SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร
ตุลาคม 12th, 2019 by supaporn

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร (นำเสนอกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) เกิดจากหน่วยงานไม่สามารถเก็บข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานได้ บุคลากรไม่ให้ความสำคัญของการวิจัย ขาดการมีส่วนร่วมขององค์กร งานวิจัยไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เมื่อผ่านกระบวน PDCA โดยมีการพัฒนา ระบบ ฐานข้อมูล และบุคลากรแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เห็นแผนที่การวิจัย (Research Road Map) ของหน่วยงานเกิดขึ้น

ปัญหา กระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัย

กระบวนการและวิธีปฏิบัติใหม่

กระบวนการและวิธีปฏิบัติใหม่ ดำเนินการโดยมีการพัฒนาสมรรถนะตาม Career Path เน้นการมีส่วนร่วมทั้งผู้บริหาร บุคลากร สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ มีการพัฒนาขีดสมรรถนะด้านการทำวิจัยและนวัตกรรมแก่บุคลากร รวมทั้งมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อผ่านกระบวนการพัฒนาแล้ว เกิดคุณภาพทั้งในด้านบุคลากร มีจำนวนผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ได้รับรางวัลได้รับการยกย่องในระดับชาติ/นานาชาติ และมีการนำผลงานวิจัยไปใช้

ทั้งนี้ สามารถศึกษาเอกสารประกอบการนำเสนอได้ที่  

รายการอ้างอิง

สมยศ เจริญสุข. 2562. กระบวนการสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร. เอกสารประกอบการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa