QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code
ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน
ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้
1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ
2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้
ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้
1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ
Read the rest of this entry »
เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง
ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย
เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »
จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้
ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก
อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking
การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย
ในแง่ของอาจารย์
การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน
การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง
1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ
2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่
3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่
อ้างอิง
ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk
Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป
ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”
Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ
การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ
การลงรายการบรรณานุกรม เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดังนั้น ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่งบประมาณ การจัดเก็บระเบียนทรัพยากร การให้บริการยืม-คืน และงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ
งบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 กรกฏาคม (เริ่มนับตามปีการศึกษา) แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้
หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ
การจัดสรรงบประมาณในระบบ WorldShare Management Services WMS ใน Module Acquisition มีวิธีการดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เลือก Module Acquisition
หน้าจอจะปรากฎดังนี้
2. คลิก Budget เพื่อเข้าไปจัดการเรื่องงบประมาณ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยที่คณาจารย์และนักศึกษามี ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ การสั่งซื้อหนังสือบางครั้งจำเป็นต้องมีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อย เพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
กรณียืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยเพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากภายนอกสถานที่ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำใบขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใบขออนุมัติ ประกอบด้วย
1.1 ใบขอเบิกงบประมาณ (ซึ่งเอกสารนี้สามารถขอแบบฟอร์มได้จากกองแผนและพัฒนา
ใบขอเบิกงบประมาร
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่ปีงบประมาณการศึกษา หมายเลข 3 ใส่ชื่อหน่วยงานที่ขอเบิกงบประมาณ หมายเลข 4 ใส่รายการเรื่องที่ต้องการขออนุมัติ หมายเลข 5 ลงนามผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
1.2 ใบขออนุมัติ
ใบขออนุมัติจัดซื้อตำราและ ทรัพยากรการเรียนรู้
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่เลขที่ใบเสนอราคา หมายเลข 3 ใส่เครื่องหมายถูกด้านหน้าทรัพยากรที่ต้องการจัดซื้อ หมายเลข 4 ลงชื่อผู้ขออนุมัติ และชื่อหัวหน้าแผนกจัดหาฯ หมายเลข 5 ลงนามชื่อผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้
รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board
จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19 ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้ Read the rest of this entry »
เป็นเทศกาลประจำปีตามประเพณี(年节หรือ传统节日) ที่สำคัญของชาวจีน ที่แสดงออกถึงความกตัญญูความเคารพและการระลึกถึงบรรพบุรุษ คำว่า”เช็งเม้ง”นั้นเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ชิงหมิง” เมื่อพูดคำเต็มว่า”ชิงหมิงเจี๋ย”ก็หมายถึงเทศกาลเช็งเม้งนั่นเองเทศกาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยชุนชิว (ก่อนคริสตศักราช 770 ปี ถึงก่อนคริสตศักราช 476ปี) เทศกาลนี้นอกจากเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังให้ความสำคัญกับข้าราชการตงฉินชื่อเจี้ยจื่อทุย (介子推) แห่งรัฐจิ้น (晋国) ด้วย โดยทางการห้ามมีการก่อไฟในบ้าน (禁火) และให้กินอาหารเย็นๆ เรียกว่า”หานสือ”(寒食) เป็นช่วงเวลายาวกว่า 3 เดือน เมื่อหมดช่วงหานสือชาวบ้านจะได้เชื้อไฟจากในวังที่พระจักพรรดิ์ทรงพระราชทานให้เหล่าเสนาบดี จากนั้นแล้ว ชาวบ้านจึงสามารถติดไฟปรุงอาหารร้อนได้ ต่อมาทางการเห็นว่าไม่สมควร ในสมัยราชวงศ์ถัง(ค.ศ.618-ค.ศ.907) จึงลดวัน”หานสือ” ให้น้อยลง และเน้นความสำคัญในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมากขึ้น รวมทั้งการทำความสะอาดสุสาน การอาบน้ำที่ริมแม่น้ำที่เรียกว่า”ฝูเซีย”(祓褉) เพื่อเป็นสิริมงคลให้ห่างไกลจากภัยพิบัติ การท่องเที่ยวนอกเมือง ในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจง (唐玄宗)(ค.ศ.712 –ค.ศ.742) ทรงมีพระราชบัญชาให้ราษฏรหยุดในเทศกาลนี้ 4 วัน ข้อมูลเกี่ยวกับวันเทศกาลนี้ดูได้จากหนังสือ”ถังฮุ่ยเย้า ตอนที่ 82” (《唐会要》卷82) มาถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ(北宋)(ค.ศ.960-ค.ศ.1127 )เทศกาลเช็งเม้งและหานสือได้หยุดรวม 7 วัน ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”เหวินชังจ๋าลู่” (《文昌杂录》) ของผังหยวนอิง (庞元英) ในปี ค.ศ.1935 รัฐบาลประเทศจีน (中华民国) ก่อนตั้งประเทศใหม่ ได้กำหนดวันที่ 5 เดือน 4 ของปีคริสตศักราชเป็นวันเช็งเม้งประจำปี และให้เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการหนึ่งวัน ต่อมาในปี ค.ศ.2007 เดือน 7 วันที่ 12 รัฐบาลมีประกาศให้หยุดวันเช็งเม้งอย่างเป็นทางการ โดยหยุดตามวันที่ปฏิทินจีน หรือปฏิทินหนงลี่ (农历) กำหนดไว้ Read the rest of this entry »