กระบวนการบริหารเงินลงทุน เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ
กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ
1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย
2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า
3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA
กระบวนการบริหารเงินลงทุน (นำเสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) เป็นการพัฒนาแนวทางการบริหารเงินลงทุนโดยฝ่ายการคลัง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องจากเดิมการบริหารเงินทุนของมหาวิทยาลัย มีเพียงการฝากเงินธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนส่วนบุคคล การบันทึกข้อมูลช้า ข้อมูลไม่ตรงกัน รายงานข้อมูลเงินลงทุนประจำเดือนไม่เป็นปัจจุบัน ผู้บริหารได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ทันสถานการณ์การเงิน Read the rest of this entry »
กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562
กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร (นำเสนอกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) เกิดจากหน่วยงานไม่สามารถเก็บข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานได้ บุคลากรไม่ให้ความสำคัญของการวิจัย ขาดการมีส่วนร่วมขององค์กร งานวิจัยไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เมื่อผ่านกระบวน PDCA โดยมีการพัฒนา ระบบ ฐานข้อมูล และบุคลากรแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เห็นแผนที่การวิจัย (Research Road Map) ของหน่วยงานเกิดขึ้น
ปัญหา กระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัย
Read the rest of this entry »
Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
ข้อดีของ Mendeley
INFOGRAPHIC คืออะไร
อินโฟกราฟฟิก มาจากคำว่า Information (ข้อมูล) + Graphic (รูป) นั่นเองครับ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย คือ “การนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นรูป”
การออกแบบอินโฟกราฟฟิกต้องมีขั้นตอนสำคัญ ๆ ดังนี้
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์ หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม
ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ
1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
TSIC ID: 85302-0082
2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)
อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล
3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย
4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร
5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย
6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร
7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์
กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ
การให้บริการตอบคำถามออนไลน์
อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา www.li.mahidol.ac.th Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยมี นางสาวฉัตรรัตน์ แสงคง เป็นผู้บรรยายและนำชมห้องสมุด เริ่มต้นการสรุปแนวทางการบริหารงานของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การแถลงข่าว Library care the bear
Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน
Care the bear
Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่ Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562
Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่
National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization
KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง
National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้
OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)
เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC
OCLC Classify
จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง i-School and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh, Sungkyunkwan University, South Korea, SKKU Library เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้
i-School เป็นภาคีความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารสนเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศจากหลากหลายสาขาในสถาบันต่างๆ มาร่วมกันแบ่งปัน องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เพื่อพัฒนาสร้างหลักสูตรด้าน Information Science ร่วมกัน ซึ่งมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่จบมาให้สามารถหางานได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนำความต้องการในการทำงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาใช้ฝึกฝน เรียนรู้จากปัญหาที่พบในการทำงานจริง ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตกลุ่มนี้เข้าทำงาน โดย i-School เริ่มต้นในปี 2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความมือจากทวีปอื่น เช่น ยุโรป เอเซีย ตามมา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ i-School
เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจึงควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีการนำข้อมูลจำนวนประชาชนที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ในช่วงเวลาต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกรถเมล์สายใดในการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ดูข้อมูลจากสถิติสัญญาณโทรศัพท์ที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของป้ายรถเมล์ ดังนั้น ในการนำข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของ Information Science ที่เป็นศาสตร์ในการศึกษา ความเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ ในความสัมพันธ์ของ 3 สิ่ง ได้แก่ มนุษย์ ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารจัดการสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจ
วิทยากรได้แนะนำ i-School โดยมีลักษณะของการเป็นสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของ i-School เช่น การเป็น i-School จะเป็นการนำไปสู่การเป็น Data Science และ Digital humanities ซึ่งทั้งสองเรื่องสำคัญมากพอๆ กัน iPerspective (หรือ information perspective) จะยั่งยืนได้ต้องมีใจที่เปิดกว้าง พนักงานหรือบุคลากรที่มีนวัตกรรมจะเป็นตัวเชื่อมนักศึกษาและอุตสาหกรรมในการทำงาน โครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นสากลจะทำให้นักศึกษาที่มุมมองที่กว้างขึ้น ฯลฯ