SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กุมภาพันธ์ 25th, 2016 by rungtiwa

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Nutritional Status and 3E’s Behavior of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการและศึกษาพฤติกรรม 3 อ. ประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม 3 อ. กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดค่าดัชนีมวลกาย และวัดเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีภาวะโภชนาการตามค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ร้อยละ 9.7 อ้วน ร้อยละ 10.3 ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์การอ้วนลงพุงอยู่ในภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 11.1 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับภาวะโภชนาการตามค่าดัชนีมวลกายและตามเกณฑ์การอ้วนลงพุงของนักศึกษา ผลการศึกษาพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารรายข้อ พบว่าการหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง การหลีกเลี่ยง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการกินอาหารในสัดส่วน 2 :1: 1 คือ ผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน เนื้อสัตว์1 ส่วน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value = 0.04) กับภาวะโภชนาการตามค่าดัชนีมวลกายของนักศึกษา

The purpose of cross sectional survey research was to study the nutritional status and 3 E’s behavior including eat-food consumption, exercise-physical activity, and emotion–mental health. The relationship of 3 E’s behavior and nutritional status of the first year students in Huachiew Chalermprakiet University was also studied. The survey sample of 350 students in a first academic year 2009 was selected by stratified random sampling technique. Data were obtained by the questionnaire, a body mass index and a waist circumference. The frequency, percentage, means, standard deviation, and chi-square test were use for data analysis.

Results showed that the prevalence of overweight, obesity, and abdominal obesity of the first year students was 9.7 %, 10.3 %, and 11.1 %, respectively. The behaviors of students for food consumption, physical activity and emotion were at the moderate level. The food consumption behavior, the physical activity, and emotion showed no statistical significant relationship with the nutritional status and the abdominal obesity of the first year students.

Results on food consumption behavior indicated that the avoiding of food containing high fat and beverage, and the consumption of food in a ratio of 2 : 1 : 1 such as 2 part of vegetable, 1 part of rice or starch, and 1 part of meat, had statistical significant relationship (p-value =0.04) with the nutritional status based on the body mass index of students.

ตวงพร กตัญญุตานนท์. (2554). ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ  14 (28), 67-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa