SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การทำดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยถุงพลาสติก
มีนาคม 11th, 2016 by namfon

ดอกไม้รักษ์โลกด้วยถุงพลาสติก คือ 1 ใน 6 นวัตกรรม ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ส่งผลงานเข้าประกวด โครงการประกวดนวัตกรรมงานประจำ เพื่อการประหยัดพลังงาน (R2I : Routine Innovation for Saving Energy) ประจำปี 2558 รอบแรก วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมประกวดโครงการประหยัดพลังงานของการไฟฟ้านครหลวง ภายใต้โครงการ (Thailand Energy Awards 2015)

ประกวดนวัตกรรม

จัดแสดงผลงานประกวดนวัตกรรมงานประจำเพื่อการประหยัดพลังงาน (R2I)

สาเหตุที่เลือกใช้ถุงพลาสติก เพราะว่าปัจจุบันมีการผลิตถุงพลาสติกและมีการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก เราใช้กันแทบทุกวัน พลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี แต่หากเอาไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อน เพราะฉะนั้นเราปฏิเสธที่จะใช้ถุงพลาสติกกันตลอดไปไม่ได้ ในขณะเดียวกันถุงผ้าหรือถุงกระดาษ อาจใช้งานได้ไม่รอบด้าน ดังนั้น การใช้งานที่เหมาะสม รวมถึงการใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพื่อนำขยะมารีไซเคิล ลดปริมาณขยะที่มีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดปริมาณการใช้พลาสติก สามารถนำมาแปรรูปเป็นดอกไม้ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังใช้ประดับ ตกแต่งอาคาร และบอร์ดนิทรรศการได้อีกด้วย ทำให้ห้องสมุดสวยงามน่ามองยิ่งขึ้น ขั้นตอนการดูแลรักษาทำความสะอาดก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ปัดฝุ่นทำความสะอาดก็เพียงพอแล้ว สีสันก็ยังสวยงามมีความคงทนอยู่ไม่น้อยเลย และมีวิธีการประดิษฐ์อย่างง่ายๆ ทำได้ไม่ยาก จึงขอแบ่งปันให้เพื่อนๆ ให้ทำไปด้วยกัน จำนวน 2 ชิ้นงาน คือ

แบบที่ 1 การทำดอกกุหลาบด้วยถุงพลาสติก มีดังนี้

วัสดุ/อุปกรณ์
1. ถุงหูหิ้วพลาสติก (เนื้อหนา)
2. กระดาษต้นแบบ
3. ลวดพันก้าน
4. กาวลาเท็กซ์
5. กรรไกร
6. ไม้เสียบลูกชิ้น / ใช้สำลีพันก้าน หรือก้านสำเร็จรูป
7. ฟลอร่าเทป (สำหรับพันก้าน)
8. ใบสำเร็จรูป
9. ด้าย (สำหรับพันกลับดอกไม้)

วิธีการและขั้นตอน

1.ตัดกระดาษต้นแบบ จำนวน 3 ขนาด เป็นรูปหัวใจ ดังนี้
ขนาดกลีบเล็ก กว้าง 6 เซ็นติเมตร x ยาว 7 เซ็นติเมตร = 4 กลีบ
ขนาดกลีบกลาง กว้าง 7 เซ็นติเมตร x ยาว 8 เซ็นติเมตร = 5 กลีบ
ขนาดกลีบใหญ่ กว้าง 8 เซ็นติเมตร x ยาว 10 เซ็นติเมตร = 7 กลีบ

2. นำถุงพลาสติก ตัดส่วนหัว ส่วนท้าย และด้านข้าง ด้วยกรรไกร นำถุงที่ตัดซ้อนกันหลายๆ ชั้น นำกระดาษต้นแบบมาวางทาบและตัดตามแบบ

3. นำชิ้นขนาดกลีบขนาดกลางและกลีบขนาดใหญ่มาม้วนด้วยปลายกรรไกรที่ริมขอบด้านบน ทั้งสองด้าน

4. นำไม้เสียบลูกชิ้นที่ไม่พันก้าน / พันสำลีแล้ว หรือก้านสำเร็จรูป เริ่มจากกลีบเล็กก่อน โดยใช้ด้ายพันทีละกลีบ เพื่อความสวยงาม สับว่าง ทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนหมด 4 กลีบ จากนั้นเริ่มพันด้ายด้วยกลีบขนาดกลาง หันกลีบที่ม้วนไว้แล้วออกด้านนอก สับว่าง ทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนหมด 5 กลีบ และพันกลีบใหญ่ สับว่าง จนกระทั่งหมด 7 กลีบ

5. จากนั้นพันก้านด้วยฟลอร่าเทปพันไปเรื่อยๆ ประมาณ 5 – 7 เซ็นติเมตร แล้วติดใบ 1 ใบ แล้วพันฟลอร่าเทปที่ก้านต่อไปอีก 2 เซ็นติเมตร แล้วใส่ใบอีก 1 ใบ หรือแล้วแต่ความชอบ และพันฟลอร่าเทปต่อจนหมดก้าน เป็นอันเสร็จ

แบบที่ 2 การทำดอกโบตั๋นด้วยถุงพลาสติก มีดังนี้

 

วัสดุ/อุปกรณ์

  1. ถุงหูหิ้วพลาสติก
  2. ลวดพันก้าน
  3. กรรไกร
  4. คัดเตอร์
  5. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือก้านสำเร็จรูป
  6. ฟลอร่าเทป (สำหรับพันก้าน)
  7. ใบสำเร็จรูป

วิธีการและขั้นตอน

  1. นำถุงหูหิ้วพลาสติก มาตัดส่วนหัวและส่วนท้ายด้วยกรรไกร จากนั้นพับทบกันให้ได้ประมาณ 6-8 ชั้น ตัดด้านข้างออกด้วยคัดเตอร์ แล้วพับทบกันไปมา
  2. จับกลีบให้ส่วนปลายทบเข้าหากัน แล้วใช้ลวดพันตรงกลางให้แน่น กลางออกเพื่อดึงส่วนดอกด้านใดด้านหนึ่ง ไป ทางด้านหน้า ทีละชั้นๆ จนครบ อีกข้างหนึ่งทำเช่นเดียวกัน จัดรูปดอกให้สวยงาม
  3. นำดอกไม้ที่ได้มาพันฟลอร่าเทปติดกับลวดพันก้าน พันมามาประมาณ 15 เซ็นติเมตร นำใบที่ติดกับลวด มาประกบกัน 2 ใบ ก็จะได้ดอกไม้ไว้ประดับ ตกแต่งสถานที่แล้ว

เห็นมั้ยคะว่า ไม่ยากเลย วัสดุก็มีอยู่แน่ๆ ในบ้านของเรา เป็นการประหยัดพลังงาน เวลา วัสดุสิ้นเปลือง และขั้นตอนการทำงานต่างๆ เป็นต้น จึงอยากเชิญชวนให้นำถุงพลาสติกมาลองทำกันดูค่ะ เพราะ

  1. ช่วยลดปริมาณถุงพลาสติก และนำมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ (Material Recovery) สามารถคัดแยกได้ แล้ว นำมาใช้ใหม่ โดยจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปใหม่ (Recycle) หรือแปรรูป (Reuse) ก็ได้
  2. ลดการใช้ หรือใช้ซ้ำ โดยการนำไปล้างและนำกลับมาใช้ใส่ของอย่างอื่นต่อไป หรือนำไปแปรสภาพทำประโยชน์อย่างอื่น
  3. หากเป็นไปได้ให้ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก

ลองดูนะคะ ไม่เข้าใจหรือมีผลงานเป็นรูปแบบอื่นๆ นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa