SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การปรับกระบวนการและขั้นตอนการกำหนดเลขหมวดหมู่ Call number สำหรับสิ่งพิมพ์ มฉก.
มิถุนายน 28th, 2017 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ห้องสมุดได้รับไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือจัดหา (ทรัพยากรที่ได้เปล่า) ตลอดจนทรัพยากรที่ผลิตจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมีสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย  จากหลายแหล่ง เช่น ศูนย์สหกิจศึกษา และรายงานระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ  มีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรออกให้บริการล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของผู้ใช้  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เนื้อหาดังกล่าว  แผนกจัดหาฯ จึงมีมติจากที่ประชุมของแผนกให้มีการปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดหมวดหมู่ Call number ใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นแผนกจัดหาฯ จึงมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรที่เป็นรายงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ การวิจัย และการฝึกงานของนักศึกษา รวมทั้งงานวิจัยสถาบัน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ จะมีการปรับปรุงเลขหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยกำหนดขึ้นใช้เองเพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย มีเป้าหมายดังนี้

  1. ลดขั้นตอนการทำงานในการกำหนด Call number ขึ้นให้เองในแผนกเพื่อให้สิ่งพิมพ์นั้น ๆ นำออกให้บริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. แยกทรัพยากรสารสนเทศประเภทรายงานของนักศึกษาออกจากสิ่งพิมพ์ปกติ และมีความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้ใช้
  3. ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ อยู่ในจุด ๆ เดียว

ความหมายการกำหนดเลขหมวดหมู่ Call number มีรายละเอียดดังนี้

  • การวิจัยสถาบัน (มฉก) คือ งานวิจัยที่อาจารย์มหาวิทยาลัยทำขึ้นโดยได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย
  • วิทยานิพนธ์ (Thesis) คือ วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต (แผน ก)
  • ภาคนิพนธ์ (Term Paper)  สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ (Independent Study)  คือ การศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรระดับมหาบัณฑิต (แผน ข) เทียบเท่า วิทยานิพนธ์
  • สหกิจศึกษา คือ การเขียนรายงานจากการฝึกงานเป็นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาซึ่งผ่านศูนย์สหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบ
  • โครงการพิเศษ คือ การเขียนโครงานการฝึกงานเป็นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาซึ่งมีคณะต่าง ๆรับผิดชอบควบคุมดูแลและมีระยะเวลาในการฝึกแตกต่างกันส่วนใหญ่เป็นคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • รายงานการวิจัย (Report)  คือ การทำวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • การฝึกงานนักศึกษา คือ การฝึกงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาของคณะ ส่วนใหญ่เป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตการกำหนดหมวดหมู่ Call number

20170627_114502

  20170627_114434

ตัวอย่างลักษณะสิ่งพิมพ์ระดับปริญญาตรี รายงาน

20170627_114617 20170627_11473220170627_114648
ตัวอย่างลักษณะสิ่งพิมพ์ระดับปริญญาโท วิทยานิพนธ์  ภาคนิพนธ์ และวิจัย

 

20170627_134854

 

20170627_114803

20170627_114829


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa