SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Library Care the Bear
มี.ค. 29th, 2019 by supaporn

การแถลงข่าว Library care the bear

Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear  “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน

Care the bear

Read the rest of this entry »

Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
มี.ค. 28th, 2019 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการประจำปี เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21  เมื่อวันที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยการบรรยาย  5 หัวข้อ ได้แก่

  • AI and Big Data in KU  โดย ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาส (รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Library Analytic and Matrix Using Data to Driven Decision Services โดย Dr.Jin Chen (Shanghai Jiao Tong University Library)
  • AI กับงานห้องสมุด โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ (ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การเสวนาวิชาการเรื่อง Data Analytics จากประสบการณ์สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุด  โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์สาโรช เมาลานนท์ (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผศ. ดร. ศจี ศิริไกร (สาขาวิชาบริหารปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  และนายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย (ผู้อำนวยการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • SciVal เครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดย นางสาวมณีรัตน์ จอมพุก (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จะขอสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Read the rest of this entry »

Utilizing Library Data
มี.ค. 5th, 2019 by supaporn

Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่  Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง  I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่

National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น  จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization

KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC  เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง

National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้

OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)

เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC

OCLC Classify

Read the rest of this entry »

i-School and Information Science Education in South Korea
มี.ค. 2nd, 2019 by pailin

จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง i-School and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh, Sungkyunkwan University, South Korea, SKKU Library  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562  ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้

i-School เป็นภาคีความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารสนเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศจากหลากหลายสาขาในสถาบันต่างๆ มาร่วมกันแบ่งปัน องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เพื่อพัฒนาสร้างหลักสูตรด้าน Information Science ร่วมกัน ซึ่งมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่จบมาให้สามารถหางานได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนำความต้องการในการทำงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาใช้ฝึกฝน เรียนรู้จากปัญหาที่พบในการทำงานจริง ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตกลุ่มนี้เข้าทำงาน โดย i-School เริ่มต้นในปี 2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความมือจากทวีปอื่น เช่น ยุโรป เอเซีย ตามมา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ i-School

เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจึงควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีการนำข้อมูลจำนวนประชาชนที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ในช่วงเวลาต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกรถเมล์สายใดในการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ดูข้อมูลจากสถิติสัญญาณโทรศัพท์ที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของป้ายรถเมล์ ดังนั้น ในการนำข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของ Information Science ที่เป็นศาสตร์ในการศึกษา ความเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ ในความสัมพันธ์ของ 3 สิ่ง ได้แก่ มนุษย์ ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารจัดการสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจ

วิทยากรได้แนะนำ i-School โดยมีลักษณะของการเป็นสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของ i-School เช่น การเป็น i-School จะเป็นการนำไปสู่การเป็น Data Science และ Digital humanities ซึ่งทั้งสองเรื่องสำคัญมากพอๆ กัน iPerspective (หรือ information perspective)  จะยั่งยืนได้ต้องมีใจที่เปิดกว้าง พนักงานหรือบุคลากรที่มีนวัตกรรมจะเป็นตัวเชื่อมนักศึกษาและอุตสาหกรรมในการทำงาน โครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นสากลจะทำให้นักศึกษาที่มุมมองที่กว้างขึ้น ฯลฯ

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มี.ค. 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

Read the rest of this entry »

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก.พ. 27th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

 

จากการฟังเสวนาในหัวข้อ “การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปได้ดังนี้

นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอดมามีบทบาทในการทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ไลน์แอดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดจึงได้นำไลน์แอด (Line@) มาใช้ในงานหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมี

  • คุณสมบัติที่ดีของไลน์แอดมาคือ
  1. One-on-One Chat
  2. Broadcast
  3. Reply mode
  4. Scheduled
  5. Rich Message
  6. Coupon & Promotion
  7. Poll & survey
  8. Popularity
  •  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. ติดตั้งแอปพลิเคชั่น
  2. กำหนดผู้ตอบคำถาม
  3. กำหนดแนวทางการให้บริการ
  4. ประชาสัมพันธ์
  •  บริการที่ใช้สำหรับงานบริการไลน์แอด
  1. บริการช่วยหาหนังสือที่หาไม่พบ
  2. บริการตอบคำถาม เช่น ถาม วันนี้ห้องสมุดปิดกี่โมง ตอบ เปิดให้บริการ 9 โมงเช้าถึง 21.00 น.
  3. ช่องทางประชาสัมพันธ์ เช่น ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานบริการของห้องสมุด ได้แก่ การแนะนำหนังสือใหม่ การแจ้งเวลาเปิด-ปิดบริการ การแจ้งตารางกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
  4. บริการรับ-ส่งหนังสือ ตามคณะที่แจ้งความประสงค์
  5. การนำไลน์แอดมาใช้กับกิจกรรมเชิงรุกของห้องสมุด
  • การนำไลน์แอดมาวิเคราะห์เกี่ยวกับงานห้องสมุด
  1. วิเคราะห์คำถามของไลน์แอดของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกับงานบริการห้องสมุด
  2. ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสอบถาม คือ เวลา 12.00 น. และ 16.00 น. ซึ่งคาดว่าผู้ใช้บริการว่างเว้นจากการเข้าชั้นเรียนจึงมีเวลาสอบถามข้อมูลและบริการกับงานห้องสมุด
  3. เวลาในการตอบกลับ ภายใน 5 นาที ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดการบริการที่ห้องสมุดกำหนดไว้ว่าจะต้องตอบกลับภายใน 30 นาที
  • การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไลน์แอด
  1. ความพอใจรวม อยู่ที่ 4.49
  2. ความรวดเร็ว 4.46
  3. ความรู้ความสามารถในการตอบข้อซักถาม 4.42

Read the rest of this entry »

บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

Electronic Resource Selection Principle and API
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้เขียนและบุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อเรื่อง Electronic Resource Selection Principle and API  โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เชิญ Dr.Jin Chen จาก Shanghai Jiao Tong University Library มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว ขอสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

Shanghai Jiao Tong University Library มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic resources) โดยใช้หลักการ Three-One-Rule หรือ Trisection Unity Rule โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้เข้มแข็ง ได้แก่

1. กลุ่มอาจารย์และนักศึกษา เป็นหลักในการพิจารณาความต้องการในการใช้
2. บรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Subject Librarians) เพื่อเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลแต่ละสาขาที่เหมาะสม
3. บรรณารักษ์จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition Librarians) เพื่อให้เกิดความสมดุลในการบริหารจัดการและการควบคุมการใช้งบประมาณและทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

ในการเลือกซื้อนั้น มีข้อควรพิจารณาคือ

1. ลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จะพิจารณาเป็น package มากกว่าเป็นรายชื่อ และซื้อเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 70 ของงบประมาณทั้งหมด
2. องค์ประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อ ได้แก่ ปริมาณ คุณภาพ การใช้ประโยชน์ และราคา
3. การประเมินผล มีการประเมินทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อ (เมื่อมีการใช้งานแล้ว) Read the rest of this entry »

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่

I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Linked data กับ WorldCat – OCLC
ก.พ. 1st, 2019 by supaporn

ตอนที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ ตัดสินใจเลือกซื้อระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS ซึ่งพัฒนาโดย OCLC เพราะว่า OCLC เป็นผู้พัฒนา WorldCat ซึ่งเป็นเหมือนสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากมีสมาชิกอยู่ในเครือข่ายนำระเบียนบรรณานุกรมเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถที่จะขยายผลและต่อยอดของระเบียนบรรณานุกรมที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อมูล

OCLC ได้ขยายผลในเรื่องของ Linked data โดยใช้ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรมเดียวกันนี้ในระบบ WMS แต่การพัฒนาโมดูล WCD หรือ WorldCat Discovery ซึ่งเป็นโมดูลการสืบค้น หรือ OPAC ของ WMS อาจจะยังไม่เท่ากับ WorldCat (ซึ่งตอนนี้ เรียกกันว่า WorldCat Local) คาดว่าประมาณกลางเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2562 WorldCat Local จะปิดลงและ WCD ก็จะได้รับการพัฒนาและมีศักยภาพเช่นเดียวกับ WorldCat Local

OCLC พัฒนาเรื่อง Linked data อย่างไรบ้าง  (Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Carol Jean Godby, Shenghui Wang and Jeffrey K. Mixter จากหนังสือ Library Linked Data in the Cloud หน้า 9)

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa