SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์
มี.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์

บทคัดย่อ

กีฬาจัดเป็นสันทนาการประการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิตและสังคม โดยมีปรัชญาพื้นฐานสำคัญคือการทำคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา บุคลิกภาพและสังคม แต่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นกับวงการกีฬามากมาย ปัญหาที่ว่านี้คือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมด เช่น ผู้แข่งขัน ผู้ตัดสิน ผู้ชมการแข่งขัน ผู้สนับสนุน และปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการพนันที่เข้าไปทำลายสารัตถะของการกีฬาและก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เมื่อวิเคราะห์ตามหลักพุทธจริยศาสตร์จะได้คำตอบที่ว่า ปัญหานี้เกิดจากความบกพร่องทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการแก้ไขปัญหานี้จึงอยู่ที่การหาวิธีการปลูกจิตสำนึกเชิงจริยธรรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งหมดให้เป็นไปตามปรัชญาของการกีฬาที่ว่า “แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน”

ธีรโชติ เกิดแก้ว.  (2546). จริยศาสตร์เพื่อการกีฬา : การปรับความสมดุลของมนุษย์. วารสาร มฉก.วิชาการ 7 (13), 72-82.

ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้

บทคัดย่อ:

ประเพณีรับบัวหรือโยนบัวเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านานและมีสาระน่ารู้หลายเรื่อง เช่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิทัศน์เกี่ยวกับท้องที่ คติชนวิทยา เรื่องเล่าที่ทรงคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่รู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประเพณีที่งดงาม วิถีชีวิตทางจริยธรรมที่เอื้ออาทรต่อกันของคนในอดีต โดยเฉพาะปรัชญาธรรมจากดอกบัว ดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนาที่เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสาระที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา หมายถึง ศาสนาที่มุ่งให้ศาสนิกใช้ปัญญาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา มิใช่ใช้แต่ศรัทธาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้คนไม่เข้าใจถึงความเป็นมา ความหมาย วิธีการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่แท้จริงของเรื่องนั้นๆ จะกลายเป็นการปฏิบัติตามๆ กัน โดยปราศจากความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง กลายเป็นการสืบสานกันแบบมือบอดที่นับวันจะทำให้สาระสำคัญหรือเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาเลือนหายไป

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2548). ประเพณีรับบัวที่วัดบางพลีใหญ่ใน : สารัตถะที่ชาวพุทธต้องเรียนรู้. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 84-99.

อ่านบทความฉบับเต็ม

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม

บทคัดย่อ:

สัปปายะเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมแสวงหา เพราะเป็นเรื่องที่เอื้อให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผลได้ง่ายขึ้น หลักการนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดระเบียบครอบครัว สถาบัน องค์กร และส้งคมได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นหลักที่พูดถึงความเหมาะสมหรือความสมดุลของที่อยู่อาศัย ทำเลที่ประกอบอาชีพ การพูดจา บุคคลที่ควรคบหา การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สภาพภูมิอากาศหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และการบริหารร่างกายอย่างถูกต้องเหมาะสมอันเป็นปัจจัยสนับสนุนคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากจะส่งผลดีต่อบุคคลและครอบครัวแล้ว ยังส่งผลดีต่อประเทศชาติและธรรมชาติอื่นๆ ด้วย

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2547). สัปปายะ 7 : หลักการจัดระเบียบเพื่อความสมดุลของครอบครัว/สังคม. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (15), 80-92.

อ่านบทความฉบับเต็ม

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ

บทคัดย่อ:

พิบัติภัยในบทความนี้ หมายถึง ภัยที่นำความหายนะมาให้แก่มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ พิบัติภัยจากธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เราไม่อาจห้ามได้ เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขของธรรมชาติ แต่เราสามารถ เรียนรู้ ป้องกัน และหลีกเลี่ยงได้ โดยไม่ยกพิบัติภัยจากคลื่นยักษ์สึมานิ เป็นกรณีศึกาษา และพิบัติภัยจากมนุษย์ กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การประทุษร้ายร่างกาย การทารุณกรรม การฆาตกรรม จนถึงสงครามที่สร้างหายนะให้แก่ชีวิตและสังคมที่มิอาจประเมินค่าได้ ซึ่งในบทความนี้ มุ่งอธิบายพิบัติภัยจากธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยใช้กรอบแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการอธิบาย เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ ความหมาย ประเภท มูลเหตุ และผลกระทบของพิบัติภัย ตลอดจนกระทั่งยุทธศาสตร์ในการเตรียมรับอย่างมีสติ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การตั้งรับอย่างมีสติ และการก้าวต่อไป ไม่ยอมแพ้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านได้หลักการในการเตรียมรับกับพิบัติทั้ง 2 ประเภท อย่างมีสติซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียลงหรืออาจไม่ต้องสูญเสียอะไรเลยก็เป็นได้

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2548). พิบัติภัย : เรื่องที่ควรเรียนรู้และเตรียมตัวรับอย่างมีสติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 64-78.

อ่านบทความฉบับเต็ม

โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว

Bodhi Tree from Bodh Gaya to Huachiew

บทคัดย่อ:

โพธิ์เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกันกับโพ ชาวพุทธถือว่าโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในขณะที่ตรัสรู้ชาวไทยพุทธนิยมนำโพธิ์สายพันธุ์พุทธคยามาปลูกไว้ตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ต้นโพธิ์ยังเข้ามา
เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมไทยในหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเอาต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และสร้างประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อว่าพระบรมโพธิสมภาร อันสื่อถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังแสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา คือ ความรุ่งเรืองทางปัญญาและคุณธรรมของเยาวชนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตามรอยโพธิญาณของพระพุทธเจ้าภายใต้ปรัชญาธรรมอันสูงส่งที่ว่า เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นแม่บทของการใช้องค์ความรู้และการดำเนินชีวิตตามปฏิปทาธรรมของหลวงปู่ไต้ฮงที่ยึดแนวพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงส่งพระสาวกไปทำงานให้พระศาสนา คือ การอนุเคราะห์ชาวโลกให้ได้รับประโยชน์และความสุข ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความบริสุทธิ์แห่งจิต และกรุณาที่แสดงออกมาในรูปของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก

Bodhi Tree is a species of fig in the same family (Moraceae) as the Bo-Tree. This plant is considered sacred by the followers of Buddhism because Siddhartha Gautama is refered to have been sitting underneath a Bo-Tree when he was enlightened (Bodhi). Bodhi Trees has been involved in many aspects of Thai ways of life. Thai Buddhists usually plant the “Bodh Gaya” Bodhi Trees in the temples to remind themselves of Lord Buddha’s enlightenment. Huachiew Chalermprakiet University has also declared this tree as its official symbol. The university was established with the placement of “Phra Borom Bodhi Somparn” or “Golden Bodhi Tree” sculpture to represent the Royalty and gratitude of the Huachiew Chalermprakiet University founders. The sculpture signifies the university’s academic goals — the dawning light of the knowledge and the morals of the students. Following Lord Buddha’s teaching, the university has set its motto as “Learning to Serve Society”, meaning that the students should apply their knowledge to help other people in the society as demonstrated when the disciple monks were dispatched to explain the dharma to the populace. As a conclusion, the Bhodi Tree is a symbol of wisdom, purity, and kindness as reflected in the society-serving deeds.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 69-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa