ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties
ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
- เปิดเอกสาร PDF ของวิทยานิพนธ์หรืองานวจัยที่ต้องการทำ Bookmark ขึ้น จะปรากฏภาพหน้าเอกสารดังกล่าวขึ้น (ภาพ 1) เมื่อนำเม้าท์ไปคลิ๊กจากภาพที่ลูกศรชี้ จะมีข้อความจะปรากฏขึ้นแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าเอกสารทั้งหมดที่เมนู Page Thumbnails ให้นำเม้าท์ไปชี้ จะปรากฏข้อความขึ้น Page Thumbnails : Go to specific pages using thumbnail
ภาพ 1
2. คลิกแถบ Bookmark (ภาพ 2 ) หน้าจอจะปรากฏข้อความขึ้นว่า Bookmarks : Go to specific point of interest using bookmark links (ไปที่หน้าหรือส่วนที่ต้องการให้เชื่อมโยงไปถึง) เพื่อจะให้ระบุว่าต้องการให้ทำลิงค์ไปหน้าใด
ภาพ 2
3. จากนั้น คลิกที่ New Bookmark (ภาพ 3-1) เพื่อสร้างลิงค์ปลายทาง สังเกตข้อความแสดง New Bookmark จะปรากฏความข้อว่า Untitled (ภาพ 3-2)
ภาพ 3-1
ภาพ3-2
ให้ตั้งชื่อเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นหน้าไหนของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย เช่น ชื่อ “หน้าปก” (ภาพ 4) ซึ่งต้องตรงกับเอกสารนั้นๆ และควรเปลี่ยนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับเล่มงานวิทยานิพนธ์หรือเล่มงานวิจัยนั้นๆ
ภาพ 4
4. จากนั้นให้คลิกเม้าส์ทางด้านขวามือที่หน้าปก (ภาพ 5) จะปรากฏข้อความขึ้นมาว่า Set Destination (กำหนดปลายทาง) ซึ่งข้อความนี้ จะบอกให้ทราบถึงปลายทางซึ่งระบุตำแหน่งเอกสารนั้น ๆ
ภาพ 5
จากนั้นให้ตอบ Yes ( ตกลง) (ภาพ 6 และ 7)
ภาพ 6
ภาพ 7
ต่อจากนั้น ให้เลื่อนหน้าไฟล์เอกสารงานวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยต่อไปเรื่อย ๆ และกำหนดหัวข้อที่จะทำเป็นสารบัญและทำ link ไปยังส่วนต่างๆ ที่ต้องการ ได้แก่ (ทั้งนี้ แล้วแต่การจัดทำของแต่ละแห่งซึ่งอาจจะเพิ่มรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็ได้)
1.หน้าปก
2.บทคัดย่อภาษาไทย
3.บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
4.กิตติกรรมประกาศ
5.สารบัญ
6.บทที่ 1 – บทที่ 5
7.บรรณานุกรม
8.ประวัติย่อผู้เขียน หรือ ผู้วิจัย
ดังตัวอย่างต่อจากนี้
หน้าปก
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
ซึ่งเมื่อทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดจะได้(ภาพ 8 )ที่เรียงลำดับการทำ Bookmark ที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกอ่านตามลิงค์หัวข้อที่กำหนดไว้ ได้สะดวก รวดเร็ว กระชับ ประหยัดเวลาในการค้นคว้าเอกสารงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัย เป็นต้น.
ภาพ 8