วิธีและขั้นตอนการทำ Derive Bib หรือทำการคัดลอก Bib เดิม ให้ได้ Bib ใหม่
ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหาฯ ของแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับมอบหมายในการลงรายการเบื้องต้น และทำการ Derive ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในการสร้าง Order ของฐานข้อมูลห้องสมุด เพื่อเป็นการลงรายการทางบรรณนุกรมเบื้องต้น และเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โดยมีขั้นตอนดังนี้
Search: Title = ทำตลาดได้เงินล้านบนไลน์ด้วย Line@ (All WorldCat)
รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search
Read the rest of this entry »
ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมคำประกาศของทางราชการ แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401
หน้าปกราชกิจจานุเบกษา
ราชกิจจานุเบกษา มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ จะมีรูปเล่มที่คุ้นตากัน ก็คือ มีตัวอักษรและตราครุฑสีดำอยู่บนหน้าปกสีขาว จะขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี เริ่มตอนที่1 ในช่วงของต้นเดือนมกราคม มีขนาดของตัวเล่มคือ กว้าง 14.5 ซม. ยาว 21 ซม.
ราชกิจจานุเบกษาที่มีในห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ราชกิจจานุเบกษานับเป็นหนังสือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของทางราชการ ซึ่งใช้สำหรับการประกาศกฎหมาย ข่าวสารสำคัญของบ้านเมือง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลย้อนหลัง ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์
สำหรับราชกิจจานุเบกษา ที่มีอยู่และให้บริการในห้องสมุดกฎหมาย ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ รวบรวมไว้ให้บริการอยู่ที่ชั้น 6 งานวารสารและเอกสาร แผนกบริการสารสนเทศ ซึ่งฉบับแรกที่มีให้บริการจะเป็น ปี พ.ศ. 2534 จนถึง ปี พ.ศ. 2556 รวบรวมไว้เป็นฉบับเย็บเล่มจัดเรียงตามปี พ.ศ. มีการเว้นช่วงการบอกรับไประยะเวลาหนึ่ง สืบเนื่องจากสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง และรวดเร็วกว่าการค้นคว้าจากตัวเล่ม แต่ปัจจุบันทางคณะนิติศาสตร์ได้ขอความร่วมมือให้ทางห้องสมุดติดต่อบอกรับแบบตัวเล่มอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากต้นฉบับได้หลากหลายขึ้น
การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในระบบ WorldShare Interlibrary Loan หรือ WorldShareILL นั้น มีบริการให้ผู้ใช้สามารถขอรับบริการได้ 2 แบบ คือ
1) ยืมตัวเล่ม (loan) ดูเพิ่มเติม ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
2) ขอสำเนาเอกสาร (Copy) หรือไฟล์ข้อมูล (Article Exchange) โดยบทความนี้ จะขอกล่าวถึง รายละเอียดและขั้นตอนการให้บริการ ดังนี้
ขั้นตอนการให้บริการ Article exchange
环保线装杂记本装订
崇圣华侨大学极注重环保。图书馆馆长环保意识尤重,因此于3月21日上午,在图书馆楼面层大厅举办具环保的活动——Be My Guest,以实际行动来推广并实践环保于日常生活中。今天的其中一项“复印纸再利用”,即利用图书馆部门的日常影印作业过程所产生的废品,制成杂记本以达到“物尽其用”。这些纸张因另一面未被复印,仍是空白净洁,如就此丢弃或送做“再生纸”则非常可惜,即浪费资源也不合环保。因此,收集这些报废的印刷纸,以基本简易的线装书装订法,教导有兴趣学习者前来制作简单杂记本,即可节省纸张资源,又可实质支持环保运动,尽爱护自然环境的义务,诚一举数得。
这实用且简易操作的工作坊吸引了不少本图书馆同仁及本校学生的参与。
照片提供者:Buaatchara(彭仙荷)
一、线装杂记本的基本结构
ผู้เขียนมีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะการแพทย์แผนจีน ทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่วนมากจะอยู่ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี จะมีบางส่วนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส เมื่อจำเป็นจะต้องย้ายกลับมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลี บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบจึงต้องนำทรัพยากรสารสนเทศมาเปลี่ยน Location ให้อยู่ที่วิทยาเขตบางพลี เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการค้นหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. นำตัวเล่มหนังสือมาสืบค้น ดังตัวอย่าง สืบค้นด้วย ISBN
2. เลือกรายการที่ตรงกับตัวเล่ม ดังตัวอย่าง คลิกที่ชื่อเรื่อง
3. ตรวจสอบความถูกต้องหรือมีการเพิ่มเติมรายการบรรณานุกรมให้สมบูรณ์มากขึ้นใน Master record
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ 2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย 4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์ หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม
ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ
1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
TSIC ID: 85302-0082
2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)
อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล
3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย
4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร
5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย
6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร
7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์
กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ
การให้บริการตอบคำถามออนไลน์
อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา www.li.mahidol.ac.th Read the rest of this entry »
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) โดยมี นางสาวฉัตรรัตน์ แสงคง เป็นผู้บรรยายและนำชมห้องสมุด เริ่มต้นการสรุปแนวทางการบริหารงานของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้มีการจัดพิมพ์โครงการตำรามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตำราที่อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้เขียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนการสอนประจำวิชา หรือเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับตำราที่จัดพิมพ์นี้ รวบรวมเพื่อให้บริการแก่อาจารย์และนักศึกษาที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะดำเนินการลงรายการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ต่อไป
หลักเกณฑ์ในการลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือประเภทตำรา นี้ งานวิเคราะห์ทรัพยากรฯ จะลงรายละเอียดขอบเขตของหนังสือไปตามขั้นตอนและกำหนดการลงรายการทางบรรณานุกรม แต่จะมีการกำหนดคำค้น เพื่อให้สืบค้นได้จากหลักเกณฑ์ทั่ว ๆไป เช่น จากชื่อผู้เขียน ชื่อเรื่อง หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา แล้วยังมีการกำหนดหัวเรื่อง ว่า ตำรา (มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) ไว้ใน Tag 690 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นได้ และเป็นการควบคุมข้อมูลที่เกี่ยวกับตำรา ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ทั้งหมด Read the rest of this entry »