SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้
ม.ค. 20th, 2021 by supaporn

การเขียนบทความนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2563 เรื่อง เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้

เนื่องจากมีการพิจารณาแล้วเห็นว่า ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีการลงข้อมูลบรรณานุกรมพร้อมรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรทราบและจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสมาชิกในเครือข่ายมากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก ดังนั้น ข้อมูลหรือข้อความที่ลงในปรากฏในระเบียนบรรณานุกรม 1 ระเบียนจะมีความแตกต่างจากระเบียนบรรณานุกรมของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป การที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นงานต่างๆ และข้อมูลหรือข้อความที่ปรากฏในระเบียนบรรณานุกรมได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น บุคลากรของห้องสมุดควรจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้หรือสามารถอธิบายข้อมูลหรือข้อความในระเบียนบรรณานุกรมให้กับผู้ใช้ได้ดีที่สุด

แต่การที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ส่วนใหญ่จบมาจากหลากหลายสาขา และปฏิบัติหน้าที่ในงานอื่นๆ ที่เป็นงานหลัก แต่ต้องทำหน้าที่ให้บริการในช่วงนอกเวลาทำการ ย่อมทำให้มีความรู้ ข้อมูลที่อาจจะไม่เท่ากัน และเพื่อเป็นการปรับทักษะ หรือให้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ระบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ ด้วย ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เข้าใจข้อมูล สื่อสารได้เข้าใจ โดนใจผู้ใช้” นี้ขึ้น ทั้งนี้ เน้นข้อมูลหรือข้อความที่ผู้ใช้ห้องสมุดเห็นจากระบบการสืบค้นเป็นหลัก

ในการเขียนเอกสารนี้ ขอเขียนขึ้นในลักษณะที่เป็นข้อคำถาม ซึ่งน่าจะง่ายต่อความเข้าใจ และเป็นไปตามลำดับของการเข้าใช้ระบบ

1. การแจ้ง URL ในการสืบค้น

คำอธิบาย:  ให้ตอบว่า  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

ถ้าต้องตอบว่า จะสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศได้จากช่องทางใด ควรจะตอบว่า https://hcu.on.worldcat.org/discovery  มากกว่าที่จะตอบว่า เข้ามาที่เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th

เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำช่องสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS ไว้ให้ จึงง่ายต่อการแนะนำ และ URL สำหรับหน้าจอการสืบค้นของ WMS อาจจะยาวและจำยาก แต่ควรแนะนำให้แจ้ง URL ที่ ตัวสืบค้นของระบบห้องสมุด WMS จะดีกว่า  เนื่องจากระบบ WMS มีการบริหารจัดการอยู่บน Cloud กรณีที่มหาวิทยาลัยไฟดับ หรือมีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ผู้ใช้สามารถเข้าสืบค้นมายังระบบห้องสมุด WMS ได้โดยตรง (ไม่ต้องมาเข้าที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ซึ่งจะเข้าใช้ไม่ได้ถ้าเกิดไฟดับ เนื่องจากเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มหาวิทยาลัย)

สำหรับ URL https://hcu.on.worldcat.org/discovery  นี้  มีเทคนิคในการจำแบบง่าย ๆ ดังนี้

hcu                 =        Huachiew University
on                   =        บน
worldcat        =        รายการบรรณานุกรมบนโลก (World Cataloging)
org                  =        องค์กร (organization) เป็นชื่อโดเมนบริหารโดย OCLC
discovery       =        การสืบค้น การค้นหา

ทั้งหมดนี้จะมีชื่อเรียกเป็นคำย่อสำหรับหน้าจอหรือช่องทางการสืบค้นของระบบ WMS ว่า WCD = worldcat discovery หรือคำทั่วไป ที่เรามักจะได้ยินว่า OPAC ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไป นั่นเอง Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการ Payment รายการค่าปรับบางส่วนในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 16th, 2021 by kityaphat

สมาชิกหรือผู้ใช้ห้องสมุดเมื่อยืมหนังสือออกจากห้องสมุดแล้วไม่สามารถนำหนังสือมาคืนได้ตามกำหนดเวลา หรือนำหนังสือมาคืนล่าช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เกิดค่าปรับขึ้น  สมาชิกหรือผู้ใช้บางท่าน อาจจะไม่พร้อมที่จะชำระค่าปรับทั้งหมดในคราวเดียวกันได้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ อนุญาตให้สมาชิกสามารถแบ่งการชำระค่าปรับได้  ดังมีขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการเคลียร์รายการค่าปรับในระบบ ดังนี้

1.เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS คลิกที่เมนูตามลูกศรชี้

 

Read the rest of this entry »

Index labels ตัวช่วยในการสืบค้นที่ควรรู้จัก
ม.ค. 13th, 2021 by supaporn

ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น  สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น

ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS  ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย

รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น

นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index  labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1]  ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น

คำแนะนำในการค้น

1. ใช้เครื่องหมายโคลอน  ( : )  หลังคำค้น เช่น au: wang  ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด

2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง

Read the rest of this entry »

การลงทะเบียนส่งเอกสาร (กรณีเสนอเซ็นต์สด)​
ม.ค. 12th, 2021 by pacharamon

มหาวิทยาลัยหัวเฉึยวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Less Paper (LP) มาใช้เมื่อช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 รอบแรก ทำให้การเสนอบันทึกเพื่ออนุมัติเห็นชอบ หรือการแจ้งข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างไม่หยุดชะงัก มีการปรับวิธีการทำงานบางอย่าง เช่น เอกสารการเงิน เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปและสอดคล้องกับระเบียบ ขั้นตอน เช่น การเสนอเอกสารกรณีเซ็นต์สด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

เมื่อเข้าระบบ Less Paper และคลิก login เข้าระบบ แล้ว

ขั้นตอนการเข้า Login

Read the rest of this entry »

มุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน
ม.ค. 12th, 2021 by rungtiwa

แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้หนังสืออย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น โดยนำหนังสือที่จัดซื้อในปีที่ผ่านมาลงมาจัดแสดงที่มุมเพาะชำความรู้  มุมเพาะชำนักอ่าน  หรือมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เก๋ คือ Something nice to you ซึ่งหมายถึง น่าจะมีหนังสือ ซัก 1 เล่ม ที่คุณชอบ  บริเวณโถงกลาง ด้านหน้าศูนย์บรรณสารฯ

มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวมาประมาณ 2-3 ปี  ผู้บริหาร จึงได้มีการหารือเพื่อให้หนังสือที่นำมาจัดแสดงน่าสนใจ มากขึ้น ผู้เขียนและทีมงาน จึงได้มีการปรับปรุงการนำหนังสือมาจัดแสดง ซึ่งเดิมพิจารณากันเอง อาจจะมีเปะปะ จึงวางแผนการจัดแสดงหนังสือทั้งปี แบ่งการจัดเป็น Theme ต่างๆ ใช้ระยะเวลาจัดแสดง Theme ละ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ตามตารางด้านล่าง

ตารางกิจกรรมการจัดหนังสือมุมเพาะชำความรู้ มุมเพาะชำนักอ่าน

จากการจัดแสดงหนังสือเป็น Theme เป็นระยะเวลาหนึ่ง ไดัรับความสนใจจากผู้ใช้บริการที่เดินผ่านบริเวณ โถงศูนย์บรรณสารฯ ได้แวะชมและหยิบยืมหนังสือเพิ่มขึ้น  นับเป็นการกระตุ้นการใช้หนังสือให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มยอดการยืมหนังสืออีกทางหนึ่ง โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียเวลาขึ้นไปหาหนังสือบนชั้นต่างๆ จากภาพจัดแสดงหนังสือตาม Theme ต่างๆ รวมทั้งเทศกาลและวันสำคัญ ดังนี้ (ทั้งนี้ Theme อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตามภาวะการณ์หรือมีกระแสเกิดขึ้้นในสังคม)

Read the rest of this entry »

ทำต่อ ออร์เดอร์เดิม
ม.ค. 8th, 2021 by uthairath

ทำต่อออร์เดอร์เดิม คือ การทำขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders)  ต่อจาก (Orders) ที่ยังทำไม่เสร็จในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

Acquisitions module เป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด ในบทความนี้ขอนำเสนอการทำ Orders ต่อจาก Orders ที่ยังทำไม่เสร็จ จะใช้สำหรับ Orders ที่มีจำนวนรายการหนังสือจำนวนมาก ๆ ที่ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว และสามารถทำต่อได้ในวันถัด หรือมีงานอื่นที่ต้องทำก่อน ก็สามารถ Save Orders ไว้ทำในคราวถัดไป ทำให้เกิดความสะดวกและง่าย ในการทำรายการต่อ มีขั้นตอนดังนี้

เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

ไปที่โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

ภาพ 1 โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

Read the rest of this entry »

Group related editions ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการสืบค้นของ WMS
ม.ค. 6th, 2021 by supaporn

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น

Current Search        –  Keep selections for subsequent searches

เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »

สร้าง Vote ได้ง่ายๆ ใน Line Group
ธ.ค. 25th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Line กลายเป็นแอฟพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟนและ PC ทุกเครื่องไปแล้ว เพราะสะดวกในการสื่อสารทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะการตั้งกลุ่มหรือ Group ก็มีมากมายหลายกลุ่ม การสื่อสารแบบที่ต้องการให้เลือกหรือโหวต ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการสร้างโหวต หรือ Poll ในกลุ่มไลน์ค่ะ

1 เริ่มจากในหน้าแชทสนทนา คลิกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่มุมล่างด้านซ้าย

2 คลิกคำว่า “โหวต”

3 จะเข้าสู่หน้าจอการสร้างโหวต คลิกที่ “สร้างหน้าโหวต”

Read the rest of this entry »

สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

Read the rest of this entry »

ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน
ธ.ค. 25th, 2020 by wanna

จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua

ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป

 

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa