การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลตอบทบาทในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี
The Effect of Social Support and Social Adjustment Towards the Roles in the Family and Involvement in the Community of Karen Women in Ratchaburi Province
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในครอบครัวสตรีกะเหรี่ยง การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลต่อบทบาทสตรีกะเหรี่ยง ใน 2 ด้าน ได้แก่ บทบาทในครอบครัวคือ บทบาทดานการเจริญพันธุ์ และบทบาทในชุมชน ได้แก่ บทบาทด้านการผลิต และบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน โดยทำการศึกษาจากสตรีกะเหรี่ยงจำนวน 350 คน ในจังหวัดราชบุรี ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษามีดังนี้
การนับถือศาสนาของสตรีกะเหรี่ยงมีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์มีผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง อายุของสตรีกะเหรี่ยงมีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกะเหรี่ยงดังนี้การสนับสนุนทางสังคมด้านเครื่องมือ สิ่งของ เงินทอง และแรงงาน มีผลต่อบทบาทการมีส่วนรวมในชุมชน การสนับสนุนทางสังคมด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า มีผลต่อบทบาทด้านการผลิตและบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน และการสนับสนุนทางด้านข้อมูล ข่าวสาร และด้านการบริการ มีผลต่อบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน
การปรับตัวทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีชาติพันธุ์ ดังนี้ การปรับตัวทางสังคมด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีผลต่อบทบาทด้านการผลิต การปรับตัวทางสังคมด้านความปลอดภัย มั่นคง เสรีภาพ มีผลต่อบทบาทสตรีในด้านการเจริญพันธุ์ และมีผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชน และการปรับตัวทางสังคมด้านความรู้สึกตึงเครียดและรู้สึกเกินขีด มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์
The research aims to study the roles of Karen women, social adjustment and social support towards Karen women and factors effecting the roles of Karen women which include family roles and community roles. Family roles mean reproductive role and community roles mean productive role and community participation role. The samples are 350 Karen women living in Ratchaburi Province. The multiple regression analysis was used . The findings are as follows:
Religious practice of Karen women has the effect towards their reproduction and their involvement in the community. The age of Karen women has the effect towards their reproduction. Social support to Karen women in materials, tools, money and labors has an impact on their involvement in the community. Social support to Karen women in acceptance and understanding their values has the effect on their production and their involvement in the community. Social support to Karen women in information and services has the effect on their involvement in the community. Self adjustment of Karen women in acceptance and understanding their values has an impact on their production. Self adjustment of Karen women in security and freedom has the effect on their reproduction and their involvement in the community. Self adjustment of Karen women in feelings of stress and overloads has the effect on their reproduction.
วิชภา หลวงจอก. (2552). การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลตอบทบาทในครอบครัว และการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง จังหวัดราชบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 12 (24), 1-12.
อ่านบทความฉบับเต็ม