SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
มิถุนายน 8th, 2018 by jittiwan

ฐานข้อมูลที่มีการใช้ภาษาของเอกสารมาเป็นกรองในการสืบค้น เช่น ฐานข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น การที่จะดึงหรือกรองการสืบค้นด้วยภาษานั้น ในแต่ละระเบียนจึงต้องกำหนดรหัสภาษาไว้ในเขตข้อมูลที่ใช้ในการดึงรหัสภาษามาเป็นดรรชนีในการค้น ดังนั้น  การไม่ใส่รหัสภาษา จะส่งผลให้การค้นของระบบห้องสมุดที่สามารถกรองการค้นด้วยภาษาของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่สามารถประมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีการดึงรหัสภาษามาเป็นตัวกรองการสืบค้น แต่ผู้ใช้บริการ จะไม่ทราบแต่อย่างใดว่า มีข้อมูลรายการใดบ้างที่ไม่สามารถดึงออกมาได้ แต่ในส่วนการทำงาน (Staff) จะเห็นว่ามีรายการใดบ้าง ที่ขึ้นคำว่า No Linguistic content  และ Undetermined 

คำว่า No Linguistic content หมายถึง ไม่ได้มีการกำหนดรหัสภาษา

คำว่า Undetermined หมายถึง ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าเป็นภาษาใด

ที่มีคำทั้งสองนี้เกิดขึ้น เนื่องจากในระบบ WMS จะประมวลผลข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ถูกส่งเข้ามาในระบบ WorldCat นั้น ถ้าข้อมูลไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ ระบบจะแทนค่าด้วยคำดังกล่าว แล้วแต่ลักษณะที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งสองคำนี้จะทำให้ไม่สามารถดึงหรือกรองข้อมูลภาษาของระเบียนข้อมูลนี้ออกมาเป็นส่วนหนึ่งของการสืบค้นได้

Untitled1

ผลการสืบค้นที่ระบุว่ามีเอกสารเป็นภาษาใดบ้าง

Untitled2

เกิดคำว่า No Linguistic และ Undetermined พร้อมระบุจำนวนระเบียน

ดังนั้น จะต้องหาเขตข้อมูลที่ต้องใส่รหัสภาษา แต่ไม่ได้ใส่มาแก้ไข เช่น Tag 008

No Lingusitic content

color1

 

ตัวอย่าง การแสดงผลการใส่รหัสภาษาผิด ใน Tag 800

008

คลิกที่  Tag 800

0081

รหัสภาษาผิดก็จะปรากฎ ดังภาพ

0082

Undetermined

Untitled11

ตัวอย่าง การแสดงผลการใส่รหัสภาษาผิด

Untitled12

คลิกที่ Tag 800

Untitled13

รหัสภาษาผิดก็จะปรากฎ ดังภาพ

Untitled14

ดังนั้น ผู้รับผิดชอบ การลงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องหาเขตข้อมูลที่ต้องใส่รหัสภาษา แต่ ไม่ได้ใส่ นำมาแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศถูกต้องและส่งผลให้การสืบค้นข้อมูลมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa