SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิถุนายน 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

 

เมื่อบันทึกสารบัญเข้าไปแล้ว สืบค้น ด้วยคำว่า ดอกไม้ในห้องเผด็จการ ระบบจะดึงรายการหนังสือ เรื่อง น้ำใสกระโหลกขึ้นมาให้ค่ะ

ประโยชน์ที่ได้จากการพิมพ์สารบัญของหนังสือ  ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถทราบถึงเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นๆ ว่าประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง และทำให้ระบบห้องสมุดสามารถดึงคำในสารบัญออกมาได้นั่นเอง เนื่องจากได้มีการพิมพ์ข้อมูลเป็นช่องทาง ในการเข้าถึงเนื้อหา (Choice of access point) ไว้ในระบบแล้วนั่นเอง

แม้ว่าตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงข้อมูลหรือข้อความสั้นๆ ก็ตาม ถ้านึกถึงบทความทางวิชาการหรือบทความการประชุมสัมมนา ซึ่งประกอบด้วยบทความที่นำเสนอในการประชุมสัมมนาทางวิชาการที่น่าสนใจในการติดตามอ่านเป็นอย่างมาก แต่ไม่ทำช่องทางในการเข้าถึงให้แล้ว ระบบก็จะไม่สามารถดึงข้อมูลออกมาให้ได้นั่นเอง


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa