SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี

The Development of Injury Prevention Model for Primary Students in Rajini School, Bangkok Metropolitan

บทคัดย่อ:

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียนร้อยละ 75.5 โดยเฉลี่ยเกิดอุบัติเหตุเดือนละ 3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่เกิดจากสะดุดล้มหรือถูกชนขณะวิ่งเล่นในโรงเรียน ซึ่งพบมากในชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี เป็นช่วงพักกลางวันในบริเวณใต้ถุนตึกเรียน สนามกีฬาและบันไดทางขึ้นตึกเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาและความพิการของนักเรียน รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจจากเด็กสู่ครู การร่วมดูแลใส่ใจ ความปลอดภัยของนักเรียนและการร่วมกันดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และเมื่อนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้พบว่า มีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน ครูนำความรู้การป้องกันอุบัติเหตุสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้น มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนภายใต้มาตรฐานโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ครูพยาบาลให้การบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมาใช้เพื่อสร้างพฤติกรรมป้องกันให้แก่เด็ก มีการพัฒนาสื่อการสอนทางการพยาบาลและมีส่วนร่วมในการบริหารความปลอดภัยภายในโรงเรียน ที่สำคัญพบว่านักเรียนและผู้ปกครองมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุสูงขึ้นและนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าให้นำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินการตามมาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัยและการนำไปใช้ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆ Read the rest of this entry »

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Preliminary Feasibility Study of Huachiew Chalermprakiet University Wastewater Treatment System

บทคัดย่อ:

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยเก็บข้อมูลปริมาณและลักษณะน้ำเสียที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อคาดการณ์ลักษณะน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2565 แล้วออกแบบและคัดเลือกระบบบำบัด น้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยฯ จากผลการวิจัย พบว่า อัตราการไหลเฉลี่ยของน้ำเสียและน้ำฝนที่วัดได้ เท่ากับ 11.89 และ 65.40 ลบ.ม./ชม. ตัวอย่างน้ำเสียเฉพาะที่เก็บบริเวณต้นน้ำของคลองรับน้ำเสีย มีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.92 และ 101.20 มก./ล. ส่วนบริเวณท้ายน้ำมีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.39 และ 113.21 มก./ล. ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำเสียรวมของน้ำเสียภายในมหาวิทยาลัยฯ มีค่า BOD5 และ SS เฉลี่ย เท่ากับ 58.2 และ 35.3 มก./ล. ตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 67.32 ลบ.ม./ชม. มีค่า BOD5 ประมาณ 90 มก./ล. ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติคือ ระบบบำบัดน้ำเสียตะกอนเร่งแบบถังปฏิกรณ์สลับเป็นกะ (Sequencing Batch Reactor, SBR) ซึ่งพิจารณาจากผลการตรวจวัดลักษณะสมบัติน้ำเสียและเกณฑ์การคัดเลือกด้านราคาค่าก่อสร้างและดำเนินการเป็นหลัก โดยมีส่วนประกอบในระบบ ได้แก่ สถานีสูบน้ำเสีย บ่อวัดอั ตราการไหล บ่อแบ่งน้ำ ถังเติมอากาศ อาคารเติมคลอรีน ถังสัมผัสคลอรีน บ่อสูบตะกอนย้อนกลับและลานตากแห้งสลัดจ์ Read the rest of this entry »

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Learning Achievement of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสถานภาพทางสังคม แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวนตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้ออมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 0.58 Read the rest of this entry »

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด

A Comparision of Anatomy Learning Achievement of Second Year Students Using Conventional Method and Application of Action Research Model with Mind Mapping Method

บทคัดย่อ:

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ระหว่างนักศึกษาชั้นปีที 2 ทีเรี ยนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด และ 3)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับวิธีแผนที่ความคิด Read the rest of this entry »

การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลตอบทบาทในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลตอบทบาทในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี

The Effect of Social Support and Social Adjustment Towards the Roles in the Family and Involvement in the Community of Karen Women in Ratchaburi Province

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในครอบครัวสตรีกะเหรี่ยง การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลต่อบทบาทสตรีกะเหรี่ยง ใน 2 ด้าน ได้แก่ บทบาทในครอบครัวคือ บทบาทดานการเจริญพันธุ์ และบทบาทในชุมชน ได้แก่ บทบาทด้านการผลิต และบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน โดยทำการศึกษาจากสตรีกะเหรี่ยงจำนวน 350 คน ในจังหวัดราชบุรี ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษามีดังนี้ Read the rest of this entry »

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

The role of Biomarkers in Occupational Health

บทคัดย่อ:

ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ หรือตัวชี้วัด หรือเป็นสัญญาณของเหตุที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และยังหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสัมผัสสารกับสุขภาพที่ผิดปกติโดยทั่วไปตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ตัวชี้วัดการสัมผัสทางชีวภาพ (Biomarkers of exposure) ตัวชี้วัดผลกระทบทางชีวภาพ (Biomarkers of effect) และ ตัวชี้วัดความไวรับ หรือพันธุกรรมทาง ชีวภาพ (Biomarkers of susceptibility) Read the rest of this entry »

โครงข่ายประสาทเทียม
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

โครงข่ายประสาทเทียม

Artificial Neural Networks

บทคัดย่อ:

โครงข่ายประสาทเทียม (Neural network) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจำแนกรูปแบบ การทำนาย การควบคุม การหาความเหมาะสม และการจัดกลุ่ม เป็นต้น หลักการสำคัญของโครงข่ายประสาทเทียม คือ ความพยายามที่จะลอกเลียนแบบการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองมนุษย์เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะทั่วไปของโครงข่ายประสาทเทียม คือ การที่โหนด (node) ต่าง ๆ จำลองมาจากไซแนป (synapse) ของเซลลประสาทระหว่าง เดนไดรท์ (dendrite) และแอกซอน (axon) โดยมีฟังก์ชันเป็นตัวกำหนดสัญญาณส่งออก (activation function or transfer function) นั่นเอง ลักษณะของโครงขาายประสาทเทียมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ 1) โครงข่ายประสาทเทียมแบบ ชั้นเดียว (single layer) ซึ่งจะมีเพียงชั้นสัญญาณประสาทขาเข้า และชั้นสัญญาณประสาทขาออก เท่านั้น เช่น โครงข่ายเพอเซบตรอนอย่างง่าย (simple perceptron) และโครงข่ายโฮปฟิลด์ (hopfield networks) เป็นต้น และ 2) โครงข่ายประสาทเทียมแบบหลายชั้น (multi layer) ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับโครงข่ายประสาทเทียมแบบชั้นเดียว แต่จะมีชั้นแอบแฝง (hidden) เพิ่มขึ้น โดยอยู่ส่วนกลางระหว่างชั้นนำข้อมูลป้อนเข้าและชั้นส่งขอมูลออก ทั้งนี้ชั้นแอบแฝงอาจมีมากกว่า 1 ชั้น อย่างไรก็ตาม การแบ่ง โครงข่ายประสาทเทียมตามประเภทการเรียนรู้ของโครงข่าย สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning) และการเรียนรู้แบบไมมีผู้สอน (unsupervised learning) โดยในปัจจุบันการพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะมีบทบาทอย่างมากในด้านการจำแนกรูปแบบ การพยากรณ์ การควบคุม การหาความเหมาะสมและการจัดกลุ่ม

Artificial Neural Network is the science of Artificial Intelligence (AI) that being applied in various fields effectively, for example, pattern recognition, prediction, control, optimization and clustering. The concept is that it simulates the working of the human brain neurons. Generally, it can be seen from the Nodes of Neural Network which are simulated from synapse. Also, the signal transmission of nodes is simulated from dendrite and axon. Finally, activation, function or transfer functions are simulated from the human neuron. Artificial Neural Network architecture is divided into 2 types : a Single Neural Network Layer and a Multi Neural Network Layer. The Single Layer has only an input and an output level, for example, Simple Perceptron and Hopfield Networks. However, the Multi Neural Network layer has one or more than one hidden levels which are in the middle of the input and output level. Additionally, the Neural Network Learning can be divided into 2 types : supervised learning and unsupervised learning. Nowadays, the Neural Network science is very important and being developed and applied in various fields effectively and efficiently.

ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2552). โครงข่ายประสาทเทียม. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (24), 73-87.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Health Leadership Characteristics of the Graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในด้านความรู้ ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านคุณธรรม รวมทั้งเปรียบเทียบคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุข ตามเพศ สาขาวิชา ลักษณะงาน ประสบการณ์การทำงาน และการเป็นแกนนำกิจกรรมขณะเรียน กลุ่มตัวอย่างคือบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที่การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีทดสอบของเชฟเฟ

ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในรายด้านพบว่าด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง
2. การเปรียบเทียบความแตกต่างคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พบว่าสาขาวิชา ลักษณะงาน ระยะเวลาการทำงาน ทำให้คุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนเพศและการเป็นแกนนำกิจกรรมระหว่างเรียน ไม่ส่งผลต่อความแตกต่างด้านคุณลักษณะภาวะผู้นำสาธารณสุขของบัณฑิต

ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างเสริมคุณลักษณะผู้นำสาธารณสุขแก่นักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยสอดแทรกในการเรียนการสอนในวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาและสร้างเสริมด้านความรู้ ความสามารถ ด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และด้านคุณธรรม โดยสอดแทรกไปกับการเรียนการสอน การจัดโครงการคุณธรรม การอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

The purposes of this research were to study health leadership characteristics including knowledge, personality, emotional quotient, human relations, responsibility, and moral principles of the graduates of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University , and also compare health leadership characteristics according to gender, major subjects, job characteristics, work experience, and leadership of the students activities. One hundred and twenty graduates of the academic year 2006 from the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University were randomly selected through stratified random sampling technique, according to their major subjects and gender. Data were collected from questionnaires developed by the researcher. The reliability coefficient of the questionnaire was 0.88. Statistical methods used for data analysis were t-test, one way analysis of variance, and Scheffe’s test.

The results of this research were as follows :

1. The overall health leadership characteristics among Public and Environmental Health graduates were at the high level. It was found that personality, human relations and responsibility were at a high level, whereas knowledge, emotional quotient, moral principles were at a medium level.
2. The comparison of health leadership characteristics on major subjects, job characteristics and work experience were significantly different at 0.05 level, but the comparison of health leadership characteristics on gender and leadership of the students activities were not significant.

The results from this research suggested that the promotion of health leadership characteristics of the students in Faculty of Public and Environmental Health was necessary. It could be accomplished by intervening in the study class of students in each major subject and the knowledge, emotional quotient, and moral principles could also be promoted in classes , moral projects, training and workshops.

ตวงพร กตัญุตานนท. (2551). คุณลักษณะภาวะผู้นำด้านสาธารณสุขของบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 41-53.

อ่านบทความฉบับเต็ม

อุดมศึกษาไทยในอนาคต
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

อุดมศึกษาไทยในอนาคต

บทคัดย่อ:

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย บรรยายเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2551 ณ ห้องบรรยายพิเศษ 1 (2-315) อาคารเรียน ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยบรรยาย 3 เรื่อง

เรื่องที่ 1 การก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งนี้ เพื่อบอกเล่าแก่สมาชิกใหม่ของมหาวิทยาลัย
เรื่องที่ 2 สถานการณ์ในโลกที่มีปัจจัยต่างๆ มากระทบอุดมศึกษาไทย และกระทบต่อมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร
เรื่องที่ 3 อุดมศึกษาไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงและเราจะต้องเอาปัจจัยเหล่านั้นมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อกำหนดปัจจุบันและอนาคตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติอย่างไร

เกษม วัฒนชัย. (2551). อุดมศึกษาไทยในอนาคต. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (23), 1-10.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขผ่านทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขผ่านทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร (Economic-Demographic Theory)

Explanatory of Public Health Spending Through Economic-Demographic Theory

บทคัดย่อ:

รายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข เป็นรายจ่ายในหมวดของการบริการชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นหมวดรายจ่ายที่สำคัญ ที่รัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศให้มีศักยภาพสูงขึ้น และในส่วนของประเทศไทยรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขเพิ่มสูงขึ้นทุกปีจึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีปัจจัยใดเป็นตัวผลักดันที่ทำให้รายจ่ายด้านนี้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีที่สามารถอธิบายได้ ทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร (Economic-Demographic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสาธารณะ โดยพยายามอธิบายถึงตัวแปรทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ว่ามีผลทำให้รายจ่ายสาธารณะสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติจำนวนผู้สูงอายุ เครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ เครื่อง CT scanner เครื่อง Mammography เครื่อง ESWL และเครื่อง MRI รวมถึงจำนวนแพทย์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น และการอพยพของประชากรในชนบทเข้าสู่เขตเมืองเพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อปัจจัยเหล่านี้เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้รายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Public health spending is classified into community and social categoies, which is important and necessary for capitalization by the government. It is for increasing human resource development potential in the country. In Thailand, public spending on public health increase continuously every year. This is interesting that which variables effect on this continuously. Economic-Demographic theory : GDP, population aging, medical equipments such as CT scanner, mammography, ESWL, MRI, number of physicians and urbanization use for describing the change of increasing spending. It is found that many variables effect the public spending on public spending on public health in Thailand which continuously increasing through the future.

ดรุณวรรณ สมใจ. (2553). การอธิบายการเปลี่ยนแปลงของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขผ่านทฤษฎีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และประชากร. วารสาร มฉก.วิชาการ 13 (26), 81-94.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa