SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการปฏิบัติงานสารบรรณ
มิ.ย. 23rd, 2017 by pacharamon

ในฐานะที่ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ “งานสารบรรณ ขอบข่ายงานสารบรรณ มีเนื้องานมากมายหลากหลาย ผู้เขียน ขอเอ่ยถึงวิธีการปฏิบัติในส่วนงานที่ได้รับ คือ งานที่เกี่ยวกับงานเอกสาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การจัดพิมพ์ การรับ การส่ง

ความหมายของ “งานสารบรรณ” ทำให้สามารถเห็นถึงขั้นตอนและขอบข่ายของงานสารบรรณ ดังนี้

  • การจัดทำเอกสาร (พิจารณา-คิด-ร่าง เขียน ตรวจร่าง-พิมพ์ ทาน เสนอ-ลงนาม-สำเนา)
  • การส่ง (ตรวจสอบ-ลงทะเบียนส่ง-ลงวันเดือนปี-บรรจุซอง-นำส่งเอกสาร)
  • การรับ (ตรวจสอบ-ลงทะเบียนรับ-นำส่งแจกจ่าย)

ขั้นตอนการรับหนังสือ

  1. ตรวจสอบหนังสือที่รับเข้ามา ครบถ้วน สภาพเรียบร้อย
  2. เปิดซองเอกสารและตรวจเอกสาร
  3. จัดลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วน เพื่อดำเนินการก่อนหลัง
  4. ประทับตราหน่วยงานรับหนังสือ
  5. ลงทะเบียนรับหนังสือ โดย ลงเลขรับเอกสาร วันที่รับเอกสาร เวลารับเอกสาร และลงชื่อผู้รับเอกสาร
  6. ส่งหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ขั้นตอนการส่งหนังสือ

  1. หน่วยงานเจ้าของเรื่องตรวจสอบความเรียบร้อย เช่น ผู้บังคับบัญชาลงนามเรียบร้อยแล้ว มีเอกสารที่ต้องแนบต้นเรื่องครบถ้วนเรียบร้อย
  2. ลงทะเบียนส่งหนังสือในสมุดทะเบียนหนังสือส่ง
  3. ลงเลขและวันเดือนปีในหนังสือที่จะส่งอออก และสำเนาคู่ฉบับให้ตรงกับเลขทะเบียนส่งและวันเดือนปีในทะเบียนหนังสือส่ง (ตามข้อ 2)
  4. บรรจุซอง ปิดผนึกและจ่าหน้าซองถึงหน่วยงานผู้รับ
  5. นำส่งให้เจ้าหน้าที่นำส่งเอกสาร ทางโทรสาร หรือ ทางไปรษณีย์ (ซึ่งแล้วแต่กรณี)

 

การแนะนำหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 23rd, 2017 by navapat

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นมา ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้มีนโยบายการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นการให้บริการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดเรื่องการแนะนำหนังสือ ให้เกิดการหมุนเวียนการใช้หนังสือให้มากที่สุด และเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ใช้บริการ  ซึ่งผลจากการจัดแนะนำหนังสือ พบว่าผู้ใช้มีความสนใจ พึงพอใจ และหนังสือมีการยืมมากขึ้น  ผู้เขียนในฐานะผู้รับผิดชอบการแนะนำหนังสือคนหนึ่ง  จึงขอสรุปขั้นตอนการจัดทำหนังสือแนะนำ ของแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้

  1. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ ตรวจรับ และตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือที่ส่งจากแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
  2. ผู้รับผิดชอบจัดทำหนังสือแนะนำ คัดเลือกหนังสือ จัดทำบรรณนิทัศน์ และแสกนปกหนังสือ โดยแบ่งไปจัดแสดงที่ชั้น 1 จำนวน 2 รอบ รอบละ 15 วัน และหมุนเวียนนำขึ้นมาจัดแสดงที่ชั้น 3 และ ชั้น 4 ต่อไป
  3. ผู้รับผิดชอบ นำรายชื่อหนังสือขึ้นเฟสบุ๊คส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ
  4. หัวหน้าแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ นำรายชื่อหนังสือแนะนำขึ้นเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เดือนละ 1 ครั้ง
  5. ผู้รับผิดชอบแนะนำหนังสือเฉพาะกิจเป็นกรณีๆ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มอบหมายตามความเหมาะสม

รูป1                                                                                                     หนังสือแนะนำ

รูป 2                                                                                                   หนังสือแนะนำ

รูป3                                                                                        หนังสือแนะนำ

การทำกิจกรรมแนะนำหนังสือนี้ ทำให้บุคลากรในงานบริการสารสนเทศ ได้ประโยชน์ ดังนี้

  1. รู้จักพิจารณาคัดเลือกหนังสือที่น่าสนใจ
  2. รู้จักวิธีการสรุปประเด็นสำคัญและรู้จักวิธีการเขียนบรรณนิทัศน์
  3. มีความคิดริเริ่มในการจัดแสดงนิทรรศการหนังสือแนะนำ
  4. ทำให้ทราบว่าควรเขียนแนะนำอย่างไรเพื่อให้น่าสนใจ
การตรวจประเมินหลักสูตรคณะเทคนิคการแพทย์
มิ.ย. 23rd, 2017 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ  เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ

  1. มีระบบสืบค้นข้อมูลที่ทันสมัย เหมาะสม ครอบคลุมทุกพื้นที่และพร้อมใช้ตลอดเวลา
  2. มีฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นทงเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพจากภายในและต่างประเทศที่ทันสมัย
  3. มีตำราหลัก หรือ e-book ในสาขาวิชาทางเทคนิคการแพทย์ที่ทันสมัยไม่ต่ำกว่าแขนงหรือกลุ่มวิชาละ 5 ชื่อเรื่อง และห้องสมุดมีเวลาให้บริการไม่น้อยกว่า 50 ชัวโมงต่อสัปดาห์

ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย

  • เคมีคลินิก
  • โลหิตวิทยาคลินิก
  • จุลทรรศร์ศาสตร์คลินิก
  • จุลชีววิทยากคลินิก
  • ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก
  • วิทยาศาสตร์การบริการโลหิต/ธนาคารเลือด
  • ปรสิตวิทยา
  • หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชากลาง/วิชาศึกษาทั่วไปทางการแพทย์
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง

ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง

พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2

บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ

บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ

บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย

บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย

วิธีการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น
มิ.ย. 23rd, 2017 by chonticha

หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ

การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ  มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น

ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น

1

วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น  มีดังนี้

  1. จัดแยกประเภทของหนังสือ เช่น
  • หนังสือทั่วไปหมวด A – Z  ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • หนังสืออ้างอิง ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • งานวิจัย  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • วิทยานิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • ภาคนิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • นวนิยาย
  • เรื่องสั้น
  • หนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ  มุมคุณธรรม  มุม สสส.
  1. จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของเลขเรียกหนังสือ

การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

223หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

445ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

66

 

จาก บฝ. 1 ถึง บฝ. 2
มิ.ย. 22nd, 2017 by pacharamon

งานที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ คือ การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนาบุคลากร ที่ได้รับมอบหมายในการเข้าร่วมประชุม  สัมมนา อบรมดูงานหรือฝึกอบรม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

กรณีการเข้าร่วมประชุม / สัมมนา / ดูงานหรือฝึกอบรม ภายนอก หรือภายใน ที่มีค่าใช้จ่าย

1.รับบันทึกข้อความเชิญเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/ดูงานหรือฝึกอบรม จากหน่วยงานภายนอก โดยลงทะบียนรับเอกสารในสมุดทะเบียนรับ

2. นำเสนอผู้บังคับบัญชา(ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ให้บุคลากรที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องเข้าร่วม (ซึ่งแล้วแต่กิจกรรมนั้นๆ)

3. แจ้งบุคลากรที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมเพื่อรับทราบ พร้อมทั้ง จัดทำแบบแสดงความจำนงค์เข้าร่วมการประชุม / สัมมนา/ดูงานหรือฝึกอบรม (บฝ.1) Read the rest of this entry »

กระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือจากฐานข้อมูลก่อนการจัดซื้อ
มิ.ย. 22nd, 2017 by ladda

ขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือหรือสื่อต่างๆ จากฐานข้อมูลระบบ VTLS ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ซึ่งประโยชน์หลักๆ ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วในศูนย์บรรณสารฯและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบหนังสือและสื่อต่างๆ ดังนี้

  1. รับรายชื่อหนังสือที่มาจากแผนกจัดซื้อผ่านคณะสาขาวิชาต่างๆ มา
  2. ตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือและสื่อต่างๆ โดยสืบค้นจาก ชื่อหนังสือ และชื่อผู้แต่ง ว่ามีหนังสือชื่อหรือสื่อนี้หรือไม่ ถ้าหนังสือหรือสื่อชื่อนั้นมีหรือไม่มีอย่างไรในฐานข้อมูล
  3. แจ้งผลการดำเนินงานของหนังสือชื่อนั้นๆ ในใบแจ้งซื้อ มีหรือไม่มี ถ้ามีแล้ว มีจำนวนกี่เล่ม มีปี พ.ศ.ใด มีสถิติการยืมกี่ครั้ง
  4. เสนอส่งให้หัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ ตัดสินใจ และดำเนินตามขั้นตอนการจัดซื้อต่อไป

ดังรูปภาพนี้

ก่อนการพิจารณาตรวจสอบฐานข้อมูล (Before)

140586

วิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ

  1. ตรวจสอบจากชื่อเรื่อง เป็นการตรวจสอบฐานข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ Introduction to health and safety in construction ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีแล้วในห้องสมุด จำนวน 1 เล่มปีที่พิมพ์ 2016 ไม่มีสถิติการยืม/คืน หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
  2. ตรวจสอบจากชื่อผู้แต่ง เป็นการตรวจสอบฐานข้อมูล ด้วยชื่อบุคคล กลุ่ม นามปากกา หรือหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ เช่น ผู้แต่งชื่อ Stack, Theresa ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่มีในห้องสมุด ก็จะเขียนว่าคำ “ไม่มี” เมื่อตรวจฐานข้อมูลเรียบร้อย จึงนำเสนอส่งให้หัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ ดำเนินการต่อไป

ดังรูปภาพนี้

พิจารณาดำเนินการตรวจสอบแล้ว (After)

140593-2

 

วิธีติดต่อร้านหนังสือเพื่อจัดซื้อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 22nd, 2017 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่หลัก คือ การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ให้กับผู้ใช้บริการ และมีหน้าที่หลักอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญ  คือการจัดซื้อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดให้เนื้อหาตรงตามกับคณะที่เปิดสอน และตรงตามกับผู้ใช้บริการต้องการ

มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้คณะแต่ละคณะส่งรายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศตามที่คณาจารย์คัดเลือกส่งมายังห้องสมุดเพื่อทำการจัดซื้อ  เมื่อทางห้องสมุดได้รายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการจัดซื้อ จะตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ หากห้องสมุดยังไม่มีหนังสือและทรัพยาการสารสนเทศเล่มใด ก็จะดำเนินการสั่งซื้อ  โดยตรวจสอบว่าหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเล่มใดสามารถซื้อได้จากร้านค้าไหน เพื่อทำการติดต่อไปยังร้านค้าที่ขายหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งรายการหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศไปให้ทำการเสนอราคา Read the rest of this entry »

Something Nice for Your Mind ชอบ เล่มไหน หยิบยืม ได้เลย
มิ.ย. 22nd, 2017 by ปัญญา วงศ์จันทร์

การจัดแสดงหนังสือแนะนำ

Something nice for your mind

ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกโดยนำหนังสือมาจัดแสดงด้านหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ  โดยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้แนวคิดกับแผนกบริการสารสนเทศ ในการนำหนังสือจากการจัดซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair 2017) มาจัดแสดงทันที โดยลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ ให้พอเพียงกับที่จะออกให้บริการได้อย่างทันทีและรวดเร็ว หลังจากที่มาจัดแสดง มีการยืม และเมื่อมีการนำกลับมาคืนแล้ว จึงนำหนังสือเหล่านั้น ไปลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือตามมาตรฐานของการลงรายการอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากหนังสือที่ออกจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เหล่านี้ จะเป็นหนังสือออกใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดตัวในงานที่มีผู้คนจำนวนมากสนใจติดตามว่ามีหนังสือชื่อเรื่องใดบ้างที่จะออกมาในช่วงนี้ ถ้ามีการจัดซื้อมาแล้ว แต่รอกระบวนความครบถ้วนของการจัดการหนังสือตามระบบห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ ดังกล่าว อาจจะเป็นหนังสือเก่า ที่ไม่น่าติดตามแล้วแต่อย่างใด Read the rest of this entry »

หนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย
มิ.ย. 21st, 2017 by ladda

ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร  และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้

1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ

หลักการและเหตุผล

สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ.  ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »

การแปลงข้อมูลเป็นภาพ Infographic
มิ.ย. 21st, 2017 by Suvanrat Kraibutda

ในวันที่ 13 มิถุนายน 2560 ได้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Infographic ๑๐๑ แปลงข้อมูลเป็นภาพ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จึงขอนำความรู้ที่ได้ และเทคนิคเกี่ยวกับการออกแบบ Infograpic มาเผยแพร่ต่อ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจจะศึกษาในเรื่อง Infographic ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

Infographic หรือการแปลงข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ เป็นการจัดการข้อมูลเป็นการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการใช้รูปทรง และสีสัน เข้ามาอยู่ในข้อมูลรูปภาพ ทำให้ข้อมูลนั้นมีความน่าสนใจ และทำให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลที่เราอยากจะสื่อ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ข้อมูลที่เราสามารถค้นหาได้นั้นมีไม่น้อย แต่ข้อมูลนั้นมีมากจนเกินไป จนทำให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูล ข้อมูลไม่มีเนื้อหาสาระสำคัญ หรือบทสรุป เพราะไม่มีการจัดระเบียบเนื้อหาอย่างชัดเจน จึงทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจ และให้ความสนใจกับข้อมูลน้อยลง

ดังนั้นการแปลงข้อมูลเป็นภาพ หรือเรียกว่า Infographic จึงมีความน่าสนใจ และควรนำมาปรับใช้กับข้อมูลในปัจจุบัน เพื่อการสื่อสารที่ดีขึ้น ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และตรงประเด็นมากที่สุด ขั้นตอนการทำ Infographic มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1.2

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa