SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บทคัดย่อ:

การนำเด็กมาใช้แรงงานทั้งในงานภาคอุตสาหกรรม งานภาคบริการ และงานภาคเกษตรกรรมนั้น ก่อให้เกิดปัญหากับเด็กหลายประการ เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาขาดโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาอาชีพ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขและคุ้มครองแรงงานเด็กจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งบทความนี้จะเน้นเรื่องปัญหาสุขภาพอนามัยของแรงงานเด็กและความปลอดภัยในการทำาน ที่เกิดจากสิ่งคุกคามจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยอธิบายถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพของแรงงานเด็ก ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับแรงเด็ก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับกระดูก การเคลื่อนไหว ระบบกล้ามเนื้อ และด้านจิตใจ และปัญหาสุขภาพอนามัยของแรงงานเด็กที่เกิดจากสิ่งคุกคามและจากสภาพแวดล้อมในการทำาน ซึ่งมีหลายปัจจัยทั้งทางด้านเคมี กายภาพ ชีวภาพ และจิตวิทยาสังคม ส่งผลให้เด็กเกิดการเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน หรือเกิดโรคจากการทำงาาน รวมทั้งได้เสนอแนวทางสำหรับควบคุมอันตรายจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำงาน

พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2549). แรงงานเด็ก : ปัญหาสุขภาพอนามัยกับสิ่งคุกคามความปลอดภัยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 79-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ (Management of Rabies Control Program in Samutprakarn Province)

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงพรรณนาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างเดือนกันยายน 2547-กรกฎาคม 2548 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและของสำนังานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 4 คน ผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของสุนัข 44 คน และผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสุนัขจำนวน 16 คนที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทำการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร  และการสัมภาษณ์ด้วยแบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ ผลการิจัยพบว่าการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลางโดยมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดยาคุมกำเนิด ทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย และฉีดวัคซีน/อิมมูโนโกลบูลิน ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้สัมผัสโรค แต่กิจกรรมดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า การประชาสัมพันธ์และประสานงานการควบคุมโรคกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด แต่ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานส่วนกลาง มีการอบรมอาสาสมัครปศุสัตว์จำนวน 510 ราย (เกินเป้าหมาย) ปัญหาการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า คือ การฉีดวัคซีน การฉีดยาคุมกำเนิด และการทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย ในกลุ่มสุนัขที่ไม่มีเจ้าของต่ำกว่าเป้าหมาย กลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่เป็นเจ้าของมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าและการควบคุมโรค การปฏิบัติเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน ยาคุมกำเนิดและทำหมันสุนัขเพศผู้เพศเมีย สูงกว่ากลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ

กิตติภณ คล้ายเจ๊ก เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล และ วาชรัตน์ นันทเสน. (2549). การบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 52-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Survey and Situational Analysis for Health Promoting Activities in the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพในด้าน 1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพ (การเป็นผู้นำ) 3) สภาวะสุขภาพ และ 4) นโยบายการบริหารจัดการการดำเนินแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ให้เป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 500 คน อาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 30 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสาขาวิชา ชั้นปี และเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสถานการณ์สร้างเสริมสุขภาพและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้บริหารจำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ Read the rest of this entry »

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ

บทคัดย่อ:

พิบัติภัยในบทความนี้ หมายถึง ภัยที่นำความหายนะมาให้แก่มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ พิบัติภัยจากธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เราไม่อาจห้ามได้ เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขของธรรมชาติ แต่เราสามารถ เรียนรู้ ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ โดยไม่ยกพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึมานิ เป็นกรณีศึกาษา และพิบัติภัยจากมนุษย์ กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การประทุษร้ายร่างกาย การทารุณกรรม การฆาตกรรม จนถึงสงครามที่สร้างหายนะให้แก่ชีวิตและสังคมที่มิอาจประเมินค่าได้ ซึ่งในบทความนี้ มุ่งอธิบายพิบัติภัยจากธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยใช้กรอบแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการอธิบาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ ความหมาย ประเภท มูลเหตุ และผลกระทบของพิบัติภัย ตลอดจนกระทั่งยุทธศาสตร์ในการเตรียมรับอย่างมีสติ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การตั้งรับอย่างมีสติ และการก้าวต่อไป ไม่ยอมแพ้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านได้หลักการในการเตรียมรับกับพิบัติทั้ง 2 ประเภท อย่างมีสติซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียลงหรืออาจไม่ต้องสูญเสียอะไรเลยก็เป็นได้

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2548). พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 64-78.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ

บทคัดย่อ:

ISO22000 ระบบมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นระบบมาตรฐานสากลกลางที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 23 ประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย รวมทั้งตัวแทนองค์กรจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Codex Alimentarius Commission, FAO (Food and agriculute Organization) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งครอบคลุมทุกองค์กรในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตชั้นต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคชั้นสุดท้าย (Final Consumer) ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ปัจจุบันมาตรฐานนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว และประกาศใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ไม่ถูกกีดกัน สามารถขายได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นครัวของโลกต่อไป บทความนี้นำเสนอ สาเหตุที่ต้องจัดทำระบบมาตรฐานระบบการรับรองคุณภาพอาหาร มาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ประกอบการอาหารควรรู้จัก ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ISO22000 และรายละเอียดข้อกำหนด ประโยชน์ของระบบ ISO22000

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2548). ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 54-63.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ควอนตัมคอมพิวเตอร์
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

ควอนตัมคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ:

จากหลักแห่งความไม่แน่นอนของเวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) และอัลกอริทึมของปีเตอร์ ชอร์ (Peter Shor) ได้นำมาสู่การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีตัวคิวบิต (qubit) หรือควอนตัมบิตเป็นหน่วยแสดผลข้อมูลได้สามสถานะ คือ “0” หรือ “1” หรือ “0,1” ได้พร้อมกันในคราวเดียว โดยที่สถานะการแสดงผลแบบ “0.1” นี้เรียกในทางฟิสิกส์ว่า “superposition state” ขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่่วไปแสดงผลข้อมูลเป็นบิต (bit) ได้เพียงสองสถานะคือ “0” หรือ “1” ส่งผลให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีศักยภาพในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อันมีประโยชน์ในการคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและการเข้ารหัสลับ (encryption) เป็นต้น หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของควอนตัมคอมพิวเตอร์ คือ gate operation และ ion traps ซึ่งเหมือนกับการกระทำพื้นฐานทางตรรกศาสตร์ในการสร้างเกทรูปแบบต่างๆ เช่น AND gate OR gate และ XOR gate เป็นต้น พัฒนาการของควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2548). ควอนตัมคอมพิวเตอร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 46-53.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Creating Pattern Practice for Thai ก Clusters for Huachiew Chalermprakiet University Students

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดเพื่อการสื่อสาร ภาคการศึกษา 1/2547 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าโปรแกรมการอ่านออกเสียงตามแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำที่สร้างขึ้นจำนวน 25 แบบฝึก โดยทำการฝึกในเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/ครั้ง/สัปดาห์ และฝึกนอกเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/คร้้ง/สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 13 สัปดาห์ แล้วทำการวัดผลด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงควบกล้ำที่ได้ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึก 72.7 เป็น 95.2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 บ่งชี้ว่าโปรแกรมการฝึกและฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำนี้มีประสิทธิภาพที่จำนำไปใช้กับนักศึกษาได้ต่อไป

ปราโมทย์ ชูเดช. (2548). การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 36-45.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษารูปแบบการสอนกระบวนการพยาบาลที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 29th, 2016 by rungtiwa

การศึกษารูปแบบการสอนกระบวนการพยาบาลที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

A Study of the Methods of Nursing Process Teaching Through Critical Thinking Procedures and Assessment of Decision – Making Ability of HCU Nursing Students

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบวนการพยาบาลระหว่างนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนแบบปกติและการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่กำลังศึกษาวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 66 คน ซึ่งได้จากการแบ่งนักศึกษาในชั้นเรียนตามผลการเรียน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากแต่ละกลุ่มผลการเรียน เป็นกลุ่มควบคุม 33 คน กลุ่มทดลอง 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนกระบวนการพยาบาลที่เป็นการสอนแบบปกติและแผนการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกระบวนการพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-tes) ผลการศึกษาพบว่า Read the rest of this entry »

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง

บทคัดย่อ:

แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป

พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

An Evaluation of General Education Curriculum, Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีปีพุทธศักราช 2542 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 329 คน อาจารย์ประจำผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 50 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 105 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบคือ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่่วไป คุณลักษณะนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต และการสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ได้ผลการประเมิน ดังนี้ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa