the HCU Chinese Major and Traditional Chinese Medicine Students’ Productions of the Chinese Consonant sounds, Vowel, and Tones

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ของนักศึกษา เพื่อให้ผู้สอนได้เข้าใจถึงปัจจัยและสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้นักศึกษาออกเสียงผิดและเพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Read the rest of this entry »

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี

The Guidelines for Potential Development of Chanthaburi Mangosteen Cluster

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน และศึกษาศักยภาพของเครือข่าย ตลอดจนเสนอแนะเชิงนโยบายในแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้แทนที่มาจากคณะกรรมการบริหารเครือข่าย สมาชิก ภาครัฐและเอกชน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย สรุปได้ว่า เครือข่ายมีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเครือข่ายมีศักยภาพมากในเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น คุณภาพและเอกลักษณ์ของมังคุดในเครือข่ายเมื่อเทียบกับคู่แข่ง การแข่งขันจากผู้ผลิตภายนอก เป็นต้น แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำสวนมังคุดนอกฤดู สร้างกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าในการส่งออก เป็นต้น

The objectives of this research are to study the cluster’s strengths, weaknesses, opportunities, threats, and the guidelines to solve problem of the cluster, study the cluster’s potentials, and suggest the guidelines for potential development of the cluster. Purposive sampling was used in this research. The samples were selected from the cluster’s committee representatives, the cluster’s members, and the related government and private sectors. The research tools include questionnaire and interview guides. The findings revealed that the cluster has the strengths, the weaknesses, the opportunities, and the threats. The cluster’s had the potentials at the high level in the bountiful resources, the quality and the identity of the cluster’s mangosteen when compared with competitors, and the competition of external producers. The guidelines for potential development of the cluster inferred that the cluster should increase the production efficiency, develop off – season production technique for mangosteen, and make strategies to increase export values.

ธิดารัตน์ โชคสุชาติ และ ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (28), 85-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Nutritional Status and 3E’s Behavior of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการและศึกษาพฤติกรรม 3 อ. ประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม 3 อ. กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดค่าดัชนีมวลกาย และวัดเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไค-สแควร์ Read the rest of this entry »

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”

《论泰国华文长篇小说》

 

ศศิวิมล เรียนทับ 陆碧霞. (2554). การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (28), 41-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน

The Effectiveness of Using Developed Nursing Documentation on Nursing Documentation Quality and Professional Nurses’ Satisfaction in In-patient Department

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านคุณภาพการบันทึกของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน และ (2) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 4 แบบ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ (2) แบบบันทึกการวางแผนการพยาบาล (3) แบบบันทึกความก้าวหน้าของผู้ป่วย และ (4) แบบบันทึกการวางแผนและการสรุปการจำหน่าย ผู้ป่วย 2) คู่มือการบันทึกทางการพยาบาล 3) แบบตรวจสอบการบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจผ่านการทดสอบความเที่ยงได้ค่า = 0.89 การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือนในหอผู้ป่วยใน 5 หอผู้ป่วย วัดผลคุณภาพการบันทึกและความพึงพอใจต่อแบบบันทึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เวลาในการบันทึก 2) ความสะดวกในการใช้แบบบันทึก และ 3) ประโยชน์ต่อการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการบันทึกด้วยสถิติindependent t – test เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจด้วยสถิติpaired t – test  Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa