SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มีนาคม 3rd, 2016 by rungtiwa

การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Survey and Situational Analysis for Health Promoting Activities in the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพในด้าน 1) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพ (การเป็นผู้นำ) 3) สภาวะสุขภาพ และ 4) นโยบายการบริหารจัดการการดำเนินแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ให้เป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 500 คน อาจารย์และเจ้าหน้าที่จำนวน 30 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสาขาวิชา ชั้นปี และเพศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสถานการณ์สร้างเสริมสุขภาพและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกต่อผู้บริหารจำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความถี่ในการบริโภคอาหารที่สร้างเสริมสุขภาพ และอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพในระดับบางวัน อาจารย์และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความถี่ในการบริโภคอาหารที่สร้างเสริมสุขภาพในระดับบ่อยคร้้งและบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพในระดับนานๆ ครั้ง นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นักศึกษามีความเครียดในระดับปานกลาง ในขณะที่อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีความเครียดในระดับต่ำ นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและสุขภาพฟันประจำปี ส่วนอาจารย์และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ตรวจสุขภาพ และสุขภาพฟันเป็นประจำทุกปี สำหรับกรณีการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนรู้จากรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในระดับปริญญาตรีเรียนรู้จากการสอดแทรกเนื้อหาในบางวิชา ในระดับปริญญาโทเรียนรู้ผ่านสื่อหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง บทบาทและผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาอาจารย์และเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ความสนใจในการสร้างเสริมสุขภาพทั้งการพัฒนาตนเอง และความมุ่งหวังที่จะเป็นนักวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง สถานการณ์ด้านนโยบายการบริหารจัดการตามแผนของ สอส.พบว่ามีนโยบายแต่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ดำเนินการโดยการปรับนโยบายของ สอส. เข้าสู่โครงสร้างการบริหารจัดการปกติของคณะและมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จตามนโยบาย คือ บุคลากรและการบริหารจัดการ ข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการพัฒนาแผนงาน สอส. คือ ลักษณะงานของ สอส. โครงสร้างการบริหารจัดการ นักศึกษาและบุคลากร

This report was aimed to survey and analyze 1) health-promoting behaviors 2) experiences (leadership) in health-promotion 3) health status and 4) policy management of health-promoting institution plan among personnel and students of the Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University (HCU). Data were collected from 30 academic /non-academic staff members and 500 students (public health) by using health-promoting questionnaires. In the study of policy management, 5 administrators of the faculty were deeply interviewed according to instructed questions. Statistics used in this study were frequency and percentage.
It was shown that frequencies to consume health-promoting foods and high risk foods of most students were found once in 1-3 days. In case of staffs, most of them consumed health-promoting foods once in 1-3 days and consumed high risk foods occasionally. Almost staffs and students exhibited no smoking, no drinking and irregular exercises. Degree of stress of most students was found to be moderate, whereas stress level of staffs was relatively low. For activities in check up of physical and dental health, most staffs had done annually, whereas most students did not. Regarding to knowledge in health promotion, most students got from health promoting courses. In cases of staffs, in the graduate level got from regular class of public health, whereas in the post-graduate personnel learned by themselves via a variety of media. Health promoting activities of most staffs and students were exhibited to be low, and their attention in health promotion was observed to be moderate. In case of management of health-promoting institution policy, there were such policies and plans in the Faculty of Public and Environmental Health (HCU), but they were not stated specifically and recorded clearly. For policy management, it was implemented by integrating into regular administrative plan, in which responsibilities were assigned to specified personnel. It was found that two major factors predicting the success of this project were management and human resource. In addition, main obstacles and limitation were administrative structure, staffs and students participation.

ตวงพร กตัญญุตานนท์. (2549). การสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 31-51.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa