SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ธันวาคม 7th, 2019 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีงานพิธีที่สำคัญเกิดขึ้นที่แสดงให้เห็นความเข้มแข็งด้านจีนของมหาวิทยาลัย นั่นคือ พิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ซึ่งมหาวิทยาลัย ร่วมกับ  ศาลเจ้าชิงซงศาสนาเต๋าแห่งฮ่องกง และศาลเจ้าฮั่วกวงศาสนาเต๋าแห่งประเทศไทย จัดตั้งห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเต๋าให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป

ในวันพิธีเปิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พร้อมท่านอู๋ เฉิงเจิน ประธานศาสนาเต๋าแห่งมลฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า โดยมีนักพรตและแขกผู้มีเกียรติจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน  มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเชีย อินโดนีเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย เข้าร่วมงาน ณ อาคารบรรณสาร และร่วมพิธีมหามงคล ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุม มฉก. ได้แก่พิธีสักการะฟ้า (ต้าก้งเทียน)  ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยคณะนักพรตของศาสนาเต๋าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจีน พิธีเบิกเนตรสิงโต  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และชมการแสดงการเชิดสิงโตของสโมสรกีฬาสิงคโปร์เวยจิ้ง การแสดง  “หุ่นคนนารายณ์ทรงครุฑ” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊กที่มาร่วมพิธี  การแสดงร่วมบรรเลงดนตรีเต๋าของประเทศจีน และฮ่องกง การแสดงเชิดมังกรของสมาคมกีฬาเชิดสิงโตมังกรลูกเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น  การแสดง “สวัสดีเมืองไทย” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การแสดงวูซูของสำนักเต๋าบู๊ตึ๊ง

ภาพที่ 1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมเต๋า

ภาพที่ 2 ระหว่างการเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมเต๋า

ภาพที่ 3 การแสดงบนเวที ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 4 พิธีเบิกเนตรสิงโต โดย รศ.ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี มฉก.

ภาพที่ 5 การแสดงการเชิดสิงโตของสโมสรกีฬาสิงคโปร์เวยจิ้ง บนเวที หอประชุม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 6 การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊ก

ภาพที่ 7 การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊ก

ภาพที่ 8 การแสดง “หุ่นคนนารายณ์ทรงครุฑ” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.

ภาพที่ 9 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า

ภาพที่ 10 หน้าห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า

ภาพที่ 11 ภาพตัวอักษรจีน

ภาพที่ 12 ภาพตัวอักษรจีน

ภาพที่ 13 ระหว่างการเขียนตัวอักษรจีน

ภาพที่ 14 ท่านองคมนตรี และ ท่านอธิการบดี ระหว่างการชมหนังสือ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ที่ชั้น 1 โดยการจัดหาหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ทั้งภาษาจีน ไทย อังกฤษ ให้บริการ จัดหมวดหมู่ พร้อมพื้นที่นั่งอ่าน และจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัฒนธรรมศาสนาเต๋าไว้ภายในเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้สนใจวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ศึกษา และค้นคว้า ตั้งแต่หน้าห้องสมุดและภายในห้องสมุด ประกอบด้วยประวัติ ที่มาของการจัดตั้งห้องสมุด คำสอนต่าง ๆ พร้อมหนังสือ  ภาพ ที่นำมาจัดแสดงและให้ศึกษา ค้นคว้า

เริ่มจากด้านหน้าก่อนเข้าห้องสมุดวัฒนธรรมและศาสนาเต๋า จะพบป้ายห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า  อยู่ด้านบนประตูสีแดง

ภาพที่ 15 ป้ายห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า

ภาพที่ 16 หมุดตะปูตอกอยู่ที่บานประตูถึง 108 หมุด

หน้าบานประตูของห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าแห่งนี้ มีหมุดตะปูตอกอยู่ที่บานประตูถึง 108 หมุด ในสมัยโบราณในประเทศจีน ในยุคสมัยสังคมศักดินา จวนของขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง จะมีตัวหมุดลักษณะเช่นนี้ตอกอยู่  เพื่อเป็นการบอกถึงตำแหน่ง ฐานะทางสังคมหรือยศของผู้ที่ประจำอยู่ ณ สถานที่นั้น ๆ ซึ่งตามคติความเชื่อนี้ จำนวน 108 หมุด ถือเป็นจำนวนที่สูงสุดที่ขุนนางหรือข้าราชการจะพึงมีได้

ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าแห่งนี้มีหมุดตอกจำนวน 108 หมุด ผู้สร้างต้องการแสดงให้เห็นถึงการยกย่องและให้เกียรติ เหล่าจื่อผู้เป็นศาสดาของศาสนาเต๋า คำสอนของท่านมีอิทธิพลและหยั่งรากฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมจีนอย่างเหนี่ยวแน่น จึงถือได้ว่าท่านมีคุณูปการต่อคนรุ่นหลังอย่างมาก และอีกประการหนึ่งในห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าแห่งนี้ ได้เก็บรวมรวมหนังสือคำสอนของศาสนาเต๋าไว้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดนั่นก็คือ “เต้าจ้าง” (道藏) (คล้ายกับพระไตรปิฎกของพุทธศาสนา) หนังสือชุดนี้รวมรวมคำสอน ระเบียบพิธีการ เรื่องราวต่างๆของศาสนาเต๋าไว้ในทุก ๆ ด้าน เป็นหนังสือโบราณที่ราชสำนักจีนรับรอง ในเมืองไทย “เต้าจ้าง” มีอยู่ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแห่งเดียวเท่านั้น

ป้ายซ้ายมือของภาพ  泰京曼谷第一家 เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมืองกรุงเทพฯ ส่วนภาพขวามือของภาพ  道教文化传天下 วัฒนธรรมศาสนาเต๋าเผยแพร่ไปทั่วโลก

บริเวณ ด้านหน้าของห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ประกอบด้วยภาพวันเปิดห้องสมุดฯ ภาพวาด ภาพการเขียนอักษรด้วยพู่กันจีน ข้อความต่าง ๆ อาทิ เช่น

ภาพที่ 17 การเขียนอักษรด้วยพู่กันจีน มอบให้ในวันเปิดงานเพื่อเป็นที่ระลึก

การเขียนอักษรด้วยพู่กันจีน มอบให้ในวันเปิดงานเพื่อเป็นที่ระลึก มีความหมายว่า  “แม้ระยะทางจะไกลกัน เพียงใดแต่มิตรไมตรีของเราทั้งสองชาติแน่นเฟ้นดุจดั่งเพื่อนบ้านใกล้ชิด”

ภาพที่ 18 ทิวทัศน์รอบบริเวณวัดที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาลำธาร ภูเขา ลำเนาไพหวงหลงกู่ก้วน (黄龙古观) ตั้งอยู่ที่ มณฑลกวางตุ้ง อำเภอป๋อหลัว ทางทิศตะวันตกของภูเขาหลัวฝู๋

ภาพเกี่ยวกับ ทิวทัศน์รอบบริเวณวัดที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขาลำธาร ภูเขา ลำเนาไพหวงหลงกู่ก้วน (黄龙古观) ตั้งอยู่ที่ มณฑลกวางตุ้ง อำเภอป๋อหลัว ทางทิศตะวันตกของภูเขาหลัวฝู๋ ตัวอักษรซ้ายล่างมีนักจิตกรเขียนคำจีน “云水仙乡” ภาพตรงกลาง คือ อารามวัด ซึ่งทางวัดนี้มอบให้ไว้ที่ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นที่ระลึก

จากภาพมีตัวอักษรด้านขวามือแถวแรก 洞天福地甲午秋月雲翘於羅浮山畵  ภาพวาดเขาหลัวฝู่เมฆขาวท้องฟ้าปลอดโปร่งพระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วง ปีเจี่ยอู่ (ค.ศ.2017) (พศ.2560) เป็นที่ประทับที่พำนักของเหล่าเทพเจ้าในศาสนาเต๋า (秋月雲翘: 晴天的白雲,秋天的月亮。)

ตัวอักษรด้านขวามือแถวสอง泰國華僑崇聖大學道教文化館惠存  ขอโปรดเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 19 ภาพถ่ายนักพรตวัดชิงซงกวน เมืองฮ่องกง ถ่ายรูปร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าในวันพิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ณ ด้านหน้าหอประชุม มฉก. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558

ภาพถ่ายนักพรตวัดชิงซงกวน เมืองฮ่องกง ถ่ายรูปร่วมกับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าในวันพิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ณ ด้านหน้าหอประชุม มฉก. เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558

(ในภาพ) ตัวอักษรแถวบน 泰國華僑崇聖大學道教文化館建成啟用開幕典禮誌慶 งานพิธีฉลองเปิดก่อตั้งห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

(ในภาพ) ตัวอักษรแถวซ้าย发起人兼主席沈多緯 泰国道教华光宝殿,道教华光,华光道教文化学习院 (รอแก้คำตัวอักษรไม่ครบ) ศาลเทพเจ้าฮั้วกวงแห่งประเทศไทย

(ในภาพ) ตัวอักษรแถวขวามือ 泰國華僑崇聖大學道教文化館惠存 ขอโปรดเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

(ในภาพ) ตัวอักษรแถวล่างใต้ภาพ 恭请香港道教青松观启建供天礼斗祈福法会到场 วันที่ 30 เดือนเมษายน 2015 ขอเรียนเชิญคณะนักพรตของวัดชิงซงกวน เมืองฮ่องกง ถ่ายรูปหมู่ร่วมกันกับคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 20 ภาพงานพิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 ลงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์สำนักพิมพ์ “ซื่อเจี้ยยื่อเป้า”世界日報 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558

 

ภาพที่ 21 หนังสือ “ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ”

หนังสือ “ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ” ผู้เขียน ประชา หุตานุวัตร ผู้แปลหนังสือ “คัมภีร์เต๋าเต็กเก็งหรือ คัมภีร์เต้าเต๋อจิง” เนื้อหาเกี่ยวกับ คำสอนต่าง ๆ ของเหลาจื่อ ธรรมชาติ แนวความคิด ปรัชญาจีนในเรื่องโลกและชีวิต เป็นต้น หนังสือที่สมาคมลัทธิเต๋าเหล่าจื่อ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย จัดพิมพ์  กลุ่มที่ให้การสนับสนุน วัดชิงซงกวนลัทธิเต๋า ฮ่องกง (มอบให้กับผู้ที่เข้ามาใช้ทุกท่าน)

ศึกษาประวัติของเหล่าจื่อ โดยสังเขป มีทั้ง 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาจีน  และภาษาอังกฤษ

ภาพที่ 22 ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติโดยสังเขปของเหล่าจือ ฉบับภาษาไทย

ภาพที่ 23 ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติโดยสังเขปประวัติเหล่าจื่อ ฉบับภาษาจีน

ภาพที่ 24 ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติโดยสังเขปเหลาจื่อ ฉบับภาษาอังกฤษ

เมื่อเข้ามาให้ห้องสมุดศาสนาวัฒนธรรมเต๋า ประกอบด้วยการจัดนิทรรศการ รูปภาพ ภาพเขียนพู่กันจีน หนังสือศาสนาวัฒนธรรมเต๋า รูปปั้น และสัญญลักษณ์ของศาสนาวัฒนธรรมเต๋า ซึ่งล้วนแต่น่าค้นคว้า น่าสนใจ ให้อยากรู้เรื่องราวทั้งสิ้น

ภาพที่ 25 “道法自然”วิธีเต๋าคือวิถีแห่งธรรมชาติ วิถีที่คล้อยตามปฏิบัติตามธรรมชาติ ไม่ฝืนกฎธรรมชาติ

อักษรพู่กันจีนสีทองทั้งสี่ตัวนี้ ปรากฏอยูบนป้ายสีแดง ติดบนประตูด้านใน เป็นอักษรที่ทางเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ส่งมอบมาให้ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าไว้เป็นที่ระลึก ข้อความที่ปรากฏเป็นวรรคทองในคำสอนของเหลาจื่อ ตอนหนึ่งที่ว่า “ดำเนินคุณธรรมให้เหมือนน้ำ” ความหมายในคำกล่าวนี้คือ น้ำ มีสภาวะที่อ่อนนุ่ม สามารถไหลเวียนไปได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ขัดขืนไม่แข็งกร้าว แต่ยามใดที่น้ำแข็งกร้าวขัดขืน เราก็อาจต้องสิ้นชีพด้วยน้ำได้เช่นกัน

ภาพที่ 26 ข้อความที่ปรากฏเป็นวรรคทองในคำสอนของเหลาจื่อ ตอนหนึ่งที่ว่า “ดำเนินคุณธรรมให้เหมือนน้ำ”

 

อักษรซ้ายสุด 甲午冬,馬來西亞檳城,老子道德經協會。吳春來恭懸  ปีเจี่ยอู่ ฤดูหนาว เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สมาคมศาสนาเต๋า เต้าเต้อจิงเหลาจื่อ มอบไว้เป็นที่ระลึกโดยคุณ อู๋ชุนไหล

อักษรตรงกลางอ่านจากขวามาซ้าย 上善诺水 ดำเนินคุณธรรมให้เหมือนน้ำ(是一个成语,语出《老子》:“上善若水,水善利万物而不争,处众人之所恶(wù),故几于道。”指的是:至高的品性像水一样,泽被万物而不争名利。不与世人一般见识、不与世人争一时之长短,做到至柔却能容天下的胸襟和气度。)

อักษรขวามือสุดอ่านจากขวาสุด 泰国华侨崇圣大学,道教文化馆惠存,純陽示 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอมอบไว้ให้ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าเป็นที่ระลึก อารามฉุนหยาง

อักษรกลางล่าง 香港道教省善真堂吕洞宾师尊乩jī文 อารามเซิ่งซ่านเจินถัง ศาสนาเต๋า ฮ่องกง

อักษรซ้าย甲午冬,馬來西亞檳城,老子道德經協會 ปีเจี่ยอู่ ฤดูหนาว เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สมาคมเต้าเต้อจิงเหลาจื่อ

 

ภาพที่ 27 เต้าเหยี่ยนหนานกั๋ว 道衍南国ศาสนาเต๋าแผ่ขยายไปยังเมือง/ประเทศทางดินแดนใต้

“เต้าเหยี่ยนหนานกั๋ว”…道衍南国ศาสนาเต๋าแผ่ขยายไปยังเมือง/ประเทศทางดินแดนใต้

อักษรด้านซ้าย 乙未年仲春中國湖北長春觀吳誠真

เขียนขึ้นในปีค.ศ.2015 (พ.ศ.2558) เดือนที่สองของฤดูใบไม้ผลิ โดยคุณอู๋ เฉิงเจิน วัดฉางชุนกวน มณฑลหูเป่ย เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

泰國華僑崇聖大學道教文化館 ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 28 “เต้าสิงเทียนเซี่ย”…道行天下ศาสนาเต๋าแผ่ขยายไปในใต้หล้า / ศาสนาเต๋าเผยแพร่ไปทั่วโลก

(อ่านจากขวามาซ้าย) “เต้าสิงเทียนเซี่ย”…道行天下ศาสนาเต๋าแผ่ขยายไปในใต้หล้า /  ศาสนาเต๋าเผยแพร่ไปทั่วโลก

อักษรด้านล่าง อ่านจากขวามาซ้าย 泰國華僑崇聖大學道教文化館惠存,甲午吉日吕雄基言於羅浮黃龍院 ขอโปรดเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีเจี่ยอู่ (ค.ศ.2017) (พศ.2560) วันเป็นสิริมงคลนี้ ณ วัดหวงหลง เขาหลัวฝู่

ภาพที่ 29 “จิ้งอี่ซิวเซิน”..静以修身..ความสงบนำมาซึ่งการบำเพ็ญ

(อ่านจากขวามาซ้าย)  “จิ้งอี่ซิวเซิน”..静以修身..ความสงบนำมาซึ่งการบำเพ็ญ

ตัวอักษรด้านล่าง泰國華僑崇聖大學道教文化館惠存ขอโปรดเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

歲次甲午年冬月於羅浮山黃龍古觀黃東波書之

ภาพเขียนตัวอักษร  “ซิ้งซื่อชิงผิง”盛世清平ในยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั่วหล้าบังเกิดสันติสุข

ภาพที่ 30 “ซิ้งซื่อชิงผิง”盛世清平ในยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองทั่วหล้าบังเกิดสันติสุข

ผนังด้านในสุดของห้อง มีภาพ 2 ภาพซึ่งใช้จิตรกรวาดพร้อมกันทั้งสิ้นจำนวน 5 ท่าน (1. 馮國基  2. 呂耀基 3.馮民活 4.殿雲翘 5. 黄东波) เป็นภาพวาด อารามชิงซงก้วน ที่ฮ่องกง และภาพอารามฮวงหลงกู่ก้วนที่กว่างโจวซึ่ง ทางศาลเจ้าชิงซงก้วน  ฮ่องกง ผู้ที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในการออกทุนทรัพย์ จัดสร้างห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มฉก.  ได้ให้จิตรกรที่มีชื่อเสียงของมลฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน วาดเพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกในวันเปิดห้องสมุด จิตรกรแต่ละท่านก็จะวาดในแต่ละส่วนในเวลาเดียวกัน ภาพที่ได้ออกมาสวยงามวิจิตร ตระการตาแบบศิลปะการวาดภาพจีน

ภาพที่ 31 ภาพวาดโดยจิตรกร 5 ท่าน

ภาพที่ 32 ภาพวาดโดยจิตรกร 5 ท่าน

ถัดมาที่ผนังอีกด้านหนึ่ง ปรากฏป้ายตัวอักษรจีนสีทองบนพื้นสีดำ 2 ป้าย ภาพแรก เคารพในเต๋าเทิดทูนคุณธรรม ภาพที่สอง วิถีเต๋าคือวิถีที่ปฏิบัติตามธรรมชาติ

ภาพที่ 33 เคารพในเต๋าเทิดทูนคุณธรรม

ภาพที่ 34 วิถีเต๋าคือวิถีที่ปฏิบัติตามธรรมชาติ

ภาพที่ 35 上善诺水 “ดำเนินคุณธรรมให้เหมือนน้ำ

อักษรตรงกลางอ่านจากขวามาซ้าย 上善诺水 “ดำเนินคุณธรรมให้เหมือนน้ำ” (是一个成语,语出《老子》:“上善若水,水善利万物而不争,处众人之所恶(wù),故几于道。”指的是:至高的品性像水一样,泽被万物而不争名利。不与世人一般见识、不与世人争一时之长短,做到至柔却能容天下的胸襟和气度。)

 

ภาพที่ 36 หนังสือ ภาพซานชิง ไตรวิสุทธิ์ ศาสดาสามพระองค์ของเต๋า

หนังสือ ภาพซานชิง ไตรวิสุทธิ์  ศาสดาสามพระองค์ของเต๋า

– องค์ซ้าย  คือ  หยวนสือเทียนจุน
– องค์กลาง  คือ  ไท้ซ่างเหล่าจวินเหล่าจื้อ
– องค์ขวา  คือ  ทงเทียนเจี้ยวจู่

ในที่ 30 เมษายน ภาพวาด (รูปคน) 2 ภาพ   เป็นการวาดสด ๆ ณ วันที่มาเป็นห้องสมุดศาสนาวัฒนธรรมเต๋า

ภาพที่ 37 หลีวจู่หรือหลื่อโจ้ว บรรพจารย์ของเต๋าในสายฉวนเจิน

ภาพที่ 38 ปรมาจารย์เหล่าจื้อ ศาสดาของศาสนาเต๋า

 

ภาพที่ 39 泰國華僑崇聖大學道教文化館惠存 ขอโปรดเก็บไว้เป็นที่ระลึก ณ ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ภาพที่ 40 ศาสนาเต๋าดำรงอยู่ คงอยู่ต่อๆ ไป

 

ภาพที่ 41 เซิ่งเติ้ฉงซ่าน .聖德崇尚ยกย่องเกิดทูนคุณธรรม 任法融

 

ภาพที่ 42 ภาพแกะสลักรูป ท่านเหล่าจื่อ

 

ภาพที่ 43 แจกัน เครื่องลายคราม และจานที่ระลึก

แจกันเครื่องลายคราม  วงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยันต์   พร้อม จานที่ระลึก คุณโฮ้ว เป่า เหิง  มอบให้ ในวันพิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า

ตู้แสดงหนังสือ หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมลัทธิเต๋าในประเทศจีน รวบรวมคำสอนของเหล่าจื่อ เช่น  ภาพวาดลัทธิเต๋าร่วมสมัย คัมภีร์ลัทธิเต๋า  คัมภีร์ลัทธิกตัญญู คัมภีร์ลัทธิจิตใจ  ฯลฯ  จำนวน 15 เล่ม

ภาพที่ 44 หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมลัทธิเต๋าในประเทศจีน รวบรวมคำสอนของเหล่าจื่อ

ตู้แสดงหนังสือ “เต้าจ้าง” เป็นหนังสือเกี่ยวกับ คัมภีร์คำสอนในลัทธิเต๋า จำนวน 49 เล่ม สมาคมลิทธิเต๋าแห่งประเทศจีน มอบให้

ภาพที่ 45 ตู้แสดงหนังสือ “เต้าจ้าง”

 

ภาพที่ 46 หนังสือ “ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ”

หนังสือ “ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ” ผู้เขียน ประชา หุตานุวัตร เป็นหนังสือแปลคัมภีร์เต๋าเก็ง เกี่ยวกับ เล่าจื่อ ปรัชญาจีน ผู้และภาวะผู้นำ เป็นต้น หนังสือที่สมาคมลัทธิเต๋าเหล่าจื่อ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย จัดพิมพ์, กลุ่มที่ให้การสนับสนุน วัดชิงกวนลัทธิเต๋า

ภาพที่ 47 “ผู้นำที่แท้ มรรควิธีของเล่าจื๊อ”

 

ภาพที่ 48 ปรมาจารย์ภาพวาดมาแสดงผลงาน “สุนทรียะแห่งธรรมชาติ”
นายแจ๊ค มินทร์ เป็นผู้มอบให้

หนังสือที่นำมาจัดแสดง ชุดต่าง ๆ

ภาพที่ 49 หนังสือ เต๋า

ภาพที่ 50 หนังสือ เต๋า

 

ภาพที่ 51 หนังสือชุดภาพวาด เทพเจ้าในลัทธิเต๋า

 

ภาพที่ 52 หนังสือเกี่ยวกับคัมภีร์ศาสนาเต๋า จากสมาคมลัทธิเต๋า เขาบู๊ตึ้ง

ภาพที่ 53 CD-ROM แนะนำเกี่ยวกับลัทธิเต๋า จากสมาคมลัทธิเต๋า เขาบู๊ตึ้ง

ภาพที่ 54 ส่วนหนึ่งของหนังสือเต๋า ที่นำมาจัดแสดง

 

ภาพที่ 55 ส่วนหนึ่งของหนังสือ และวารสาร วัฒนธรรมและศาสนาเต๋า ที่ให้บริการ

สนใจขอใช้บริการห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ติดต่อ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ค่ะ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa