SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การปรับกระบวนการและขั้นตอนการกำหนดเลขหมวดหมู่ Call number สำหรับสิ่งพิมพ์ มฉก.
มิ.ย. 28th, 2017 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ห้องสมุดได้รับไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือจัดหา (ทรัพยากรที่ได้เปล่า) ตลอดจนทรัพยากรที่ผลิตจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมีสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย  จากหลายแหล่ง เช่น ศูนย์สหกิจศึกษา และรายงานระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ  มีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรออกให้บริการล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของผู้ใช้  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เนื้อหาดังกล่าว  แผนกจัดหาฯ จึงมีมติจากที่ประชุมของแผนกให้มีการปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดหมวดหมู่ Call number ใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นแผนกจัดหาฯ จึงมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรที่เป็นรายงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ การวิจัย และการฝึกงานของนักศึกษา รวมทั้งงานวิจัยสถาบัน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ จะมีการปรับปรุงเลขหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยกำหนดขึ้นใช้เองเพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย มีเป้าหมายดังนี้ Read the rest of this entry »

กระเป๋า “Healthy Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”
มิ.ย. 27th, 2017 by sirinun

กระเป๋า " Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี"

กระเป๋า ” Health Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี”

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดบริการมุมหนังสือน่าอ่านของห้องสมุด (ชั้น4)  เป็นเสมือนมุมสุขภาพ ผ่าน กระเป๋า” Healthy books : อ่านเพื่อสุขภาพดี” ของ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) จากโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ “เครือข่ายสร้างปัญญา”

สำนักงานกองทุนสนันสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ได้ผลิตสื่อองค์ความรู้สุขภาวะหลากรูปแบบ อาทิ หนังสือ นิตยสาร วีซีดี มุ่งให้นำความรู้จากสื่อมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสุขภาวะ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ จึงจัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างปัญญา” ผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ เรียกว่า Healthy Book มอบให้กับห้องเครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ  สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ การป้องกันดีกว่าการรักษา เชิญมาหาความรู้ได้จาก หนังสือดีๆ เพื่อสุขภาพและหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีหนังสือการสร้างสุขภาพ เพิ่มเข้ามาให้บริการเป็นอย่างมากมายทำให้ผู้อ่านมาใช้บริการและยืมหนังสือเหล่านี้กลับไปอ่านกัน หรือไม่ก็จะนั่งอ่านในห้องสมุด ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันระหว่างผู้ใช้บริการกันเอง Read the rest of this entry »

การสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็ง
มิ.ย. 26th, 2017 by pisit

ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วัสดุและอุปกรณ์

  1. กระดาษปกเบอร์12  หรือกระดาษปกแข็งที่มีความหนา .05 นิ้ว
  2. ผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดมาก
  3. กาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. แผ่นพลาสติค
  7. ไม้กระดาน
  8. เครื่องอัดหนังสือ
  9. ไม้เนียน
  10. เครื่องตัดกระดาษ

Read the rest of this entry »

เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการแยกเอกสารวางบิลส่งให้กับทางกองคลัง
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การวางบิล เป็นเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยออกเพื่อให้กับทางร้านค้าในการจัดซื้อหนังสือ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ร้านค้าทราบถึงจำนวนเงินที่จะได้รับ และใช้เป็นเอกสารสำหรับการชำระเงิน

ปัญหาที่มักพบบ่อยในการแยกเอกสารวางบิล คือ ความผิดพลาดของการออกเอกสารของทางร้านค้า เช่น การกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา ไม่มีสำเนาของใบเสนอราคาและใบส่งของเพียงพอสำหรับใช้เก็บเป็นหลักฐาน ทำให้ทางศูนย์บรรณสารสนเทศต้องสูญเสียเงินในการถ่ายเอกสาร รวมไปถึงปัญหาการลืมส่งเอกสาร ส่งผลให้ร้านค้าได้รับเงินล่าช้า Read the rest of this entry »

การแสดงสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การแสดงผลด้วยกราฟ มักได้รับความนิยมมากกว่าการแสดงผลด้วยตาราง เพราะว่าการแสดงผลด้วยกราฟนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย  ดังนั้นกราฟจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดทำสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ แยกตามคณะ แผนก โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และนำมาบันทึกในตาราง เพื่อทำรายงานสรุปให้กับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟ เมื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นกว่าการนำเสนอแบบตาราง

ขั้นตอนของการทำกราฟ มีดังนี้

1.คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ เช่น ผู้เขียนจัดทำกราฟประเภทนี้เพื่อบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของแต่ละคณะ  แผนก

2.เลือกประเภทของกราฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น กราฟแทง กราฟเส้น และกราฟวงกลม ซึ่งกราฟแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต่างกัน กล่าวคือ Read the rest of this entry »

ความรู้สู่ชุมชน อีกหนึ่งบริการเชิงรุก (Proactive Service) ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 24th, 2017 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559

บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ

ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการปฏิบัติงานสารบรรณ
มิ.ย. 23rd, 2017 by pacharamon

ในฐานะที่ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ “งานสารบรรณ ขอบข่ายงานสารบรรณ มีเนื้องานมากมายหลากหลาย ผู้เขียน ขอเอ่ยถึงวิธีการปฏิบัติในส่วนงานที่ได้รับ คือ งานที่เกี่ยวกับงานเอกสาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การจัดพิมพ์ การรับ การส่ง

ความหมายของ “งานสารบรรณ” ทำให้สามารถเห็นถึงขั้นตอนและขอบข่ายของงานสารบรรณ ดังนี้

  • การจัดทำเอกสาร (พิจารณา-คิด-ร่าง เขียน ตรวจร่าง-พิมพ์ ทาน เสนอ-ลงนาม-สำเนา)
  • การส่ง (ตรวจสอบ-ลงทะเบียนส่ง-ลงวันเดือนปี-บรรจุซอง-นำส่งเอกสาร)
  • การรับ (ตรวจสอบ-ลงทะเบียนรับ-นำส่งแจกจ่าย)

ขั้นตอนการรับหนังสือ

  1. ตรวจสอบหนังสือที่รับเข้ามา ครบถ้วน สภาพเรียบร้อย
  2. เปิดซองเอกสารและตรวจเอกสาร
  3. จัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน เพื่อดำเนินการก่อนหลัง
  4. ประทับตราหน่วยงานรับหนังสือ
  5. ลงทะเบียนรับหนังสือ โดย ลงเลขรับเอกสาร วันที่รับเอกสาร เวลารับเอกสาร และลงชื่อผู้รับเอกสาร
  6. ส่งหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ขั้นตอนการส่งหนังสือ

  1. หน่วยงานเจ้าของเรื่องตรวจสอบความเรียบร้อย เช่น ผู้บังคับบัญชาลงนามเรียบร้อยแล้ว มีเอกสารที่ต้องแนบต้นเรื่องครบถ้วนเรียบร้อย
  2. ลงทะเบียนส่งหนังสือในสมุดทะเบียนหนังสือส่ง
  3. ลงเลขและวันเดือนปีในหนังสือที่จะส่งอออก และสำเนาคู่ฉบับให้ตรงกับเลขทะเบียนส่งและวันเดือนปีในทะเบียนหนังสือส่ง (ตามข้อ 2)
  4. บรรจุซอง ปิดผนึกและจ่าหน้าซองถึงหน่วยงานผู้รับ
  5. นำส่งให้เจ้าหน้าที่นำส่งเอกสาร ทางโทรสาร หรือ ทางไปรษณีย์ (ซึ่งแล้วแต่กรณี)

 

การแนะนำหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 23rd, 2017 by navapat

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ  ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น  ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง  จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ ตรวจรับ และตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือที่ส่งจากแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ คัดเลือกหนังสือ จัดทำบรรณนิทัศน์ และแสกนปกหนังสือ โดยแบ่งไปจัดแสดงที่ชั้น 1 จำนวน 2 รอบ รอบละ 15 วัน และหมุนเวียนนำขึ้นมาจัดแสดงที่ชั้น 3 และ ชั้น 4 ต่อไป
  3. ผู้รับผิดชอบ นำรายชื่อหนังสือขึ้นเฟสบุ๊คส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ
  4. หัวหน้าแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ นำรายชื่อหนังสือแนะนำขึ้นเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เดือนละ 1 ครั้ง
  5. ผู้รับผิดชอบแนะนำหนังสือเฉพาะกิจเป็นกรณีๆ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มอบหมายตามความเหมาะสม

รูป1                                                                                                     หนังสือแนะนำ

รูป 2                                                                                                   หนังสือแนะนำ

รูป3                                                                                        หนังสือแนะนำ

การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้

  1. รู้จักพิจารณาคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ
  2. รู้จักวิธีการสรุปประเด็นสำคัญและรู้จักวิธีการเขียนบรรณนิทัศน์
  3. มีความคิดริเริ่มในการจัดแสดงนิทรรศการหนังสือแนะนำ
  4. ทำให้ทราบว่าควรเขียนแนะนำอย่างไรเพื่อให้น่าสนใจ
การตรวจประเมินหลักสูตรคณะเทคนิคการแพทย์
มิ.ย. 23rd, 2017 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ  เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ

  1. มีระบบสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัย เหมาะสม ครอบคลุมทุกพื้นที่และพร้อมใช้ตลอดเวลา
  2. มีฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นทงเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพจากภายในและต่างประเทศที่ทันสมัย
  3. มีตำราหลัก หรือ e-book ในสาขาวิชาทางเทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยไม่ต่ำกว่าแขนงหรือกลุ่มวิชาละ 5 ชื่อเรื่อง และห้องสมุดมีเวลาให้บริการไม่น้อยกว่า 50 ชัวโมงต่อสัปดาห์

ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย

  • เคมีคลินิก
  • โลหิตวิทยาคลินิก
  • จุลทรรศร์ศาสตร์คลินิก
  • จุลชีววิทยากคลินิก
  • ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก
  • วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต/ธนาคารเลือด
  • ปรสิตวิทยา
  • หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชากลาง/วิชาศึกษาทั่วไปทางการแพทย์
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง

ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง

พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2

บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ

บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ

บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย

บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa