RefME แอปพลิเคชันที่จะทำให้การเขียนอ้างอิง เป็นเรื่อง ง่ า ย
RefME เป็น citation tool แบบ web based ที่ไว้ช่วยเก็บข้อมูลแหล่งอ้างอิง และจัดรูปแบบได้หลากหลายมาตรฐาน เช่น APA, Vancouver etc.
โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้งโปรแกรม เพียงแค่ต่ออินเตอร์เน็ต เปิด Browser เข้าที่
https://www.refme.com หรือ https://app.refme.com แล้วดำเนินการ
การใช้งานในเบื้องต้น สาธิตวิธีการตามรูปภาพ ดังนี้
Read the rest of this entry »
งานที่ได้รับมอบหมายอีกงานหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ งานจัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือของศูนย์บรรณสารสนเทศ กล่าวคือ การจัดทำข้อมูลรวบรวมรายชื่อหนังสือทั้งหมดของศูนย์บรรณาสารสนเทศ ที่ได้จัดหาให้มีความทันสมัยและเพียงพอในทุกหลักสูตรสาขาวิชาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ในแต่ละหลักสูตรที่ได้มีการเปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา และดำเนินการทุกสาขาวิชาให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้
ดอกไม้รักษ์โลกด้วยถุงพลาสติก คือ 1 ใน 6 นวัตกรรม ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ส่งผลงานเข้าประกวด โครงการประกวดนวัตกรรมงานประจำ เพื่อการประหยัดพลังงาน (R2I : Routine Innovation for Saving Energy) ประจำปี 2558 รอบแรก วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมประกวดโครงการประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวง ภายใต้โครงการ (Thailand Energy Awards 2015)
จัดแสดงผลงานประกวดนวัตกรรมงานประจำเพื่อการประหยัดพลังงาน (R2I)
คิดว่าหลายๆ ท่าน คงจะเคยได้รับไฟล์ แล้วอ่านตัวหนังสือไม่ได้ ต้องเรียกนักคอมพิวเตอร์ หรือ admin มาช่วย หรือเพื่อนข้างๆ มาช่วย ซึ่งแต่ละคน งานก็แสนจะยุ่ง อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เพราะถ้า ไฟล์เอกสารที่ได้รับมา แสดงฟอนต์ของอักษรไม่ได้ มองเห็นไม่ตรงตามรูปแบบของอักษรที่แท้จริง ผู้เขียนมีวิธีการแนะนำ ดังนี้ ค่ะ
วิธีแก้ไข
ท่านที่เป็นผู้อ่านทั่ว ๆไปอาจจะเคยนึกสงสัยว่า วารสาร นิตยสาร แตกต่างกันอย่างไร เดี๋ยวชื่อนั้นขึ้นต้นด้วยวารสาร อีกชื่อขึ้นต้นด้วยนิตยสาร จริงแล้วทั้งวารสารและนิตยสารต่างก็จัดเป็นประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เหมือนกัน ผมจะขออธิบายดังนี้ครับ
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่ง เป็น สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกสม่ำเสมอ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน รายสองเดือน ฯลฯ แต่ละฉบับมีหมายเลขแสดงความต่อเนื่อง เช่น ปีที่ (volume) ฉบับที่ (number) วัน เดือน ปีพ.ศ. (ค.ศ.) ไว้ด้วย เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องประกอบด้วยบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล ในสาขาใดสาขาหนึ่งซึ่งผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์มาแล้ว ทำให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งพิมพ์ดังกล่าวนี้ เรียกชื่อว่า วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ Read the rest of this entry »
ความหมายของกฤตภาค กฤตภาค คือ ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ และให้หัวเรื่อง รวมจัดเข้าแฟ้ม ห้องสมุดมักจะติดตามข่าวและตัดข้อความที่มีประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ไว้เพื่อให้บริการ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
การคัดเลือกเนื้อหาที่ควรคัดเก็บไว้ ควรจะเป็นเนื้อหาที่หาไม่ได้ในหนังสือทั่วไป เช่น
ขั้นตอนการเบิกจ่าย-วัสดุ
ตัวอย่างใบเบิกวัสดุสำรองคลัง
การเบิกจ่ายวัสดุสำรองคลัง
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทำหน้าที่ในการให้บริการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้า ของมหาวิทยาลัย ภารกิจส่วนที่สำคัญที่สุดของการบริการ คือ การให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ โดยครอบคลุมการให้ยืมและคืนทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งเมื่อมีการยืมก็มักจะมีเหตุการณ์ที่ผู้ใช้บริการทำหนังสือหาย งานบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งให้บริการอยู่ที่ ชั้น 1 จึงมีหน้าที่ในการรับแจ้งหนังสือหาย และดำเนินการต่างๆ โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1. สมาชิกที่ยืมหนังสืออกจากศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อทำหนังสือหายต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 1 ทันที เพื่อดำเนินการหยุดค่าปรับรายวัน ถ้าแจ้งหายหลังวันกำหนดส่ง สมาชิกต้องเสียค่าปรับเกินกำหนด วันละ 5 บาท/เล่ม หรือชำระค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 300 บาท/เล่ม
2. กรอกแบบฟอร์มการแจ้งหนังสือหาย โดยให้สมาชิกหาซื้อหนังสือที่ทำหายมาทดแทนภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่มาแจ้งหายไว้ และสมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมในการดำเนินการแจ้งหนังสือหาย จำนวน 50 บาท/เล่ม
3. หากสมาชิกไม่สามารถหาซื้อหนังสือตามชื่อเรื่องที่ทำหายมาทดแทนได้ ให้ซื้อหนังสือที่อยู่ในสาขาวิชาเดียวกัน หรือหนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาทดแทน ทั้งนี้ราคาหนังสือต้องไม่ต่ำกว่าเล่มที่สมาชิกแจ้งหายไว้ และต้องเป็นฉบับพิมพ์ปีล่าสุด
4. หากเลยกำหนด 14 วัน หลังจากแจ้งหนังสือหายไว้แล้ว สมาชิกไม่มาติดต่อ หรือไม่นำหนังสือมาทดแทนต้องเสียค่าปรับอีก วันละ 5 บาท/เล่ม จนกว่าจะหาหนังสือมาทดแทนได้
หนังสือหายาก (Rare Book) หมายถึง หนังสือที่มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหา ความหมายในด้านการพิมพ์ ไม่สามารถหาซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านค้าหนังสือเก่า และมีราคาแพง หรือร้านขายของโบราณ
คุณค่าของหนังสือดูจากเกณฑ์ เช่น ความหายากซึ่งอาจเกิดจากลักษณะพิเศษ เช่น การพิมพ์ด้วยตัวแกะไม้ (blockbooks) หนังสือที่ผลิตโดยการเรียงพิมพ์คุณค่าด้านความเป็นเอกสารปฐมภูมิด้านประวัติการพิมพ์ คุณค่าด้านความเป็นหนังสือที่มีจำนวนพิมพ์จำกัด หนังสือที่พิมพ์ครั้งแรก หนังสือที่มีความเด่น เช่น เป็นผลงานเรื่องเดียวหรือส่วนน้อยที่แตกต่างไปจากผลงานส่วนมากของนักเขียนสามัญ เรื่องที่ปลอมแปลงขึ้น หนังสือเก่าที่สวยงาม หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง เช่น มีหนังสือทีมีขนาดและรูปเล่มต่างไปจากรูปแบบธรรมดาทั่วไป ลายมือชื่อหรือป้ายบรรณสิทธิ์ของเจ้าของ เป็นหนังสือที่ใช้วัสดุมีค่าจัดทำอย่างประณีตสวยงาม เช่น ใช้หนัง แพร ไหม แผ่นทองแทนกระดา หรือจัดพิมพ์จำนวนจำนวน (Limited edition) เป็นต้น
หนังสือที่พิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2459-2505
โปรแกรม Doku-wiki เป็นโอเพนซอร์สโปรแกรมหนึ่ง ที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปสร้างเนื้อหา เพิ่มเติม ปรับปรุง และแก้ไขเนื้อหา เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่สร้างองค์ความรู้ต่างๆ ขึ้นมากมาย จากการที่เริ่มต้นด้วยการเขียนจากบุคคลหนึ่ง และผู้เป็นสมาชิกอื่นๆ สามารถที่จะเข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหา หรือปรับปรุงเนื้อหาได้ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ทำให้บทความหรือข้อมูลที่บันทึกไว้นั้น มีความสมบูรณ์ และติดตามอ่านได้ในแพลตฟอร์มเดียว
ด้วยจุดเด่นของ วิกิ ที่ให้มีการทำงานร่วมกันได้ อนุญาตให้สมาชิกอื่นๆ แก้ไขบทความเดิมได้ และด้วยรูปแบบคำสั่งที่ใช้งานง่าย ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงได้นำเอาโปรแกรม Doku-wiki มาใช้ในการบริหารจัดการเอกสาร การจัดเก็บเอกสาร เพื่อการทำงานร่วมกันของศูนย์ฯ https://lib-km.hcu.ac.th/intranet/management
อินทราเน็ตของศูนย์บรรณสารสนเทศ
การนำโปรแกรม Doku-wiki มาใช้กับการทำงานหลักของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คือ การบันทึกการประชุมของผู้บริหารกับหัวหน้าแผนก เพื่อการดำเนินงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เกิดเป็น e-Meeting มีการบันทึกวาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมต่างๆ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถแนบไฟล์หรือเชื่อมโยงลิงก์ ทำให้การทำงานของผู้บริหารและหัวหน้าแผนก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นการเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน องค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งเพียงแต่บันทึกและแจ้งลิงก์ ก็สามารถปฏิบัติงานและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ เพียงแต่ต้องมีการบริหารจัดการหมวดหมู่ในการใช้งานและให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน