SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
ธ.ค. 21st, 2019 by supaporn

เมื่อมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีอายุครบ 80 ปี คณะกรรมการฯ ภายใต้การนำของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ มีมติให้พัฒนาวิทยาลัยหัวเฉียวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ดร. อุเทนฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์, 2543 หน้า 203)

… มูลนิธิฯ ครบ 80 ปี ผมเสนอที่ประชุมว่าโอกาสนี้อยากจะเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ สร้างมหาวิทยาลัย และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำสาขาของมูลนิธิฯ ตามจุดต่างๆ เป็นสี่มุมเมือง … เรื่องมหาวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้นนั้น เราก็จะไม่ได้ทำเอาแต่ชื่อเสียง ต้องทำเป็นเรื่องที่ช่วยเหลือสังคมบ้านเมืองได้จริงๆ เราควรสร้างมหาวิทยาลัยที่ดี สมบูรณ์ แต่เราไม่หวังผลกำไร เอาเพียงแค่ให้พึ่งและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานดี ผมเห็นว่า ควรทำเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระบรมโพธิสมภารแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า…

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเริ่มต้น “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญและสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ การรณรงค์เงินบริจาค การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย และการก่อสร้างมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจะเปิดมหาวิทยาลัยในกลางปี พ.ศ. 2535

ภาพอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย

อ่านก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก่อตั้ง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ การหาเงินบริจาค และเพื่อถวายความจงรักภักดี ได้ที่ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  หน้า 224 (ไฟล์) หรือหน้า 203 (เอกสาร) หรือในรูปแบบของ Flip 

รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์. (2543). 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

 

 

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ธ.ค. 7th, 2019 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีงานพิธีที่สำคัญเกิดขึ้นที่แสดงให้เห็นความเข้มแข็งด้านจีนของมหาวิทยาลัย นั่นคือ พิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ซึ่งมหาวิทยาลัย ร่วมกับ  ศาลเจ้าชิงซงศาสนาเต๋าแห่งฮ่องกง และศาลเจ้าฮั่วกวงศาสนาเต๋าแห่งประเทศไทย จัดตั้งห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเต๋าให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป

ในวันพิธีเปิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พร้อมท่านอู๋ เฉิงเจิน ประธานศาสนาเต๋าแห่งมลฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า โดยมีนักพรตและแขกผู้มีเกียรติจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน  มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเชีย อินโดนีเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย เข้าร่วมงาน ณ อาคารบรรณสาร และร่วมพิธีมหามงคล ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุม มฉก. ได้แก่พิธีสักการะฟ้า (ต้าก้งเทียน)  ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยคณะนักพรตของศาสนาเต๋าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจีน พิธีเบิกเนตรสิงโต  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และชมการแสดงการเชิดสิงโตของสโมสรกีฬาสิงคโปร์เวยจิ้ง การแสดง  “หุ่นคนนารายณ์ทรงครุฑ” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊กที่มาร่วมพิธี  การแสดงร่วมบรรเลงดนตรีเต๋าของประเทศจีน และฮ่องกง การแสดงเชิดมังกรของสมาคมกีฬาเชิดสิงโตมังกรลูกเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น  การแสดง “สวัสดีเมืองไทย” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การแสดงวูซูของสำนักเต๋าบู๊ตึ๊ง

ภาพที่ 1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมเต๋า

Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : จากการเรียนรู้สู่การแข่งขันไท้เก๊ก มฉก. ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ย. 26th, 2019 by supaporn

เมื่อปีการศึกษา 2547  รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์  โฆวิไลกูล  ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก)  โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ  ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส  ศรีประจิตติชัย  เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์  ศิลาพร  มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน  กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน  และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร  ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ (นำเสนอโดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม)  มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาอาจารย์ภายใน อาจารย์ได้รับการยอมรับความเป็นมืออาชีพ มหาวิทยาลัยมีอาจารย์ได้รับการยอมรับในระดับชาติ ด้านการสอน ส่งผลให้มียอดนักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยการเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 อาจารย์  ที่ต้องการพัฒนาตนเอง มีพี่เลี้ยงหรือผู้แนะนำในเรื่องที่เรียนรู้ใหม่ ๆ
  • กลุ่มที่ 2 ลูกศิษย์ ต้องการอาจารย์ ต้องการอาจารย์สอนสนุกได้ความรู้ เข้าใจนักศึกษา ตอบคำถามได้ทุกคำถาม ตลอดเวลา ในทุกช่องทาง รวมถึงเป็นโค้ชที่สามารถให้คำปรึกษา และค้นหาศักยภาพในตัวนักศึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสประสบความสำเร็จ
  • กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารต้องการให้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ยกระดับคุณภาพอาจารย์ให้เป็นที่ยอมรับ การบริหารจัดการแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร และสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Read the rest of this entry »

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR (นำเสนอโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เกิดจากความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า เนื่องจากระบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ในการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร  เป็นระบบใช้เพื่อบันทึกฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลร่วมกัน

ต้องใช้กระดาษในการ Print out เพื่อนำเสนอ   ไม่ลดขั้นตอนในการทำงาน  เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้บริหารและบุคลากรไม่สามารถเรียกดูข้อมูลได้เอง  หรือเรียกใช้ข้อมูลอย่างเร่งด่วนได้  จึงได้มีการจัดซื้อระบบ COACH เข้ามาและปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักจากการพัฒนาระบบ เกิดความลงตัวของฟังก์ชั่นการทำงาน ดังนี้ Read the rest of this entry »

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist  เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist (นำเสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ฝ่ายนโยบายและแผน ศึกษาพบความสูญเปล่าในกระบวนการนำส่งผลดำเนินงานตัวชี้วัดระดับภาควิชา ซึ่งพบว่า มีความสูญเปล่าในเรื่อง Read the rest of this entry »

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ (การประปานครหลวง) เป็นแนวทางที่เกิดจากปัญหาในการปฏิบัติงาน เนื่องจากพนักงานที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่สามารถตอบปัญหาได้ทั้งหมด หรือตอบไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือไม่มีความรู้ในเรื่องที่ถูกถาม ซึ่งเกิดจาก 3 ประเด็นหลักคือ คน ความรู้และทักษะ และแหล่งข้อมูล

การประปานครหลวง จึงได้มีการปรับปรุงกระบวนโดยการระบุองค์ความรู้ที่ขาด ค้นหาผู้รู้หรือแหล่งความรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดเก็บองค์ความรู้ที่ได้  มีการติดตามและประเมินผล จากกระบวนการที่มีการปรับปรุงใหม่ดังกล่าว ทำให้เกิดความพึงพอใจในระบบ Call Center เพิ่มขึ้นจากเดิม

Read the rest of this entry »

ระบบบริหารคลังวัสดุและสารเคมีเพื่อการวิจัย (Sci-Store)
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

ระบบบริหารคลังวัสดุและสารเคมีเพื่อการวิจัย (Sci-Store) เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

ระบบบริหารคลังวัสดุและสารเคมีเพื่อการวิจัย (Sci-Store) (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) เพื่อให้คลังอุปกรณ์และสารเคมีเดิมที่มีอยู่ให้พร้อมใช้ หาง่าย เบิกสะดวก ปลอดภัย และมีการควบคุมที่ถูกต้อง มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาผ่าน Fishbone Diagram

การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาผ่าน Fishbone Diagram

Read the rest of this entry »

กระบวนการบริหารเงินลงทุน
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

กระบวนการบริหารเงินลงทุน  เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

กระบวนการบริหารเงินลงทุน (นำเสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) เป็นการพัฒนาแนวทางการบริหารเงินลงทุนโดยฝ่ายการคลัง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เนื่องจากเดิมการบริหารเงินทุนของมหาวิทยาลัย มีเพียงการฝากเงินธนาคาร พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนส่วนบุคคล  การบันทึกข้อมูลช้า ข้อมูลไม่ตรงกัน รายงานข้อมูลเงินลงทุนประจำเดือนไม่เป็นปัจจุบัน ผู้บริหารได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ทันสถานการณ์การเงิน Read the rest of this entry »

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

กระบวนสร้างความรู้และงานวิจัยในองค์กร (นำเสนอกองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) เกิดจากหน่วยงานไม่สามารถเก็บข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานได้ บุคลากรไม่ให้ความสำคัญของการวิจัย ขาดการมีส่วนร่วมขององค์กร งานวิจัยไม่สอดคล้องกับพันธกิจ เมื่อผ่านกระบวน PDCA โดยมีการพัฒนา ระบบ ฐานข้อมูล และบุคลากรแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ ทำให้เห็นแผนที่การวิจัย (Research Road Map) ของหน่วยงานเกิดขึ้น

ปัญหา กระบวนการและผลลัพธ์ของงานวิจัย

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa