ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดเก็บงานวิจัยไว้เป็น Collection โดยเฉพาะ ซึ่งรวมงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากมีการปะปนงานวิจัยของหน่วยงานทั่วไป จัดเก็บที่ชั้นหนังสือทั่วไป จึงได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดเก็บงานวิจัยใหม่ โดยรวมถึงการลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากไม่สามารถทราบจำนวนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งหมด รวมทั้งการลงข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ และการจัดทำงานวิจัยเป็นดิจิทัลเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย
Pain Point: ไม่สามารถรวบรวมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ตามจำนวนงานวิจัยที่มี การจัดเก็บตัวเล่มปะปนกับงานวิจัยทั่วไป
การวิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนวทางการแก้ปัญหา:
ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาทบทวนการจัดทำคู่มือการลงรายการทางบรรณานุกรมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย และสามารถใช้กับงานวิจัยของหน่วยงานอื่นๆ ดังนี้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) ที่แจกฟรีเข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) โดยพิจารณาเนื้อหาที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน การเสริมทักษะ ความรู้ทั่วไป เพื่อต้องการให้ระบบห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นแหล่งรวมบรรณานุกรมจากทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายประเภท และสามารถสืบค้นได้จากที่เดียว จึงได้มีแนวคิดในการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการอ่านฟรี ดาวน์โหลดฟรี เข้าในระบบห้องสมุด และด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ เป็นการผลิตของหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเผยแพร่ฟรี หรือให้ดาวน์โหลดไปอ่านได้โดยเสรี และต้องเคารพในเรื่องลิขสิทธิ์และจำนวนในการเข้าถึง จึงใส่ link เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ๆ
ขั้นตอนการลงรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่แจกฟรี เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS
การลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการเดียวกับการลงรายการหนังสือฉบับพิมพ์ อาจจะมีบางเขตข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างไปบ้างตามลักษณะของการเป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์
Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่
กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »
การลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัตินั้น การลงรายละเอียดของสารบัญหนังสือก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ และสามารถใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นได้อีกด้วย โดยกำหนดการลงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เรียกว่า Tag 505 (Formatted Contents Note) : ข้อมูลจากหน้าสารบัญ
ลักษณะการลงข้อมูล สามารถลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วนก็ได้ ซึ่งบรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาในการลงข้อมูล เช่น หนังสือมีเนื้อหาสารบัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมาก ก็จะลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือ หนังสือบางเล่มเนื้อหาสารบัญมีข้อมูลที่แยกย่อยมากจนเกินไป และสามารถตัดข้อความออกได้ บรรณารักษ์ก็สามารถพิจารณาลงข้อมูลแบบลงบางส่วนได้ เป็นต้น
การลงข้อมูลในเขตนี้ ตามหลักเกณฑ์การลงรายการ MARC21 กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อเป็นการบอกลักษณะของสารบัญที่นำมาลง ดังนี้
Fist indicator
0 สารบัญสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
1 สารบัญไม่สมบูรณ์
2 สารบัญบางส่วน (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
Second indicator
– (เว้นว่าง) Basic (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
0 Enhance
การจัดเรียง Item ในส่วนของ LHRs ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ด้วยการปรับแต่ละ Item ที่สลับ ฉบับ (ฉ.), สลับเล่ม (ล.) หรือปี พ.ศ. อยู่ ให้เรียงตามลำดับตำแหน่งให้ถูกต้องตามความต้องการ ด้วยการใส่ ตัวเลขตามลำดับที่ต้องการให้เรียงใน Item ลำดับไหน โดยใส่ในส่วนของ Copy Number ดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง รายการ Item ที่ยังไม่เรียงตามปี พ.ศ.
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis) และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก. ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้
ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้
1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรม ในส่วนของ (LHRs) ของระบบ WorldShare Management Services-WMS
จากการที่ได้ทำการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือของระบบ WorldShare Management Services-WMS มาระยะหนึ่ง ซึ่งต้องลงรายการของบรรณานุกรมให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1. ส่วนของ Master หรือ Bibliographic Record 2. ส่วนของ LBD 3. ส่วนของ LHR
การลงรายการในส่วน LHR ให้ราบรื่นไม่สะดุด และต่อเนื่อง ไม่ต้องค้นหา Bib ชื่อหนังสือนั้นใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีการลง Items ในส่วนที่ 3 นี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดในการลง สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
ส่วนที่ 1. Master หรือ Bibliographic Record
ตัวอย่าง แสดงหน้าแรกของการสืบค้นจาก Bib Number 1012427386
เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้วให้คลิกไปที่ชื่อเรื่อง “อ่านหนัง (สือ) กัน 20 หนังโปรดในดวงใจ ของข้าพเจ้าตลอดกาล” ก็จะปรากฏดังรูป Read the rest of this entry »
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่ All WorldCat
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN
Search: ISBN = 9787301260456
รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search