SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การปรับเปลี่ยนสิ่งพิมพ์ มฉก. เป็น HCU Archives
ม.ค. 21st, 2020 by suwanna

สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก.   อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้  ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ  มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ

1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management  Services (WMS) (ดังรูป)

 

2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592  โดยกำหนดคำว่า   Arc.  ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »

การจัดการหนังสือทางด้านการพยาบาลที่วิทยาเขตยศเส
ม.ค. 17th, 2020 by jittiwan

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548  มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป

แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »

การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
ม.ค. 13th, 2020 by supaporn

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. แหล่งสืบค้นข้อมูล และการใช้ Application ยอดฮิตในจีน
  2. แหล่งการสืบค้นทางงานวิจัยและวิชาการของจีน
  3. แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน
  4. สรุปประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา

การสืบค้นสารสนเทศ

เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »

พามาชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย (Thailand Creative and Design Center) (TCDC)
ธ.ค. 24th, 2019 by navapat

คิด ผลิต ขาย  ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562   เวลา 10.30 – 12.00 น. ผู้เขียนและบุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทุกคน ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า TCDC (Thailand Creative and Design Center) ต้องขอบอกเลยว่ามีความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมาเยี่ยมชมในช่วงที่ TCDC จัด THEME “Zoorigami” จากกระดาษรีไซเคิลสู่ผลงานรักษ์โลก ซึ่งเราจะเห็นชิ้นงานออกแบบที่ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งแสดงอยู่ในแต่ละชั้น

 

                                                                                   

TCDC Bangkok  ปัจจุบัน อยู่ที่อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 8,600 ตารางเมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น และแยกเป็นโซนต่างๆ  ดังนี้ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
ธ.ค. 21st, 2019 by supaporn

เมื่อมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีอายุครบ 80 ปี คณะกรรมการฯ ภายใต้การนำของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ มีมติให้พัฒนาวิทยาลัยหัวเฉียวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ดร. อุเทนฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์, 2543 หน้า 203)

… มูลนิธิฯ ครบ 80 ปี ผมเสนอที่ประชุมว่าโอกาสนี้อยากจะเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ สร้างมหาวิทยาลัย และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำสาขาของมูลนิธิฯ ตามจุดต่างๆ เป็นสี่มุมเมือง … เรื่องมหาวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้นนั้น เราก็จะไม่ได้ทำเอาแต่ชื่อเสียง ต้องทำเป็นเรื่องที่ช่วยเหลือสังคมบ้านเมืองได้จริงๆ เราควรสร้างมหาวิทยาลัยที่ดี สมบูรณ์ แต่เราไม่หวังผลกำไร เอาเพียงแค่ให้พึ่งและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานดี ผมเห็นว่า ควรทำเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระบรมโพธิสมภารแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า…

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเริ่มต้น “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญและสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ การรณรงค์เงินบริจาค การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย และการก่อสร้างมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจะเปิดมหาวิทยาลัยในกลางปี พ.ศ. 2535

ภาพอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย

อ่านก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก่อตั้ง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ การหาเงินบริจาค และเพื่อถวายความจงรักภักดี ได้ที่ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  หน้า 224 (ไฟล์) หรือหน้า 203 (เอกสาร) หรือในรูปแบบของ Flip 

รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์. (2543). 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

 

 

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ จุฬาฯ แนวใหม่…โดนใจผู้เรียน
ธ.ค. 19th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในช่วงเวลานี้ บรรดาผู้ที่อยู่ในสายงานแวดวงของการศึกษา หากไม่มีการกล่าวถึง ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะคุยกับใครหลาย ๆ คนไม่รู้เรื่อง?

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ปรับโฉมใหม่ของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library)  จากงาน  Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย  Interior Design Magazine นิวยอร์ก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 90 ล้านบาท จากการบริจาคของศิษย์เก่าอย่าง เสริมสิน สมะลาภา ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม สถานที่แห่งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62  ซึ่งได้รับการต้อนรับ จาก ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับและสรุปที่มาของการรีโนเวตห้องสมุดให้ฟัง

Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ธ.ค. 7th, 2019 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีงานพิธีที่สำคัญเกิดขึ้นที่แสดงให้เห็นความเข้มแข็งด้านจีนของมหาวิทยาลัย นั่นคือ พิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ซึ่งมหาวิทยาลัย ร่วมกับ  ศาลเจ้าชิงซงศาสนาเต๋าแห่งฮ่องกง และศาลเจ้าฮั่วกวงศาสนาเต๋าแห่งประเทศไทย จัดตั้งห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเต๋าให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป

ในวันพิธีเปิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พร้อมท่านอู๋ เฉิงเจิน ประธานศาสนาเต๋าแห่งมลฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า โดยมีนักพรตและแขกผู้มีเกียรติจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน  มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเชีย อินโดนีเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย เข้าร่วมงาน ณ อาคารบรรณสาร และร่วมพิธีมหามงคล ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุม มฉก. ได้แก่พิธีสักการะฟ้า (ต้าก้งเทียน)  ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยคณะนักพรตของศาสนาเต๋าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจีน พิธีเบิกเนตรสิงโต  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และชมการแสดงการเชิดสิงโตของสโมสรกีฬาสิงคโปร์เวยจิ้ง การแสดง  “หุ่นคนนารายณ์ทรงครุฑ” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊กที่มาร่วมพิธี  การแสดงร่วมบรรเลงดนตรีเต๋าของประเทศจีน และฮ่องกง การแสดงเชิดมังกรของสมาคมกีฬาเชิดสิงโตมังกรลูกเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น  การแสดง “สวัสดีเมืองไทย” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การแสดงวูซูของสำนักเต๋าบู๊ตึ๊ง

ภาพที่ 1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมเต๋า

Read the rest of this entry »

เพียงแค่ส่อง ก็ได้อ่าน
พ.ย. 30th, 2019 by uthairath

นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code

ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย  เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code  ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง

ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย

รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน

Read the rest of this entry »

เก็บความจาก Knowledge Sharing : การเขียนโครงการ
พ.ย. 26th, 2019 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้

โครงการ  หมายถึง  การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน  และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน  การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ

 

ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้

  1. ผู้อนุมัติ
  2. ผู้ทำโครงการ
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้ประเมิน

ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ

ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คือ แบบ 103  From-project-103    ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : จากการเรียนรู้สู่การแข่งขันไท้เก๊ก มฉก. ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ย. 26th, 2019 by supaporn

เมื่อปีการศึกษา 2547  รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์  โฆวิไลกูล  ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก)  โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ  ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส  ศรีประจิตติชัย  เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์  ศิลาพร  มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน  กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน  และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร  ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa