SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การนำประสบการณ์ผู้ใช้ หรือ User Experience (UX) มาใช้ในห้องสมุด
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

แอนดี้ พรีสต์เนอร์ (Andy Priestner) ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวิจัยประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) สหราชอาณาจักร ได้บรรยายในหัวข้อ Libraries Are for Users: the Value and Application of UX Research and Design ในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564  จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

วิทยากร เน้นว่า ห้องสมุดมีไว้เพื่อผู้ใช้งาน แต่เดิมมักคิดที่จะสร้างหรือพัฒนาห้องสมุดจากมุมมองของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ละเลยการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด  และได้เสนอสิ่งที่ควรหยุดทำ และเริ่มทำ ได้แก่

หยุดทำ (Stop)

เริ่มทำ (Start)

1. ควรหยุดเดาว่าผู้ใช้ต้องการอะไร (speculating) 1. สื่อสารกับผู้ใช้ (Communicating with users)
2. ควรหยุดการประชุมที่ไม่จบสิ้น (holding endless meetings) 2. ลองค้นคว้าไปกับผู้ใช้ (Researching with users)
3. ควรหยุดทำสิ่งที่คิดเอาเอง สิ่งที่ห้องสมุดชอบ สิ่งที่อยากเห็นในห้องสมุด (Futher private and personal agendas) 3. ร่วมมือกับผู้ใช้ (Collaborating with users)
4. ควรหยุดออกแบบบริการโดยกันผู้ใช้งานออกไป (Devising services in isolation from users) 4. สร้างสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Co-creating with users) ให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นบริการต่างๆ ผ่านข้อมูล ผ่านไอเดีย หรือการมีปฏิสัมพันธ์กัน

เมื่อเก็บข้อมูลจากวิจัยผู้ใช้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีแล้ว ต้องมีการจัดการต่อ โดย

1. การทำแผนที่จัดกลุ่มความคิด (Affinity Mapping) เป็นการถอดข้อมูลทุกอย่างที่ได้จากผู้ใช้งาน  แยกตามหมวดหมู่

2. การระดมไอเดีย (Idea Generation)  ระดมไอเดีย ควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่พบ ควรเป็นไอเดียที่นำไปสู่วิธีการตอบสนองที่สร้างสรรค์ ไอเดียไหนที่คุ้มค่าที่จะสำรวจต่อไปก็ขึ้นเป็นต้นแบบ

3. การสร้างต้นแบบและการทำซ้ำ (Prototype & Iterate)  สร้างต้นแบบและทดลองการใช้กับผู้ใช้ ไม่มีทางสมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่แรก ต้องทำซ้ำ ปรับใหม่ แล้วทดลองใหม่

ศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10
ธ.ค. 25th, 2020 by chonticha

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10 ภายใต้การบริหารของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ซึ่งเป็นต้นแบบห้องสมุดแบบ Unmanned Library  โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม และทีมงาน เป็นผู้บรรยาย

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดตัว Chula UltimateX Library ห้องสมุดที่ให้บริการในรูปแบบ Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณชั้น 2 และชั้น M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)  เปิดให้บริการ วันจันทร์  –  วันศุกร์ เวลา 09.00 – 19.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น. และช่วงการสอบจะขยายเวลาจนถึง 21.00 น. ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ Read the rest of this entry »

บริการเชิงรุก ยุค COVID – 19 : การจองหนังสือออนไลน์
พ.ค. 14th, 2020 by rungtiwa

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS  ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง

ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย

เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

Circulation Dashboard ง่าย ๆ ใช้ให้เป็น ทำเป็น ใช้ข้อมูลเป็น
มี.ค. 27th, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ  WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน  และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports  ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้

รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board

จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19  ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้
Read the rest of this entry »

Just returned มุมเพลินๆ หนังสือเพิ่งมาคืน
ต.ค. 20th, 2019 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน

บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »

รู้จักวารสารวิชาการคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ
มิ.ย. 27th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ตีพิมพ์หรือผลิตวารสารทางวิชาการ เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นๆ โดยเป็นผลงานของคณาจารย์ของแต่ละคณะ หรือคณาจารย์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ส่งบทความมาลงและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประเมินบทความ (Peer review)

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีรวบรวมข้อมูลของวารสารคณะต่างๆ ไว้ที่ www.lib.hcu.ac.th  เพื่อสะดวกในการเข้าถึงวารสารชื่อต่างๆ ของแต่ละคณะ จึงขอแนะนำวารสารของคณะต่างๆ ดังนี้

วารสารวิชาการ มฉก. คณะต่างๆ

 

วารสาร มฉก. วิชาการ   HCU.Journal

  • เผยแพร่บทความวิจัย และบทความทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนจีนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเริ่มพิมพ์เผยแพร่ ตั้งแต่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2540 ถึงปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน วารสารนี้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) จัดอยู่ในวารสารกลุ่มที่ 1
  • กำหนดออก ปีละ 2 ฉบับ
  • ดูได้ที่   http://journal.hcu.ac.th/sand.htm

Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
เม.ย. 4th, 2019 by chonticha

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562  เวลา 10.00 -12.00 น. โดยศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และดูงานในส่วนของหอสมุด ซึ่งในส่วนของการดูงานหอสมุด นั้น มี ดร.อภิภู  สิทธิภูมิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการและพันธกิจพิเศษ เป็นผู้บรรยาย และนำชม


หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ

การให้บริการตอบคำถามออนไลน์

อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  www.li.mahidol.ac.th   Read the rest of this entry »

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มี.ค. 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

Read the rest of this entry »

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก.พ. 27th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

 

จากการฟังเสวนาในหัวข้อ “การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปได้ดังนี้

นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอดมามีบทบาทในการทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ไลน์แอดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดจึงได้นำไลน์แอด (Line@) มาใช้ในงานหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมี

  • คุณสมบัติที่ดีของไลน์แอดมาคือ
  1. One-on-One Chat
  2. Broadcast
  3. Reply mode
  4. Scheduled
  5. Rich Message
  6. Coupon & Promotion
  7. Poll & survey
  8. Popularity
  •  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. ติดตั้งแอปพลิเคชั่น
  2. กำหนดผู้ตอบคำถาม
  3. กำหนดแนวทางการให้บริการ
  4. ประชาสัมพันธ์
  •  บริการที่ใช้สำหรับงานบริการไลน์แอด
  1. บริการช่วยหาหนังสือที่หาไม่พบ
  2. บริการตอบคำถาม เช่น ถาม วันนี้ห้องสมุดปิดกี่โมง ตอบ เปิดให้บริการ 9 โมงเช้าถึง 21.00 น.
  3. ช่องทางประชาสัมพันธ์ เช่น ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานบริการของห้องสมุด ได้แก่ การแนะนำหนังสือใหม่ การแจ้งเวลาเปิด-ปิดบริการ การแจ้งตารางกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
  4. บริการรับ-ส่งหนังสือ ตามคณะที่แจ้งความประสงค์
  5. การนำไลน์แอดมาใช้กับกิจกรรมเชิงรุกของห้องสมุด
  • การนำไลน์แอดมาวิเคราะห์เกี่ยวกับงานห้องสมุด
  1. วิเคราะห์คำถามของไลน์แอดของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกับงานบริการห้องสมุด
  2. ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสอบถาม คือ เวลา 12.00 น. และ 16.00 น. ซึ่งคาดว่าผู้ใช้บริการว่างเว้นจากการเข้าชั้นเรียนจึงมีเวลาสอบถามข้อมูลและบริการกับงานห้องสมุด
  3. เวลาในการตอบกลับ ภายใน 5 นาที ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดการบริการที่ห้องสมุดกำหนดไว้ว่าจะต้องตอบกลับภายใน 30 นาที
  • การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไลน์แอด
  1. ความพอใจรวม อยู่ที่ 4.49
  2. ความรวดเร็ว 4.46
  3. ความรู้ความสามารถในการตอบข้อซักถาม 4.42

Read the rest of this entry »

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่

I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa