SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
กุมภาพันธ์ 21st, 2016 by rungtiwa

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Rehabilitation of Elders with Dementia

บทคัดย่อ:

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น และมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิด และการตัดสินใจ แต่ไม่มีการสูญเสียระดับความรู้สึกตัว อาการของภาวะสมองเสื่อมจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ จากระยะเริ่มแรกที่มีอาการเล็กน้อย เป็นระยะกลางที่มีอาการระดับปานกลาง และต่อมาเป็นระยะสุดท้ายซึ่งมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงมาก ในผู้สูงอายุไทย สามารถประเมินภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นได้จากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ (Activity of Daily Living Index) และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini–Mental State Examination – Thai) การศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและพบว่า การบำบัดด้วยการรับรู้ตามความเป็นจริง (reality orientation therapy; ROT) และการบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (cognitive stimulation therapy; CST) แก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านการรู้คิด (cognitive ability) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ การบำบัดด้วยวิธีการเหล่านี้เป็นการฟื้นฟูสภาพ
และป้องกันสมองเสื่อมมากขึ้น ซึ่งจะได้ผลดีสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ควรมีการประยุกต์หลักการของการบำบัดเหล่านี้ในการดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับครอบครัวชุมชน องค์กรต่าง ๆ และสถานบริการสุขภาพ และควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูภาวะสมองเสื่อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุไทย และมีความเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมต่างกัน รวมถึงโปรแกรมสำหรับป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง

Dementia is a chronic illness that is usually found in elderly people. It is a collection of symptoms that are caused by the impairment of cognitive and intellectual functions of the brain. Memory loss is the most common symptom of dementia. People with dementia may experience behavioral, personality, and emotional changes. Their perception, language skills, and cognitive skills including reasoning and judgment may be impaired without loss of consciousness. The symptoms will gradually progress from early stage with minimal symptoms to middle stage with moderate symptoms, and then to late stage with severe symptoms. Dementia in Thai elders will be primarily assessed by a dementia questionnaire, an Activity of Daily Living Index, and the Mini-Mental State Examination – Thai. Recently, many studies aimed to develop and test the effectiveness of rehabilitation programs for elders with dementia. Reality orientation therapy (ROT) and cognitive stimulation therapy (CST) were found to be effective in improvement cognitive ability, ability to perform activities of daily living, and quality of life of the elders with dementia. These therapies can restore and prevent more progression of cognitive impairment. They are more effective in the early and middle stage of dementia. The principles of these therapies should be applied in taking care for the elders in families, communities, institutions, and healthcare organizations. More studies are needed for development of rehabilitation programs which are suitable for Thai elders with different stages of dementia and prevention programs for risky elderly people

รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 137-150.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa