ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559
บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ
ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »
ในฐานะที่ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ “งานสารบรรณ” ขอบข่ายงานสารบรรณ มีเนื้องานมากมายหลากหลาย ผู้เขียน ขอเอ่ยถึงวิธีการปฏิบัติในส่วนงานที่ได้รับ คือ งานที่เกี่ยวกับงานเอกสาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การจัดพิมพ์ การรับ การส่ง
ความหมายของ “งานสารบรรณ” ทำให้สามารถเห็นถึงขั้นตอนและขอบข่ายของงานสารบรรณ ดังนี้
ขั้นตอนการรับหนังสือ
ขั้นตอนการส่งหนังสือ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัย โดยเฉพาะทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเมื่อวันที่ 19 – 20 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมาสภาเทคนิคการแพทย์ได้มาทำการตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรวิทยาศาตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และรับรองสถาบันการศึกษา รวมทั้งได้ตรวจเยี่ยมชมศูนย์บรรณสารสนเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. เนื่องจากเกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ก็คือ
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดเตรียมหนังสือของคณะเทคนิคการแพทย์ไว้เพื่อตรวจประเมิน 8 สาขาวิชา ส่วนหนึ่ง ไว้ที่ชั้น 4 ซึ่งเป็นชั้นหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบด้วย
ชั้นจัดแสดงหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ส่วนหนึ่ง
พร้อมจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์บริการต่างๆ ที่สนับสนุนเกณฑ์ในข้อ 1 และ ข้อ 2
บอร์ดข้อมูล นโยบายของศูนย์บรรณสารสนเทศ การเปิดให้บริการ
บอร์ดข้อมูลบริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการสืบค้นข้อมูล การให้บริการสนับสนุนการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย
หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ
การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น
ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น
วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น มีดังนี้
การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น
ขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือหรือสื่อต่างๆ จากฐานข้อมูลระบบ VTLS ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ซึ่งประโยชน์หลักๆ ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้
ดังมีวิธีการตรวจสอบหนังสือและสื่อต่างๆ ดังนี้
ดังรูปภาพนี้
ก่อนการพิจารณาตรวจสอบฐานข้อมูล (Before)
วิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ
พิจารณาดำเนินการตรวจสอบแล้ว (After)
ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้
1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ
หลักการและเหตุผล
สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ. ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนสหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จริงที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เสมือนเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานชั่วคราว ระยะเวลาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ( 1 ภาคการศึกษา) นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องทำรายงานวิชาการในหัวข้อเนื้อหาที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กร หรือ หัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด และมีการส่งตัวเล่มรายงานสหกิจศึกษา ให้กับทางศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการสหกิจศึกษา โดยมีการลงข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สืบค้นและเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้นำเสนอวิธีการสืบค้นรายงานสหกิจศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »
หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมต้องใช้โปรแกรม deep freeze มาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยเฉพาะถ้าท่านอยู่ในหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องมีให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้บริการ เช่น ห้องสมุด เป็นต้น หรือบางทีศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือหน่วยที่ให้บริการคอมพิวเตอร์ ก็จะมีการลงโปรแกรมนี้ เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการ และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ไม่มีจำนวนมากพอที่จะมาตามดูแลได้ทั้งหมด จึงต้องมีการลงโปรแกรม deep freeze เพื่อช่วยในการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าจะถามว่า Deep Freeze แปลว่า อะไร คงต้องแปลแบบพร้อมอธิบายแบบง่ายๆ ว่า คือ การแช่แข็งไดรฟ์ ให้คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา และมีประโยชน์อย่างไร Read the rest of this entry »
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ มีความสำคัญต่อวงการพิมพ์หนังสือทั่วโลก เนื่องจากมีการกำหนดใช้หมายเลขสากลเป็นรหัสประจำตัวของหนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งทำให้เกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การพิมพ์หนังสือทุกเล่มในระยะหลังจะมีหมายเลข ISBN (ยกเว้น การพิมพ์ที่ไม่การขอเลข ISBN ก็จะทำให้หนังสือเล่มนั้น ไม่อยู่ระบบหรือฐานข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ของประเทศนั้นๆ และทำให้ไม่สามารถควบคุมบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นในประเทศได้)
ISBN ย่อมาจาก International Standard Book Number หมายถึง เลขรหัสสากลที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ มีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละเล่ม มีการ ISBN จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้บริการห้องสมุด ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอก เข้ามาค้นหาหนังสือ และสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ หรือสอบถามจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประจำชั้น ได้แก่ การหาหนังสือไม่พบ เฉพาะกรณีที่สืบค้นพบรายการหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ แต่เมื่อไปหาหนังสือที่ชั้นหนังสือแล้ว ไม่พบ จากการที่ให้บริการหาหนังสือที่ผู้ใช้หาไม่พบ สามารถสรุปสาเหตุและจัดทำเป็นแนวปฏิบัติวิธีการให้บริการของการหาหนังสือไม่พบ ดังนี้ Read the rest of this entry »