ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อิ่มสำราญ (2563) รองคณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน ได้กล่าวถึง การนำอุปรากร “งิ้ว” มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ดังนี้
คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษา สืบทอด และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนรรมจีนให้กับนักศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฉลิมพระเกียรติ
ดังนั้นทางคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ซึ่งงิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲 ; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย
การนำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีนนั้น จะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรมจีน โดยผ่านการแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร คำร้องและเนื้อหาของการแสดงงิ้ว ได้อย่างง่าย และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ในรายวิชานักศึกษาจะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงิ้ว และได้มีโอกาสชมการแสดงงิ้ว ได้พูดคุยกับนักแสดงจากคณะงิ้วที่มีชื่อเสียง ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงศิลปและวัฒนธรรมของการแสดงงิ้วอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะภาษาและวัฒนะรรมจีนของทางมหาวิทยาหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้านจีนอีกด้วย
ชมคลิป ได้ที่ https://www.facebook.com/tanes.imsamran/videos/10156594345646946/
รายการอ้างอิง
ธเนศ อิ่มสำราญ. (2563, 6 กุมภาพันธ์). เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน“งิ้ว” โดยคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. [บทสัมภาษณ์]
ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย
ภาพมงคล (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ)) คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว) สี่ (ยินดี)
คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ
วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม
ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่
คลิปบรรยาย
หรือ https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE
Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ทำการเปลี่ยน Location ของหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศ (วข.ยศเส) มาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ (บางพลี) โดยระบุตำแหน่งหนังสือและสถานที่จัดวางหนังสือเล่มนั้น ๆ เพื่อให้ทราบแหล่งจัดเก็บสารสนเทศดังกล่าว โดยได้ทำการโอนย้ายข้อมูลบาร์โค้ดหนังสือในแต่ละเล่มเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
1.เข้าระบบ World Share Management Services (WMS) https://hcu.share.worldcat.org/wms/cmnd/ แล้ว Login จะปรากฏหน้าจอดังนี้ Read the rest of this entry »
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก. อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้ ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ
1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) (ดังรูป)
2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592 โดยกำหนดคำว่า Arc. ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548 มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป
แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา
การสืบค้นสารสนเทศ
เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »
คิด ผลิต ขาย ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย
เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 เวลา 10.30 – 12.00 น. ผู้เขียนและบุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทุกคน ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า TCDC (Thailand Creative and Design Center) ต้องขอบอกเลยว่ามีความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมาเยี่ยมชมในช่วงที่ TCDC จัด THEME “Zoorigami” จากกระดาษรีไซเคิลสู่ผลงานรักษ์โลก ซึ่งเราจะเห็นชิ้นงานออกแบบที่ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งแสดงอยู่ในแต่ละชั้น
TCDC Bangkok ปัจจุบัน อยู่ที่อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 8,600 ตารางเมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น และแยกเป็นโซนต่างๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »
เมื่อมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีอายุครบ 80 ปี คณะกรรมการฯ ภายใต้การนำของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ มีมติให้พัฒนาวิทยาลัยหัวเฉียวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ดร. อุเทนฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์, 2543 หน้า 203)
… มูลนิธิฯ ครบ 80 ปี ผมเสนอที่ประชุมว่าโอกาสนี้อยากจะเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ สร้างมหาวิทยาลัย และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำสาขาของมูลนิธิฯ ตามจุดต่างๆ เป็นสี่มุมเมือง … เรื่องมหาวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้นนั้น เราก็จะไม่ได้ทำเอาแต่ชื่อเสียง ต้องทำเป็นเรื่องที่ช่วยเหลือสังคมบ้านเมืองได้จริงๆ เราควรสร้างมหาวิทยาลัยที่ดี สมบูรณ์ แต่เราไม่หวังผลกำไร เอาเพียงแค่ให้พึ่งและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานดี ผมเห็นว่า ควรทำเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระบรมโพธิสมภารแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า…
มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเริ่มต้น “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญและสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ การรณรงค์เงินบริจาค การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย และการก่อสร้างมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจะเปิดมหาวิทยาลัยในกลางปี พ.ศ. 2535
ภาพอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย
อ่านก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก่อตั้ง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ การหาเงินบริจาค และเพื่อถวายความจงรักภักดี ได้ที่ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า หน้า 224 (ไฟล์) หรือหน้า 203 (เอกสาร) หรือในรูปแบบของ Flip
รายการอ้างอิง กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์. (2543). 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ในช่วงเวลานี้ บรรดาผู้ที่อยู่ในสายงานแวดวงของการศึกษา หากไม่มีการกล่าวถึง ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะคุยกับใครหลาย ๆ คนไม่รู้เรื่อง?
ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ปรับโฉมใหม่ของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library) จากงาน Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย Interior Design Magazine นิวยอร์ก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 90 ล้านบาท จากการบริจาคของศิษย์เก่าอย่าง เสริมสิน สมะลาภา ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562
ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม สถานที่แห่งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62 ซึ่งได้รับการต้อนรับ จาก ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับและสรุปที่มาของการรีโนเวตห้องสมุดให้ฟัง