SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการดำเนินการกรณีหนังสือหายจากการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
ก.พ. 3rd, 2021 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) มี 2 ประเภทคือ Borrowing Request (ห้องสมุดเป็นผู้ยืม) และ Lending Request (ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม)   มีระเบียบการให้ยืมเหมือนกับการยืมภายใน ตามนโยบายของห้องสมุดแต่ละแห่ง

การให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เช่นเดียวกัน เมื่อให้บริการและมีการสูญหาย จึงมีระเบียบหรือขั้นตอนต่างๆ ตามที่ห้องสมุดกำหนด กรณีที่ให้ยืมหนังสือระหว่างประเทศ และมีการสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการติดต่อเป็นระยะๆ ในการติดตามหนังสือที่เกินกำหนด ผนวกกับการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ มีการขาดการติดต่อไประยะหนึ่ง แต่มีการติดต่อได้ในภายหลังโดยมีการแจ้งให้ทราบว่า ผู้ยืมมีการส่งคืนหนังสือหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปประมาณ 3 เดือนแล้ว  แต่หนังสือสูญหายระหว่างการขนส่ง  และไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากใบรับประกันของหายหมดอายุ   จึงขอให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องหนังสือหายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินการมีดังนี้ Read the rest of this entry »

การเพิ่มและการบันทึกรายการระเบียนบรรณานุกรม (Bib Record) ในกรณีใช้ระเบียนบรรณานุกรมร่วมกับห้องสมุดอื่น
ก.พ. 2nd, 2021 by jittiwan

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่

  1. tag 020 ISBN
  2. tag 100 ผู้แต่ง
  3. tag 245 ชื่อเรื่อง
  4. tag 250 ครั้งที่พิพ์
  5. tag 260 ปีพิมพ์

กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม
ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »

อ่านวารสาร ผ่าน QR Code
ม.ค. 28th, 2021 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน

วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้  รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access  ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง  โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน  ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น

งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ

 

รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน

ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล

Home Healthcare Nurse

 

 

 

 

 

                              Journal of Emergency Nursing

                                 Journal of Family Nursing

Read the rest of this entry »

WFH งาน Catalog จากใบสั่งซื้อ
ม.ค. 22nd, 2021 by suwanna

เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละลอกใหม่  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม  (อว.) ในการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว และให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home)

ผู้เขียน เป็นบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงได้เตรียมงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ โดยนำใบสั่งซื้อจากร้านค้า  มาตรวจสอบกับระบบห้องสมุด และบันทึกข้อมูลในส่วนที่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่สะดวกในเรื่องการนำหนังสือมาวิเคราะห์และลงรายการทางบรรณานุกรมจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน การสแกนหน้าปก เพื่อจะได้นำมาทำที่บ้าน ไม่สามารถจัดเตรียมได้ทัน เนื่องจากปิดมหาวิทยาลัยค่อนข้างกระทันหัน  หัวหน้าแผนกฯ จึงได้มอบหมายให้นำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาดำเนินการในส่วนของ
งานวิเคราะห์ฯ ในเบื้องต้น

 

  • ใบสั่งซื้อจากร้านค้า

โดยมีการทำงานจากที่บ้าน ดังนี้ Read the rest of this entry »

เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้
ม.ค. 20th, 2021 by supaporn

การเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2563 เรื่อง เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้

เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีการลงข้อมูลบรรณานุกรมพร้อมรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรทราบและจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก ดังนั้น ข้อมูลหรือข้อความที่ลงในปรากฏในระเบียนบรรณานุกรม 1 ระเบียนจะมีความแตกต่างจากระเบียนบรรณานุกรมของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป การที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นงานต่างๆ และข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏในระเบียนบรรณานุกรมได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น บุคลากรของห้องสมุดควรจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้หรือสามารถอธิบายข้อมูลหรือข้อความในระเบียนบรรณานุกรมให้กับผู้ใช้ได้ดีที่สุด

แต่การที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่วนใหญ่จบมาจากหลากหลายสาขา และปฏิบัติหน้าที่ในงานอื่นๆ ที่เป็นงานหลัก แต่ต้องทำหน้าที่ให้บริการในช่วงนอกเวลาทำการ ย่อมทำให้มีความรู้ ข้อมูลที่อาจจะไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการปรับทักษะ หรือให้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ระบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ ด้วย ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้” นี้ขึ้น ทั้งนี้ เน้นข้อมูลหรือข้อความที่ผู้ใช้ห้องสมุดเห็นจากระบบการสืบค้นเป็นหลัก

ในการเขียนเอกสารนี้ ขอเขียนขึ้นในลักษณะที่เป็นข้อคำถาม ซึ่งน่าจะง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นไปตามลำดับของการเข้าใช้ระบบ

1. การแจ้ง URL ในการสืบค้น

คำอธิบาย:  ให้ตอบว่า  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

ถ้าต้องตอบว่า จะสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศได้จากช่องทางใด ควรจะตอบว่า https://hcu.on.worldcat.org/discovery  มากกว่าที่จะตอบว่า เข้ามาที่เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th

เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำช่องสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS ไว้ให้ จึงง่ายต่อการแนะนำ และ URL สำหรับหน้าจอการสืบค้นของ WMS อาจจะยาวและจำยาก แต่ควรแนะนำให้แจ้ง URL ที่ ตัวสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS จะดีกว่า  เนื่องจากระบบ WMS มีการบริหารจัดการอยู่บน Cloud กรณีที่มหาวิทยาลัยไฟดับ หรือมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ผู้ใช้สามารถเข้าสืบค้นมายังระบบห้องสมุด WMS ได้โดยตรง (ไม่ต้องมาเข้าที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ซึ่งจะเข้าใช้ไม่ได้ถ้าเกิดไฟดับ เนื่องจากเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มหาวิทยาลัย)

สำหรับ URL https://hcu.on.worldcat.org/discovery  นี้  มีเทคนิคในการจำแบบง่าย ๆ ดังนี้

hcu                 =        Huachiew University
on                   =        บน
worldcat        =        รายการบรรณานุกรมบนโลก (World Cataloging)
org                  =        องค์กร (organization) เป็นชื่อโดเมนบริหารโดย OCLC
discovery       =        การสืบค้น การค้นหา

ทั้งหมดนี้จะมีชื่อเรียกเป็นคำย่อสำหรับหน้าจอหรือช่องทางการสืบค้นของระบบ WMS ว่า WCD = worldcat discovery หรือคำทั่วไป ที่เรามักจะได้ยินว่า OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไป นั่นเอง Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการ Payment รายการค่าปรับบางส่วนในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 16th, 2021 by kityaphat

สมาชิกหรือผู้ใช้ห้องสมุดเมื่อยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วไม่สามารถนำหนังสือมาคืนได้ตามกำหนดเวลา หรือนำหนังสือมาคืนล่าช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เกิดค่าปรับขึ้น  สมาชิกหรือผู้ใช้บางท่าน อาจจะไม่พร้อมที่จะชำระค่าปรับทั้งหมดในคราวเดียวกันได้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ อนุญาตให้สมาชิกสามารถแบ่งการชำระค่าปรับได้  ดังมีขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการเคลียร์รายการค่าปรับในระบบ ดังนี้

1.เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS คลิกที่เมนูตามลูกศรชี้

 

Read the rest of this entry »

Index labels ตัวช่วยในการสืบค้นที่ควรรู้จัก
ม.ค. 13th, 2021 by supaporn

ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น  สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น

ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS  ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย

รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น

นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index  labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1]  ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น

คำแนะนำในการค้น

1. ใช้เครื่องหมายโคลอน  ( : )  หลังคำค้น เช่น au: wang  ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด

2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง

Read the rest of this entry »

มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
ม.ค. 12th, 2021 by rungtiwa

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้  มุมเพาะชำนักอ่าน  หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ  บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ

มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี  ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง

ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน

จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น  นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)

Read the rest of this entry »

ทำต่อ ออร์เดอร์เดิม
ม.ค. 8th, 2021 by uthairath

ทำต่อออร์เดอร์เดิม คือ การทำขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders)  ต่อจาก (Orders) ที่ยังทำไม่เสร็จในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

Acquisitions module เป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด ในบทความนี้ขอนำเสนอการทำ Orders ต่อจาก Orders ที่ยังทำไม่เสร็จ จะใช้สำหรับ Orders ที่มีจำนวนรายการหนังสือจำนวนมาก ๆ ที่ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว และสามารถทำต่อได้ในวันถัด หรือมีงานอื่นที่ต้องทำก่อน ก็สามารถ Save Orders ไว้ทำในคราวถัดไป ทำให้เกิดความสะดวกและง่าย ในการทำรายการต่อ มีขั้นตอนดังนี้

เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

ไปที่โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

ภาพ 1 โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

Read the rest of this entry »

Group related editions ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการสืบค้นของ WMS
ม.ค. 6th, 2021 by supaporn

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น

Current Search        –  Keep selections for subsequent searches

เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa