บอร์ดเกม (Board game) หรือ เกมกระดาน คือ เกมส์กระดานรูปแบบหนึ่งต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมาก วางไว้บนพื้นที่เล่นเคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ “กระดาน” ซึ่งจะมีพื้นผิวหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มมีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศประเภท บอร์ดเกม (Board game) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 (ช่วงปลายปีงบประมาณ 2561) มีให้บริการที่บริเวณ ชั้น 1 ส่วนพื้นที่ในการเล่น บอร์ดเกม (Board game) ทุกพื้นที่ของอาคารบรรณสาร สามารถยืมบอร์ดเกม (Board game) ผ่านระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรมบอร์ดเกม (Board game)
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »
หนังสือในห้องสมุด เมื่อมีการนำออก หรือพิจารณาคัดออก จะต้องมีนำระเบียนนั้น ๆ ออกจากระบบห้องสมุดด้วย แต่เนื่องจากในระบบ WorldShare Management Services (WMS) เป็นระบบที่มีลักษณะเป็นสหบรรณานุกรม หรือรวมการลงรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่มีในแต่ละห้องสมุด จึงจะมีการใช้ระเบียนหลักร่วมกัน (Master record) ดังนััน เมื่อมีการดึงหนังสือเล่มใดออกจากห้องสมุดแล้ว ในระบบจึงไม่สามารถจะลบระเบียนหลัก (Master record) ได้เนื่องจากมีห้องสมุดแห่งอื่น ใช้ระเบียนนั้น ร่วมกันอยู่ แต่จะเป็นลบ item ของหนังสือเล่มนั้น ๆ ออกจากระบบ
ในการดึงหนังสือออก จึงมีการนำหนังสือเหล่านั้น มาสแกนบาร์โคดก่อน นำเข้าโปรแกรม Excel เพื่อจะได้เป็นหลักฐาน และเพื่อนำบาร์โคดนั้นมาลบออกจากระบบห้องสมุดต่อไป โดยระบบสามารถให้ลบ Barcode ได้ทีละจำนวนมาก ๆ หรือเป็นการลบ item ได้ทีละจำนวนมาก ๆ นั่นเอง
ขั้นตอนการลบ Item ออกจากระบบ WMS
1. เตรียมข้อมูลบาร์โค้ดที่ต้องการลบเป็น File Excel โดยมีหมายเลขบาร์โค้ด 1 item ต่อ 1 บรรทัด ตามภาพ
ภาพตัวอย่างการเตรียมข้อมูล File Barcode ที่ต้องการลบ
2. เข้าสู่ระบบ WMS เรียบร้อยแล้ว ทำการตั้งค่า ดังนี้ Read the rest of this entry »
Board Game หรือเกมกระดาน เป็นอุปกรณ์เครื่องเล่นที่ปรากฏอยู่คู่สังคมมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น หมากรุก หมากฮอส หมากล้อมหรือโกะ จนกระทั่งในปัจจุบัน Board Game สมัยใหม่ได้มีการพัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบ มีทั้งแบบที่เล่นเองได้โดยง่าย และแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และเพิ่มเรื่องราว โดยออกแบบร้อยเรียงเข้าไว้ในขั้นตอนการเล่นเกม จึงทำให้ผู้เล่นต้องศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดของเกมก่อนที่จะเล่น ในระหว่างที่เล่นเกม ต้องคิดวางแผนแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่กำลังล้อมวงเล่นเกมในขณะนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกิดการพัฒนาทางความคิด เสริมสร้างทักษะที่ดีให้กับผู้เล่น ทั้งยังสร้างความสนุกสนาน ให้บันเทิงกับผู้เล่นได้เป็นอย่างดี
ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังกล่าว ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งพิจารณานำ Board Game เข้ามาให้บริการ เพื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการของเยาวชน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา สามารถสื่อสาร และร่วมงานกับคนอื่นได้ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญของคนในศตวรรษที่ 21 หรือที่เรียกแบบย่อ ว่า 4Cs ซึ่งย่อมาจาก
การกำหนดสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ในห้องสมุด จะเป็นความรับผิดชอบของงาน Cataloging เพื่อเป็นการจัดระเบียบของสิ่งพิมพ์ให้มีความชัดเจนและเพื่อเป็นการให้บริการผู้ใช้สามารถหยิบใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
หนังสืออ้างอิง (Reference Book) เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่มีในห้องสมุด หมายถึง หนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น จะไม่ใช้อ่านทั้งเล่ม ดังนั้นหนังสืออ้างอิงจึงถูกจัดแยกออกจากหนังสือทั่วไป เป็นหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด โดยจะมีการกำหนดสถานะ (Code) หรือสัญญลักษณ์ในระบบห้องสมุด เพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่สามารถยืมออกจากห้องสมุดได้ แต่สามารถใช้อ่านศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น ในการกำหนดสถานะ (Code) ของหนังสืออ้างอิงของระบบ WorldShare Management Services (WMS) บรรณารักษ์งาน Cataloging จะต้องเข้าไปกำหนดในเขตข้อมูล Tag 008 ดังนี้ Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือที่มีการยืมมากที่สุดประจำปีการศึกษา 2561 นี้ มาดูกันครับว่ามีหนังสือเล่มใดกันบ้างและหากสนใจอ่านสามารถมาอ่านได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ นะครับ
สถิติจำนวนการใช้หนังสือกับงาน High Use Circulation Titles Summary Report ใน WMS
สถิติการยืมเหล่านี้ มาจากฟังก์ชั่นงานที่ OCLC ได้จัดทำสถิติในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อรายงานสถิติเกี่ยวกับการใช้หนังสือที่น่าสนใจดังนี้ Items Checked Out/ Items Renewed/Items Soft Checked Out และสรุปผลรวมการใช้หนังสือสามารถเข้าถึงได้โดยเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ High Use Circulation Titles Summary Report
ห้องสมุด ควรจะได้มีการนำสถิติเหล่านี้ มาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่างๆ เช่น การจัดแสดงหนังสือ ตามประเภทที่ถูกใช้มากที่สุด หรือ หนังสือยอดฮิต หรือหนังสือที่มีการยืมน้อย
เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน ปีที่เขียน เป็นต้น ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้
1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1
2.ให้คลิกที่เมนู File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »
ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties
ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ การวิจัย หนังสือหายาก และบทความ ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search) ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »
การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ
การจัดทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ใช้บริการ ในการสืบค้นรายชื่อสื่อโสตฯ เพิ่มอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการสืบค้นจากระบบห้องสมุด แผนกทรัพยากรการเรียนรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดทำรายชื่อสื่อโสตฯ จำนวน 2 เล่ม ไว้ให้บริการที่เคาน์เตอร์ยืม-คืนโสตทัศนวัสดุ ภายในเล่มจัดแบ่งออกเป็น
– หมวด ภาพยนตร์ทั่วไป – หมวด ภาพยนตร์สารคดี – หมวด ภาพยนตร์ประกอบการเรียนภาษาอังกฤษ – หมวด ภาพยนตร์ซีรียส์
ขั้นตอนการทำรายชื่อโสตทัศนวัสดุ
1. ลงรายการสื่อโสตฯ ด้วยโปรแกรม Excel
2. ใส่ข้อมูลรายการ รหัสโสตฯ ชื่อเรื่อง ภาษา (จากภาพเลข1-3)
3. ใส่ข้อมูลแยกตามหมวดของสื่อโสตฯ (จากภาพเลข4-7) โดยคลิกที่ Insert Worksheet จากภาพเลข 8 หรือ กดshift+F11