Bulk renew items เป็นฟังก์ชั่นใหม่ที่ทำให้การทำงานของ Admin ที่ดูแลระบบทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น เพื่อให้สะดวกมากขึ้นในการปรับ วันกำหนดส่ง (Due dates) ในระบบ WMS ให้กับผู้ใช้บริการครั้งละมากๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องขยายการต่ออายุ หรือต่ออายุหนังสือให้กับผู้ที่ยืม โดยที่ไม่ต้องห่วงเรื่องการมาคืน หรือกลัวจะถูกปรับ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่สามารถออกจากบ้านได้ เนื่องจากการเกิดโรคระบาด
ฟังก์ชั่นนี้ต้องจัดทำโดยผู้ดูแลระบบเท่านั้น ซึ่งมีขั้นตอนในการทำดังนี้
1.ดาวน์โหลดโปรแกรม worldshare-circ-bulk-renew-windows.exe Read the rest of this entry »
ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 เกิดขึ้น ก็ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป โดยหลัก ๆ จะเป็นการเว้นระยะห่าง ทั้งระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และระยะห่างทางกายภาพ (Pysical Distancing) รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่อยู่ในสาธารณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตามมาตรการหลักที่ทาง ศูนย์ข้อมูลมาตรการการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้กำหนดไว้
เหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงชื่อเข้าใช้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากแต่เดิมจะใช้บัตรนักศึกษา Scan Barcode ผ่านเครื่อง Scan หรือหากนักศึกษาไม่ได้นำบัตรมา ก็ต้องใส่รหัสประจำตัวผ่านแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ลงในตาราง Excel เพื่อเป็นการเก็บสถิติผู้เข้าใช้ในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลา ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการ Scan QR code ด้วยโทรศัพท์มือถือของตนเอง เพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลผู้เข้าใช้ใน Google Form แทน ซึ่งวิธีนี้ ลด เลี่ยง การสัมผัสจากสิ่งของสาธารณะได้ 100% Read the rest of this entry »
ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง “TK Forum 2020 ‘Finland Library and Education in the Age of Disruption”ที่จัดโดยสถาบันอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ ได้รับฟังสาระความรู้ที่ดีและมีประโยชน์จากวิทยากร ของประเทศฟินแลนด์ คือ คุณแอนนา คอร์ปิ (Anna Korpi) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ประจำสถานทูตฟินแลนด์ในสิงคโปร์ บรรยายในหัวข้อ “How Library Can Promote the Quality of Education: The Experiences from Finland” (ห้องสมุดมีวิธีการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร : ประสบการณ์จากประเทศฟินแลนด์) และคุณยาน่า เตือร์นิ (Jaana Tyrni) ผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเอสโปประเทศฟินแลนด์ บรรยายในหัวข้อ “Living and Flourishing with Change – Development of Finnish Libraries” โดยสรุปได้ดังนี้
How Library Can Promote the Quality of Education: The Experiences from Finland (ห้องสมุดมีวิธีการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร : ประสบการณ์จากประเทศฟินแลนด์)
สภาพโดยทั่วไปของประเทศฟินแลนด์
ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป มีประชากรทั้งประเทศประมาณ 5.52 ล้านคน มีประวัติศาสตร์ความเป็นมามากกว่า 100 ปี ในอดีตเคยเป็นประเทศยากจนและเศรษฐกิจไม่ดีมาก่อน มีเมืองหลวงคือกรุงเฮลชิงกิ แต่ได้รับการพัฒนาจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องและจริงจังจนปัจจุบันฟินแลนด์กลายเป็นประเทศที่ร่ำรวย และมีเศรษฐกิจดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ฟินแลนด์มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ มีรัฐสภา ประมุขของประเทศ คือ ประธานาธิบดี อำนาจบริหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี มีการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี โดยหน่วยงานระดับท้องถิ่นสามารถพิจารณางบประมาณการลงทุนและตัดสินใจพิจารณางบประมาณได้ด้วยตัวเอง เช่น การสร้างสมุดอย่างสมบูรณ์แบบ แม้ว่าจะใช้เงินมากมายมหาศาลแต่รัฐบาลเห็นความสำคัญในการลงทุนเพื่อประชาชน
การบริหารจัดการเรื่องห้องสมุด
ห้องสมุดประชนชนของประเทศฟินแลนด์ ขึ้นตรงกับกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม โดยได้รับงบประมาณที่มีจำนวนมากมายถึงปีละ 320 ล้านยูโร ซึ่งกระจายไปให้ห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศที่มีจำนวนถึง 720 แห่ง จัดสรรงบประมาณออกไปตามแต่ละท้องถิ่นให้บริหารกันเอง และไม่มีการตัดงบประมาณด้านห้องสมุดมีแต่จะเพิ่มขึ้น ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับห้องสมุดมากที่สุด มีบริการห้องสมุดอยู่ทุกมุมเมืองของประเทศทั้งในตัวเมืองและตามชนบท มีตั้งแต่ห้องสมุดขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก Read the rest of this entry »
ปัจจุบัน Facebook เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ และก็ถูกใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งของหน่วยงานนั้นๆ อย่างห้องสมุดก็ใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดด้วย ไม่ว่าจะเป็น การแจ้งประกาศ ข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ การแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ และสามารถคลิกไปหาหนังสือที่ต้องการเพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่ห้องสมุดทำช่องทางให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการสร้าง URL Link และ แฮชแท็ก (Hashtag) #SubjectGuideไกด์หนังสือให้คุณ ในโพสหน้าเพจ Facebook เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงระบบห้องสมุด เพื่อดูหนังสือที่แนะนำ หรือค้นหาหนังสืออื่นๆ ในระบบได้ทันทีเพียงคลิกเดียว! แต่ทั้งนี้ ต้องมีการสืบค้นหัวข้อที่จะแนะนำหนังสือนั้น ๆ ก่อน นะคะ
ตัวอย่างที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แนะนำหนังสือด้วยการใช้ Subject Guide เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำหนังสือผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศค่ะ
Read the rest of this entry »
เนื่องจากในแต่ละปี ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้รับหนังสือบริจาคเข้ามาในปริมาณจำนวนมาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการหนังสือที่ได้รับบริจาคเหล่านั้น ดังนี้
งานบริจาคหนังสือ ดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้
ดังนั้น งานบริจาคหนังสือจะมีไฟล์รายชื่อหนังสือที่เก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งจะมีการใช้ไฟล์ร่วมกับงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และไม่ต้องเปลืองงบประมาณ
หนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย คือ หนังสือรวบรวมรายนามผู้ก่อตั้งและสมาชิกของสมาคมจีน หนังสือที่ระลึก หนังสืออนุสรณ์ รายงานประจำปีของสมาคม หนังสือตระกูลแซ่ชาวจีนโพ้นทะเล ฯลฯ เนื้อหามักประกอบด้วยรายชื่อสมาชิก ตำแหน่ง สำนักงาน สถานที่ติดต่อของสมาชิก บางเล่มมีกล่าวถึงประวัติและวัตถุประสงค์ของสมาคมที่จัดตั้งขึ้นและกิจกรรมของสมาคม
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีหนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย อยู่จำนวนพอสมควร มีการจัดเก็บเพื่อให้บริการค้นคว้า ความเป็นมาของแต่ละสมาคม คณะกรรมการแต่ละชุด และผลงานของสมาคมแต่ละแห่ง การลงรายการทางบรรณานุกรม ของหนังสือประเภทนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศได้กำหนดแนวทางไว้โดยให้บริการอ่านในห้องสมุดภาษาจีนเท่านั้น มิให้ยืมออก และมีการกำหนดหมวดหมู่ขึ้นใช้เอง ถ้าต้องการใช้สามารถสืบค้นในระบบห้องสมุด หรือมาที่ห้องสมุดภาษาจีน ชั้น 5 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และติดต่อขอยืมอ่านได้
การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือสมาคมจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีขั้นตอนดังนี้ Read the rest of this entry »
หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย เริ่มมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2450 ชื่อหนังสือพิมพ์จีนที่มีปรากฎไว้ในหอสมุดแห่งชาติ คือ華暹新報 ชื่อไทย จีโนสยามวารศัพท์ โดยมีนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเป็นเจ้าของ จากนั้นก็มีการผลิตหนังสือพิมพ์จีนชื่ออื่นๆ ต่อมา ดังรายชื่อต่อไปนี้
1.國民日報星期增刊 ก๊กมิ้นฉบับพิเศษ รายสัปดาห์
2.光華周刊 กงหอจิวคัง รายสัปดาห์
3.光華報 กงหอป่อ รายวัน
4.光華周刊 กงหอป่อฉบับวันอาทิตย์ รายสัปดาห์
5.光明週報 กวงหมิง รายสัปดาห์
6.光華報 กวงฮั้วเป้า รายวัน
7.光華周刊 กวงฮั้วเป้า รายสัปดาห์
8.國民日報 กัวมิน รายวัน
9.商報 ข่าวสินค้าพาณิชย์ รายวัน
10.僑聲 คิ่วเซ็ง รายวัน
11.僑聲 เคียวเซ็ง รายวัน
12.中中 จงจงวิทยาสาร
13.華暹新報 จีโนสยามวารศัพท์ รายวัน
14.正氣 จิ้นชี้ รายทศ
15.知行導報 จือสิงเต้าเป้า รายวัน (ฉบับบ่าย) Read the rest of this entry »
ผู้เขียนมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ ความถูกต้องและความคมชัดของไฟล์ภาพเอกสารหนังสือพิมพ์จีน (ภาษาจีน) โดยไฟล์ดิจิทัลดังกล่าว จะมีการนำเข้าสู่ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเตรียมไว้ให้บริการสืบค้นและเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในงานวิจัยต่างๆ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.เปิดโปรแกรม KeyIn Dialog ดังภาพ
เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) เป็นนิตยสารของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ออกวางจำหน่ายเป็นรายเดือน ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 สำหรับเนื้อหาภายในนิตยสารนั้นจะมีเกี่ยวกับทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีการตีพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นถึง 37 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย
งานวารสารฯ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเดิมได้มีการบอกรับเป็นตัวเล่มเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการบอกรับในรูปแบบของ e- Magazine ซึ่งสามารถอ่านจากที่ไหน ก็ได้ โดยการอ่านผ่านหน้าจอ Smart Phone หรือ Tablet เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ สำหรับการให้บริการนั้นทางห้องสมุดได้สมัครสมาชิกไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับ USER การใช้งาน 1 USER สามารถอ่านเนื้อหาได้ครั้งละ 5 เครื่องพร้อมกัน Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis) และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก. ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »