SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
กฤตภาค (Clipping)
กุมภาพันธ์ 25th, 2016 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ความหมายของกฤตภาค   กฤตภาค คือ ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ และให้หัวเรื่อง รวมจัดเข้าแฟ้ม ห้องสมุดมักจะติดตามข่าวและตัดข้อความที่มีประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ไว้เพื่อให้บริการ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย

การคัดเลือกเนื้อหาที่ควรคัดเก็บไว้ ควรจะเป็นเนื้อหาที่หาไม่ได้ในหนังสือทั่วไป เช่น

  • ชีวประวัติบุคคลสำคัญ
  • เรื่องราว หรือภาพเกี่ยวกับประเทศ  หรือเรื่องทางด้านธรรมชาติศึกษา และสถานที่ต่างๆ ที่หาไม่ได้ในหนังสือ
  • บทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ
  • ทางด้านการเมือง การปกครอง
  • ภาพและข่าวเกี่ยวกับท้องถิ่น  สุขภาพอนามัย หรือกิจกรรมภายในสถานศึกษา ที่ห้องสมุดนั้นๆ สังกัดตั้งอยู่
  • บทความสารคดีเรื่องต่างๆ ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่อื่นอีก เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้บอกรับหนังสือพิมพ์รายวัน และรายสัปดาห์  ทั้งหมด 21 ชื่อเรื่อง โดยเป็นภาษาไทยถึง 18 ชื่อเรื่อง และภาษาต่างประเทศ อีก 3 ชื่อเรื่อง ทั้งนี้เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้ติดตามข่าวสารต่าง ๆ อย่างทั่วถึง

สำหรับกระบวนการและวิธีการจัดทำกฤตภาค ของงานวารสารและเอกสาร แผนกบริการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีดังนี้ 

  1. คัดเลือกบทความหรือข่าวทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะ หรือระบบการศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ และเพื่อติดตามข่าวสารในทุกระดับของหน่วยงานการศึกษาและคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลงานในด้านต่างๆ  เพื่อนำมาปรับปรุงและวางแผนงานทางด้านการพัฒนาการเรียนการสอนของสถาบัน ให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  2. คัดเลือกข่าวของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ข่าวกิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย 

สำหรับการนำหนังสือพิมพ์มาทำกฤตภาคนั้น จะทำเฉพาะฉบับภาษาไทย และเป็นฉบับล่วงเวลา โดยมีวิธีการทำ ดังนี้

  1. โดยการนำข่าวสารที่ต้องการจัดเก็บ นำมาตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการ จากนั้นนำไปผนึกลงบนกระดาษเปล่า และแจ้งถึงแหล่งที่มาของข้อเท็จจริงไว้ที่หัวกระดาษเพื่อใช้ในการอ้างอิงได้ เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี  โดยจะมีบรรณารักษ์เป็นผู้วิเคราะห์บทความนั้นๆ เพื่อทำการให้หัวเรื่อง

IMG_0060
IMG_0076

2. รวบรวมจัดเก็บเข้าแฟ้มไว้เป็นคอลเล็กชัน โดยการจัดเก็บด้วยหัวเรื่อง เรียงลำดับตามตัวอักษร แล้วจัดเก็บไว้ในตู้กฤตภาค เพื่อให้บริการและเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลปลีกย่อยที่ปรากฏในสิ่งพิมพ์นั้นๆ  เพื่อค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

รูปแบบกฤตภาค ที่เรียบร้อยแล้ว

              รูปแบบกฤตภาค ที่เรียบร้อยแล้ว

ปัจจุบัน การทำกฤตภาค จะมีให้เห็นกันน้อยมากหรือไม่มีเลย เนื่องจากมีบริษัทรับจัดทำเป็นฐานข้อมูลกฤตภาค ให้สามารถเข้าไปค้นหาบทความต่างๆ ได้

 

รายการอ้างอิง :
แม้นมาส ชวลิต. (2549). คู่มือบรรณารักษ์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) เล่ม 1. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

 

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa