SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการแยกเอกสารวางบิลส่งให้กับทางกองคลัง
มิถุนายน 25th, 2017 by chanunchida

การวางบิล เป็นเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยออกเพื่อให้กับทางร้านค้าในการจัดซื้อหนังสือ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ร้านค้าทราบถึงจำนวนเงินที่จะได้รับ และใช้เป็นเอกสารสำหรับการชำระเงิน

ปัญหาที่มักพบบ่อยในการแยกเอกสารวางบิล คือ ความผิดพลาดของการออกเอกสารของทางร้านค้า เช่น การกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา ไม่มีสำเนาของใบเสนอราคาและใบส่งของเพียงพอสำหรับใช้เก็บเป็นหลักฐาน ทำให้ทางศูนย์บรรณสารสนเทศต้องสูญเสียเงินในการถ่ายเอกสาร รวมไปถึงปัญหาการลืมส่งเอกสาร ส่งผลให้ร้านค้าได้รับเงินล่าช้า

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการแยกเอกสารวางบิลส่งให้กับทางกองคลัง โดยจะได้รับเอกสารทั้งหมดมาจากเจ้าหน้าที่จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยจะจดรายละเอียดลงในสมุดใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง และลงเลขที่ ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างลงในสมุดสถิติเอกสารวางบิล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานต่อไป

สมุดสถิติเอกสารวางบิล

 สมุดสถิติเอกสารวางบิล

สมุดใบสั่งซื้อสั่งจ้าง

                       สมุดใบสั่งซื้อสั่งจ้าง

ขั้นตอนการแยกเอกสารวางบิลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มีขั้นตอนการเรียงลำดับเอกสาร ดังนี้

 

ส่งให้กับกองคลังเพื่อวางบิลให้กับทางร้านค้า เก็บหลักฐานไว้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ
1.แบบขออนุมัติจัดซื้อตำราและทรัพยากรการเรียนรู้ (ต้นฉบับ) 1.แบบขออนุมัติจัดซื้อตำราและทรัพยากรการเรียนรู้ (สำเนา)
2.ใบขอเบิกงบประมาณ (ต้นฉบับ) 2.ใบขอเบิกงบประมาณ (สำเนา)
3.ใบเสนอราคาของร้านค้า (ต้นฉบับ) 3.ใบเสนอราคาของร้านค้า (สำเนา)
4.ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ของร้านค้า (ต้นฉบับ) 4.ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ของร้านค้า (สำเนา)
5.ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างของศูนย์บรรณสารสนเทศ (ต้นฉบับ) 5.ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างของศูนย์บรรณสารสนเทศ (สำเนา)
6. ใบตรวจรับพัสดุ/ตรวจรับการจ้าง

ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (ต้นฉบับ)

6. ใบตรวจรับพัสดุ/ตรวจรับการจ้าง

ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (สำเนา)

7. เอกสารอื่น ๆ

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa