SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ในภาษาจีนกลาง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting the HCU Chinese Major and Traditional Chinese Medicine Students’ Productions of the Chinese Consonant sounds, Vowel, and Tones

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ของนักศึกษา เพื่อให้ผู้สอนได้เข้าใจถึงปัจจัยและสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้นักศึกษาออกเสียงผิดและเพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น Read the rest of this entry »

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี

The Guidelines for Potential Development of Chanthaburi Mangosteen Cluster

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน และศึกษาศักยภาพของเครือข่าย ตลอดจนเสนอแนะเชิงนโยบายในแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้แทนที่มาจากคณะกรรมการบริหารเครือข่าย สมาชิก ภาครัฐและเอกชน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย สรุปได้ว่า เครือข่ายมีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเครือข่ายมีศักยภาพมากในเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น คุณภาพและเอกลักษณ์ของมังคุดในเครือข่ายเมื่อเทียบกับคู่แข่ง การแข่งขันจากผู้ผลิตภายนอก เป็นต้น แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่าย เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำสวนมังคุดนอกฤดู สร้างกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าในการส่งออก เป็นต้น

The objectives of this research are to study the cluster’s strengths, weaknesses, opportunities, threats, and the guidelines to solve problem of the cluster, study the cluster’s potentials, and suggest the guidelines for potential development of the cluster. Purposive sampling was used in this research. The samples were selected from the cluster’s committee representatives, the cluster’s members, and the related government and private sectors. The research tools include questionnaire and interview guides. The findings revealed that the cluster has the strengths, the weaknesses, the opportunities, and the threats. The cluster’s had the potentials at the high level in the bountiful resources, the quality and the identity of the cluster’s mangosteen when compared with competitors, and the competition of external producers. The guidelines for potential development of the cluster inferred that the cluster should increase the production efficiency, develop off – season production technique for mangosteen, and make strategies to increase export values.

ธิดารัตน์ โชคสุชาติ และ ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายมังคุดจันทบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (28), 85-96.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Nutritional Status and 3E’s Behavior of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะโภชนาการและศึกษาพฤติกรรม 3 อ. ประกอบด้วยการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม 3 อ. กับภาวะโภชนาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 350 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดค่าดัชนีมวลกาย และวัดเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไค-สแควร์ Read the rest of this entry »

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”

《论泰国华文长篇小说》

 

ศศิวิมล เรียนทับ 陆碧霞. (2554). การวิเคราะห์เรื่อง “นวนิยายเรื่องยาวภาษาจีนในประเทศไทย”. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (28), 41-65.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน
ก.พ. 24th, 2016 by rungtiwa

ผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึก และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพของหอผู้ป่วยใน

The Effectiveness of Using Developed Nursing Documentation on Nursing Documentation Quality and Professional Nurses’ Satisfaction in In-patient Department

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านคุณภาพการบันทึกของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน และ (2) ศึกษาผลของการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลด้านความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น 4 แบบ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ (2) แบบบันทึกการวางแผนการพยาบาล (3) แบบบันทึกความก้าวหน้าของผู้ป่วย และ (4) แบบบันทึกการวางแผนและการสรุปการจำหน่าย ผู้ป่วย 2) คู่มือการบันทึกทางการพยาบาล 3) แบบตรวจสอบการบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจผ่านการทดสอบความเที่ยงได้ค่า = 0.89 การทดลองใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือนในหอผู้ป่วยใน 5 หอผู้ป่วย วัดผลคุณภาพการบันทึกและความพึงพอใจต่อแบบบันทึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เวลาในการบันทึก 2) ความสะดวกในการใช้แบบบันทึก และ 3) ประโยชน์ต่อการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของคุณภาพการบันทึกด้วยสถิติindependent t – test เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจด้วยสถิติpaired t – test  Read the rest of this entry »

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Rehabilitation of Elders with Dementia

บทคัดย่อ:

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น และมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิด และการตัดสินใจ แต่ไม่มีการสูญเสียระดับความรู้สึกตัว อาการของภาวะสมองเสื่อมจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ จากระยะเริ่มแรกที่มีอาการเล็กน้อย เป็นระยะกลางที่มีอาการระดับปานกลาง และต่อมาเป็นระยะสุดท้ายซึ่งมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงมาก ในผู้สูงอายุไทย สามารถประเมินภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นได้จากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ (Activity of Daily Living Index) และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini–Mental State Examination – Thai) การศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการ Read the rest of this entry »

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ

Garlic and Antioxidation

บทคัดย่อ:

อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะชราและโรคต่างๆ ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การอักเสบ และโรคมะเร็ง S-allylcysteine (SAC) และ S-allylmercaptocysteine (SAMC) เป็นสารเคมีหลักที่พบในกระเทียม มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดชั้นในถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ออกฤทธิ์โดยจับกับอนุมูลอิสระหรือเพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ได้แก่ ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) คะตะเลส (catalase) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase) และกลูตาไธโอน (glutathione) นอกจากนี้อนุมูลอิสระรวมทั้งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และ TNF-α ยังมีผลกระตุ้น nuclear factor kappa B (NF-κB) ซึ่งเป็น transcription factor ทำให้มีการสร้าง adhesion molecules คือ VCAMP-1 และ ICAMP-1 เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ ที่ผนังหลอดเลือด ในที่สุด จะเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและ
การตายของเซลล์ SAC และ SAMC สามารถยับยั้งขบวนการดังกล่าวได้โดยไปลดการสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือลดการหลั่ง TNF-α และยังไปมีผลยับยั้ง activator protein-1(AP-1) และ c-Jun N-terminal kinases (JNKs) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน จึงทำให้การสร้าง NF-κB ลดลง ดังนั้น กระเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันผลเสียจากอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

Free radicals are a major cause of aging and diseases, including cardiovascular,neurodegeneration and inflammatory diseases and cancer. S-allylcysteine (SAC) and S-allylmercaptocysteine (SAMC), the major compounds of garlic, are well known as playing an antioxidant action by scavenging reactive oxygen species (ROS), enhance activities of superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase and glutathione in the cells. These mechanisms can prevent endothelial cells from injury by oxidized molecules which lead to atherosclerosis. Nuclear factor kappa B (NF-κB) is transcription factor activated by free radicals, hydrogen peroxide (H2O2) and TNF-α. Activation of NF-κB contributes to the expression of adhesion molecules such as VCAMP-1 and ICAMP-1. These events further accelerate the formation of atherogenic lesions and cell death. SAC and SAMC suppression of H2O2 production or decreased secreted TNF-α, and inhibit AP-1 and c-Jun N-terminal kinases (JNKs) that regulate protein synthesis, lead to reduce NF-κB. These data suggest that garlic and its main compounds, SAC and SAMC may be useful for the prevention of the effects of free radicals and atherosclerosis.

จันเพ็ญ บางสำรวจ. (2553). กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 113-122.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย

Asian Economic Community : Importance and Thai Preparations

บทคัดย่อ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน และมีเป้าหมาย คือ 1) ตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมอย่างดีของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในภาคเอกชนที่คงต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถ เช่น การเร่งพัฒนาตราสินค้า การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของไทย ส่วนภาครัฐก็ควรทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Read the rest of this entry »

โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว

Bodhi Tree from Bodh Gaya to Huachiew

บทคัดย่อ:

โพธิ์เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกันกับโพ ชาวพุทธถือว่าโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในขณะที่ตรัสรู้ชาวไทยพุทธนิยมนำโพธิ์สายพันธุ์พุทธคยามาปลูกไว้ตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ต้นโพธิ์ยังเข้ามา
เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมไทยในหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเอาต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และสร้างประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อว่าพระบรมโพธิสมภาร อันสื่อถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังแสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา คือ ความรุ่งเรืองทางปัญญาและคุณธรรมของเยาวชนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตามรอยโพธิญาณของพระพุทธเจ้าภายใต้ปรัชญาธรรมอันสูงส่งที่ว่า เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นแม่บทของการใช้องค์ความรู้และการดำเนินชีวิตตามปฏิปทาธรรมของหลวงปู่ไต้ฮงที่ยึดแนวพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงส่งพระสาวกไปทำงานให้พระศาสนา คือ การอนุเคราะห์ชาวโลกให้ได้รับประโยชน์และความสุข ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความบริสุทธิ์แห่งจิต และกรุณาที่แสดงออกมาในรูปของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก

Bodhi Tree is a species of fig in the same family (Moraceae) as the Bo-Tree. This plant is considered sacred by the followers of Buddhism because Siddhartha Gautama is refered to have been sitting underneath a Bo-Tree when he was enlightened (Bodhi). Bodhi Trees has been involved in many aspects of Thai ways of life. Thai Buddhists usually plant the “Bodh Gaya” Bodhi Trees in the temples to remind themselves of Lord Buddha’s enlightenment. Huachiew Chalermprakiet University has also declared this tree as its official symbol. The university was established with the placement of “Phra Borom Bodhi Somparn” or “Golden Bodhi Tree” sculpture to represent the Royalty and gratitude of the Huachiew Chalermprakiet University founders. The sculpture signifies the university’s academic goals — the dawning light of the knowledge and the morals of the students. Following Lord Buddha’s teaching, the university has set its motto as “Learning to Serve Society”, meaning that the students should apply their knowledge to help other people in the society as demonstrated when the disciple monks were dispatched to explain the dharma to the populace. As a conclusion, the Bhodi Tree is a symbol of wisdom, purity, and kindness as reflected in the society-serving deeds.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 69-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน

Factors Related to the Non-Using Medical Services of Insured Persons

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วยในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์ และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักและมารับบริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา ด้วยโรคที่สามารถรักษาได้ที่สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 384 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 4 ชุด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.78, 0.80, 0.76 และ 0.82 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-44 ปี สถานภาพสมรส (คู่) พักอาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท รับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิก ไม่ได้ไปรับบริการจากที่อื่นก่อนมารับบริการในครั้งนี้ และทราบว่า ถ้าเลือกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลหลักแล้ว สามารถไปใช้บริการสถานพยาบาลเครือข่ายได้ผู้รับบริการทราบข้อมูลสถานพยาบาลเครือข่ายจากบริษัท/หน่วยงานที่ทำงานอยู่ ช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 17.00 – 22.00 น. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ที่พักอาศัยระดับการศึกษา รายได้ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่ายโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
The objectives of this study were to study factors related to the non-using medical services at network hospitals of insured persons registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital with the relationship of relevant factors. The studied factors included the personal factor, the perception of illness and the illness evaluation prior to the medical service acceptation, the perceiving of the right factor of assertion under the network hospitals, the factor of attitude towards the network hospitals and the medical service quality. A total of 384 insured persons with mild and moderate illnesses who have registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital were studied from March to August 2007. Four questionnaires were used by the interviewers as the research tools with reliabilities of 0.78, 0.80, 0.76 and 0.82 respectively.

Results showed that the majority of participants were female with married status. Their ages range from 30 to 44 years. Their residences were mostly located in Sriracha District, Chonburi province. Most of them finished high school level, and the average income is 5,001-10,000 bath per month. The illnesses, symptoms and abnormalities of the samples were confirmed by clinical checking. No other medical checking was made before receiving this medical service. The samples have know that they could receive the medical services from any other network hospitals under the condition of selecting the Queen Savang Vadhana Memorial Hospital as the main contractor. They learned the information of network hospitals from their current working companies. The most convenient time for receiving the medical services was 5.00-10.00 p.m.The analysis of relationship between sex, age, marital status, residence, education background and income found no association with non-using medical services at network hospitals. However, the illness perception, the illness evaluation, the perceiving of the right factors of assertion under the network hospitals and the factors of attitude towards network hospitals were found significantly relating to non-using medical services at α = 0.05. The overall medical service quality of the network hospitals was found fair.

กันต์กนิษฐ์ ชูวงศ์อภิชาต และ เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 37-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa