ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน
วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น
งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ

รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน
ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล
Home Healthcare Nurse

Journal of Emergency Nursing

Journal of Family Nursing

Journal of Gerontological Nursing

Journal of Pediatric Nursing

Journal of the American Association of Nurse Practitioners

Pacific Rim International Journal of Nursing research

2. จัดทำรายชื่อวารสารพร้อม link ในการเข้าถึง สามารถดูรายชื่อวารสารแต่ละคณะได้ที่ www.lib.hcu.ac.th/index.php/table-journal การจัดทำรายชื่อวารสารนี้ เพื่อใช้สำหรับการรับรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยด้วย
3. จัดหา platform สำหรับการเข้านิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องการใช้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรหัสในการเข้าใช้

รูปที่ 2 e-Magazines ที่บอกรับเป็นสมาชิก