การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Circulation ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโมดูลดังกล่าว สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การยืม การคืน การคืนมีค่าปรับ การยืมต่อ การคืนหนังสือในตู้ การ Notes การรับแจ้งหนังสือหาย การสร้างระเบียนสมาชิก และการทำ Offline circulation เมื่อระบบขัดข้อง กระผมหวังว่าคู่มือการปฏิบัติงานจะกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนะครับ รายละเอียดของ คู่มือปฏิบัติงาน ยืม-คืน WMS ตามไฟล์ที่แนบมานี้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS) เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ
งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก
วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที
Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษดังรูป
รูปที่ 1. แสดงตัวอย่างบางส่วนของงบประมาณคณะ
Read the rest of this entry »
หัวเรื่อง (subject heading) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อรวบรวมวัสดุสารสนเทศที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันมาอยู่ด้วยกันภายใต้คำหรือวลีเดียวกัน เป็นวิธีการจัดเก็บและควบคุมสารสนเทศอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ความสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศและข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ตามความต้องการและช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุด
หัวเรื่องที่บรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะกำหนดหัวเรื่องโดยมีคู่มือหัวเรื่องที่มีการจัดทำออกมาอย่างเป็นมาตรฐาน ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือเป็นคู่มือการกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสาขาวิชา สำหรับคู่มือการกำหนดหัวเรื่องที่รู้จักกันดีและเป็นมาตรฐานในการที่บรรณารักษ์ใช้เป็นคู่มือในการกำหนดหัวเรื่อง เช่น Library of Congress Subject Headings ของ Library of Congress
ปัจจุบันสามารถมีเป็นไฟล์หัวเรื่อง ติดตาม ได้ที่ https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html ซึ่งใช้กำหนดหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษ หรือ คู่มือกำหนดหัวเรื่องทางการแพทย์ (Medical Subject Headings) ส่วนการกำหนดหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย เช่น หัวเรื่องสำหรับการลงรายการหนังสือภาษาไทย ของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีเวอร์ชั่นออนไลน์เพื่อให้บริการจัดเก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้จากที่ต่างๆ สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงได้ที่ https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php
เว็บไซต์หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์
ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ
พิมพ์ชื่อผู้ใช้ : visitor
รหัสผ่าน : 123
Verify code : (ใส่ code ที่ระบบให้มา ในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้ง number code จะเปลี่ยนไป)
การใช้หัวเรื่องออนไลน์เพื่อตรวจสอบคำค้นนั้น โดยผู้ใช้พิมพ์คำค้นที่ต้องการลงไปในช่องการสืบค้นข้อมูลและคลิกค้นหา เช่น ต้องการค้นหาหัวเรื่อง กฎหมาย ว่ามีการกำหนดใช้หรือไม่ สามารถพิมพ์คำว่า กฎหมาย
ตัวอย่างการตรวจสอบคำค้นกฎหมายที่ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์จะปรากฎหัวเรื่องที่เป็นภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เข้าไปทดลองใช้กันดูนะคะ
คู่มือนักศึกษา เป็นสิ่งที่นักศึกษาควรทราบ ภายในเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยฯ และรายละเอียดต่างๆ เช่น
1. สารสนเทศทั่วไป ได้แก่ สัญลักษณ์ ต้นไม้ และสี ประจำมหาวิทยาลัย ปณิธาน วัตถุประสงค์ ประวัติของมหาวิทยาลัยและรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น
2. ระเบียบและประกาศ
3.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาโท และหมวดวิชาเลือกเสรี
4.หลักสูตรปริญญาตรี เพื่อที่นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจตลอดระยะเวลา 4 ปีนี้
รหัสวิชาและรายวิชานั้นมีความสำคัญและสอดคล้องกับหลักสูตรที่ทำการเปิดสอนในแต่ละสาขาวิชานั้นๆ และยังใช้เป็นแนวทางในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เช่น หนังสือชื่อ Peripheral nerve entrapments : clinical diagnosis and management ใช้ประกอบวิชา PT3433 กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1 เป็นต้น ผู้เขียน ปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา และมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละสาขาวิชา จึงจำเป็นต้องค้นหารหัสวิชาเหล่านี้เพื่อประกอบการปฏิบัติงาน จึงขอนำเสนอวิธีการค้นหารหัสวิชาและรายวิชาในคู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Read the rest of this entry »
สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดให้มีการอบรมโครงการกิจกรรมการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์บรรจบ ปิยมาตย์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ วิทยากรในการอบรมครั้งนี้
โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่องการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 1.3 การสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี อันจะก่อให้เกิดความสุขในการทำงานและการทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพบปะสังสรรค์
3. เพื่อพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
ผลที่คาดว่าได้รับ
1. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคลากร
3. มีการพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
วิทยากร ได้เริ่มต้นให้เรารู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งหลักๆ อันได้แก่
จากการเข้าร่วมประชุม OCLC APRC17 ในหัวข้อเรื่อง Hello! I’m the Smarter Library และศึกษาดูงาน ณ Waseda University Library และ National Diet Library ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 4 วัน จัดโดย OCLC Asia Pacific Regional Council สามารถสรุปรายงานที่ได้รับจากการเข้าประชุมและศึกษาดูงาน ดังนี้
ประเด็นทางกายภาพและการเข้าถึงสารสนเทศ
1. การวางแผนและการออกแบบห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ที่มีลักษณะ Smart Library ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ Intelligent, Attractive, Comfortable และ Reliable (เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหวอยู่เสมอ การออกแบบห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ) ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดการสื่อสารและการต่อยอดทางความคิด ด้วยความหลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดแกลอรี่ และพื้นที่โล่ง
2. การรู้จัก Design customer journey เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีช่องทางในการใช้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
3. การบริหารจัดการ การปรับปรุงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษาของ Hong Kong Polytechnic University นำเสนอ i-Space โดย I ย่อมาจาก Inspiration, Ideation และ Implementation ทางห้องสมุดจึงปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้เกิด Inspiration ในการเรียนรู้ และต่อยอดทางความคิดได้ และกรณีของ University of NSW, Australia ที่สำรวจความต้องการใช้พื้นที่ของนักศึกษา ได้รับคำตอบหลักๆ ที่ได้รับกลับมา ได้แก่ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560
การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์ กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »
หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้
คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2 ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”
เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ