SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการบอร์ดเกม (Board Game)
ต.ค. 21st, 2019 by dussa

บอร์ดเกม (Board game) หรือ  เกมกระดาน คือ เกมส์กระดานรูปแบบหนึ่งต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมาก วางไว้บนพื้นที่เล่นเคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ “กระดาน” ซึ่งจะมีพื้นผิวหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประเภท บอร์ดเกม (Board game) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 (ช่วงปลายปีงบประมาณ 2561)  มีให้บริการที่บริเวณ ชั้น 1 ส่วนพื้นที่ในการเล่น บอร์ดเกม (Board game) ทุกพื้นที่ของอาคารบรรณสาร สามารถยืมบอร์ดเกม (Board game) ผ่านระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)

ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรมบอร์ดเกม (Board game)

 

 

Read the rest of this entry »

Just returned มุมเพลินๆ หนังสือเพิ่งมาคืน
ต.ค. 20th, 2019 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการลบ Item ออกจากระบบ WMS
ต.ค. 15th, 2019 by prapaporn

หนังสือในห้องสมุด เมื่อมีการนำออก หรือพิจารณาคัดออก จะต้องมีนำระเบียนนั้น ๆ ออกจากระบบห้องสมุดด้วย แต่เนื่องจากในระบบ WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่มีลักษณะเป็นสหบรรณานุกรม หรือรวมการลงรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่มีในแต่ละห้องสมุด จึงจะมีการใช้ระเบียนหลักร่วมกัน (Master record)  ดังนััน เมื่อมีการดึงหนังสือเล่มใดออกจากห้องสมุดแล้ว ในระบบจึงไม่สามารถจะลบระเบียนหลัก (Master record) ได้เนื่องจากมีห้องสมุดแห่งอื่น ใช้ระเบียนนั้น ร่วมกันอยู่  แต่จะเป็นลบ item ของหนังสือเล่มนั้น ๆ ออกจากระบบ

ในการดึงหนังสือออก จึงมีการนำหนังสือเหล่านั้น มาสแกนบาร์โคดก่อน นำเข้าโปรแกรม Excel เพื่อจะได้เป็นหลักฐาน และเพื่อนำบาร์โคดนั้นมาลบออกจากระบบห้องสมุดต่อไป โดยระบบสามารถให้ลบ Barcode ได้ทีละจำนวนมาก ๆ  หรือเป็นการลบ item ได้ทีละจำนวนมาก ๆ นั่นเอง

ขั้นตอนการลบ Item ออกจากระบบ WMS

1.  เตรียมข้อมูลบาร์โค้ดที่ต้องการลบเป็น File Excel โดยมีหมายเลขบาร์โค้ด 1 item ต่อ 1 บรรทัด ตามภาพ

ภาพตัวอย่างการเตรียมข้อมูล File Barcode ที่ต้องการลบ

2.  เข้าสู่ระบบ WMS เรียบร้อยแล้ว ทำการตั้งค่า ดังนี้ Read the rest of this entry »

Board Game กับ ห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
ต.ค. 15th, 2019 by pailin

Board Game หรือเกมกระดาน เป็นอุปกรณ์เครื่องเล่นที่ปรากฏอยู่คู่สังคมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น หมากรุก หมากฮอส หมากล้อมหรือโกะ จนกระทั่งในปัจจุบัน Board Game สมัยใหม่ได้มีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบที่เล่นเองได้โดยง่าย และแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และเพิ่มเรื่องราว โดยออกแบบร้อยเรียงเข้าไว้ในขั้นตอนการเล่นเกม จึงทำให้ผู้เล่นต้องศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดของเกมก่อนที่จะเล่น ในระหว่างที่เล่นเกม ต้องคิดวางแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่กำลังล้อมวงเล่นเกมในขณะนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกิดการพัฒนาทางความคิด เสริมสร้างทักษะที่ดีให้กับผู้เล่น ทั้งยังสร้างความสนุกสนาน ให้บันเทิงกับผู้เล่นได้เป็นอย่างดี

ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งพิจารณานำ Board Game เข้ามาให้บริการ เพื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการของเยาวชน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา สามารถสื่อสาร และร่วมงานกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญของคนในศตวรรษที่ 21 หรือที่เรียกแบบย่อ ว่า 4Cs ซึ่งย่อมาจาก

  • Creativity      ความคิดสร้างสรรค์ การใช้จินตนาการสร้างสิ่งใหม่ สิ่งที่ดีกว่า
  • Critical Thinking      การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล รู้จักแก้ปัญหา
  • Communication       การสื่อสาร ความสามารถในการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ
  • Collaboration      ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อทำงานให้สำเร็จได้

Read the rest of this entry »

การกำหนดสถานะหนังสืออ้างอิง (Reference Book)
ต.ค. 10th, 2019 by suwanna

การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด  โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด  เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management  Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »

10 อันดับหนังสือที่ถูกยืมมากที่สุดแห่งปีการศึกษา 2561 ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ส.ค. 17th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือที่มีการยืมมากที่สุดประจำปีการศึกษา 2561 นี้  มาดูกันครับว่ามีหนังสือเล่มใดกันบ้างและหากสนใจอ่านสามารถมาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ

สถิติจำนวนการใช้หนังสือกับงาน High Use Circulation Titles Summary Report ใน WMS

สถิติการยืมเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นงานที่  OCLC ได้จัดทำสถิติในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)  เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการใช้หนังสือที่น่าสนใจดังนี้ Items Checked Out/ Items Renewed/Items Soft Checked Out และสรุปผลรวมการใช้หนังสือสามารถเข้าถึงได้โดยเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ High Use Circulation Titles Summary Report

ห้องสมุด ควรจะได้มีการนำสถิติเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดแสดงหนังสือ ตามประเภทที่ถูกใช้มากที่สุด หรือ หนังสือยอดฮิต หรือหนังสือที่มีการยืมน้อย

การลงข้อมูล (Metadata) ในเอกสารงานวิทยานิพธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน  ปีที่เขียน เป็นต้น  ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้

1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1

2.ให้คลิกที่เมนู  File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »

การสร้าง Bookmark สำหรับงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัย มฉก.
ก.ค. 31st, 2019 by Dr.sanampol

ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties

ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark  ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. เปิดเอกสาร PDF ของวิทยานิพนธ์หรืองานวจัยที่ต้องการทำ Bookmark ขึ้น จะปรากฏภาพหน้าเอกสารดังกล่าวขึ้น (ภาพ 1) เมื่อนำเม้าท์ไปคลิ๊กจากภาพที่ลูกศรชี้ จะมีข้อความจะปรากฏขึ้นแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าเอกสารทั้งหมดที่เมนู Page Thumbnails ให้นำเม้าท์ไปชี้ จะปรากฏข้อความขึ้น Page Thumbnails : Go to specific pages using thumbnail

Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิ.ย. 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa