ด้วยหน่วยงานที่ส่งงานวิจัยมาเพื่อเก็บและให้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศ มีนโยบายในการส่งแต่ไฟล์งานวิจัย และไม่ส่งตัวเล่มอีกต่อไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงต้องวางแนวปฏิบัติในการนำไฟล์งานวิจัยขึ้นระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพื่อให้สามารถสืบค้นและให้บริการได้ผ่านการเข้าถึงงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มจากระบบ ThaiLIS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศนำไฟล์ขึ้นไว้ระบบดังกล่าว ผู้ใช้บริการสามารถอ่านงานวิจัยได้ แม้ว่าไม่มีตัวเล่มให้บริการในศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดทำคู่มือ การนำไฟล์งานวิจัยขึ้นระบบ WMS นี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานให้กับบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ต่อไป
การสืบค้นวิทยานิพนธ์ ทำได้หลายวิธี แล้วแต่ความถนัด หรือเทคนิคของแต่ละคน ในบางครั้ง อาจจะมีความต้องการสืบค้นว่า วิทยานิพนธ์ในสาขาที่ศึกษาอยู่นั้น มีรายชื่อใดบ้าง แต่ทั้งนี้ การสืบค้นด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร ต้องขึ้นอยู่กับว่าในระเบียนการลงรายการวิทยานิพนธ์นั้น มีการใส่ข้อมูลสาขาวิชา หรือหลักสูตร เป็นคำค้นด้วยหรือไม่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาวิทยานิพนธ์ ให้ได้ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงขอแนะนำวิธีการสืบค้นวิทยานิพนธ์ จากสาขาวิชา โดยมีแนวทางดังนี้
ตัวอย่าง คำค้นที่เลือกใช้โดยต้องการค้นวิทยานิพนธ์ การสอนภาษาจีน ใช้คำค้นคือ Teaching Chinese (Huachiew Chalermprakiet Unversity) ที่ subject แล้ว search ปรากฎหน้าจอที่ 2 Read the rest of this entry »
ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ การวิจัย หนังสือหายาก และบทความ ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search) ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ 2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย 4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »
แนวความคิดของการจัดทำสหบรรณานุกรมสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย คือ การใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดย ที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นการจะทราบว่า ห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารสนเทศรายการใดบ้าง จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดแต่ละแห่ง
หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database System) ให้สามารถรองรับการดำเนินงานสหรายการ บรรณานุกรม (Union catalog) ของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนพื้นฐานมาตรฐานสากลในการควบคุมรายการบรรณานุกรม (Bibliographic control) เพื่อให้ สามารถรองรับการทำรายการ การตรวจสอบและควบคุม และการใช้รายการร่วมกัน (Copy & Shared catalog) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีค้นหาสหรายการบรรณานุกรม (Union catalog)
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis ได้ดังนี้
1. เข้าไปที่ http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx ค้นหาได้จากเขตข้อมูลที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN หัวเรื่อง คำสำคัญ Read the rest of this entry »
วันที่ 26 มกราคม 2559 เวลา 9.30-11.30 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ จำนวน 28 คน และเวลา 13.30-15.30 น. นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชั้นปีที่3 จำนวน 52 คน และคณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี สาขาการจัดการ สาขาการตลาด จำนวน 87 คน ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร
วิทยากรบรรยาย การส่งเสริมการเรียนรู้ แก่นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 สาขาโลจิสติกส์ การจัดการ และธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะแนะนำการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดผ่านระบบฐานข้อมูลห้องสมุด ตามสาขาวิชาของนักศึกษาแล้ว ยังได้มีการเน้นเรื่องการใช้ฐานข้อมูล ScienceDirect โดยแนะนำวิธีการสืบค้น การจำกัดการสืบค้น การดูผลการสืบค้น การดาวน์โหลดข้อมูล รวมทั้งการดึงข้อมูลในบทความมาใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น รูปภาพ สูตรสมการ เป็นต้น และการแนะนำการใช้เครื่องมือในการดึงข้อมูลทางรายการบรรณานุกรมของการอ้างอิงออกมาจากฐานข้อมูลด้วย ทั้งนี้ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลวิชาการเป็นอีก 2 ฐานข้อมูลที่นักศึกษาให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการสาธิตการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS และฐานข้อมูลงานวิจัย TNRR และได้มีการเน้นในการค้นหาวิทยานิพนธ์ของ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจากรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดที่ศูนย์บรรณสารฯ ให้บริการที่หน้าเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารฯ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th (1) โดยรวบรวมไว้ในรูปแบบของเอ็กเซล (2) และศูนย์บรรณสารฯ ได้อำนวยความสะดวกให้คลิกรายการวิทยานิพนธ์ที่้ต้องการและเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ ThaiLIS ได้ทันที (3) ก็จะสามารถคลิกดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มมาดูได้ทันที
ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์ มฉก. อย่างง่ายๆ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้เริ่มกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ให้แก่นักศึกษา มฉก. โดยในวันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร เป็นนักศึกษาสาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 25 คน พร้อมด้วยอาจารย์เจ้าของวิชา โดยทีมวิทยากรของศูนย์บรรณสารฯ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนกบริการ และหัวหน้าแผนกทรัพยากรเรียนรู้ Read the rest of this entry »