SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ย้อนรอยห้องสมุด ธนาคารศรีนคร
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

เคยแต่ได้ยินชื่อห้องสมุดธนาคารศรีนคร ตั้งแต่เมื่อสมัยเรียนบรรณารักษศาสตร์ เพราะห้องสมุดธนาคารศรีนคร จะถูกจัดอยู่ในห้องสมุดประชาชนของหน่วยงานเอกชน จึงเป็นการรับรู้ชื่อห้องสมุดธนาคารศรีนคร ตั้งแต่นั้นมา กาลเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของธนาคารศรีนคร ทำให้กิจการของห้องสมุดกลายเป็นอดีต

ห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนคร

ห้องสมุดประชาชน ธนาคารศรีนคร

ด้วยความซาบซึ้งในความคิด และวิสัยทัศน์ของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ที่ท่านเห็นความสำคัญของการศึกษาในการที่จะช่วยให้มีการพัฒนาบุคคล ทั้งทางสมอง สติปัญญา อันจะเป็นกำลังของชาติในอนาคต และส่วนสำคัญที่จะสร้างสติปัญญา และพัฒนาบุคคลได้นั้น หนังสือเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงพยายามรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการย้อนรอยและระลึกถึงท่าน

8 มกราคม พ.ศ. 2515 ในปี 2515 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีหนังสือระหว่างประเทศ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ (ประธานกรรมการธนาคารศรีนคร) เห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะเป็นการเริ่มต้นให้เยาวชนได้มีแหล่งความรู้ และถือว่าเอาวันเด็กแห่งชาติ คือ วันเสาร์ที่ 8 มกราคม เปิดห้องสมุดขึ้นบริการแก่เด็ก และเยาวชน ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นห้องสมุดเยาวชน ธนาคารศรีนคร อยู่ที่ ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาสามแยก เลขที่ 573 ถ. เยาวราช สัมพันธวงศ์ กทม. มีหนังสือเด็กและเยาวชน พร้อมกิจกรรมพิเศษ เช่น ชั่วโมงเสริมทักษะและเล่านิทาน ชั่วโมงเล่นเกม

4 เมษายน พ.ศ. 2515 ด้วยมีผู้สนใจในการใช้ห้องสมุดเป็นจำนวนมาก จึงได้เปิดเป็นห้องสมุดประชาชน นับเป็นห้องสมุดแห่งที่ 2 ของธนาคารศรีนคร ให้บริการที่ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขา ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่ 1740 ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้กับเชิงสะพานลอยอโศก มีนายบุญถิ่น อัตถากร ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด และที่นี่ได้เปิดห้องสมุดกอล์ฟขึ้นอีกมุมหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมกีฬากอล์ฟ มีการจัดให้มีนักกอล์ฟมือโปรให้คำแนะนำอีกด้วย เปิดบริการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด นับว่าเป็นห้องสมุดกอล์ฟแห่งแรกของไทย

15 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เปิดห้องสมุดธนาคารศรีนคร เป็นแห่งที่ 3 โดยขยายไปยังภูมิภาค พร้อมกับการเปิดธนาคารศรีนคร สาขาเชียงใหม่ เลขที่ 119 ถ. ช้างคลาน อ. เมือง จ. เชียงใหม่ โดยมีนายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด

21 สิงหาคม พ.ศ. 2519 เปิดห้องสมุดประชาชน เป็นแห่งที่ 4 ที่ชั้น 8 ของอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารศรีนคร เลขที่ 2 ถ. เฉลิมเขต 4 สวนมะลิ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. โดยได้ทำพิธีเปิดพร้อมกับอาคารสำนักงานใหญ่ 16 ชั้น ของธนาคารศรีนคร อันเป็นวันครบรอบปีที่ 26 ของธนาคารศรีนคร
เน้นทางด้านการเงินและการธนาคาร และที่ห้องสมุดสำนักงานใหญ่นี้ มีการจัดเป็นห้องสมุดภาษาจีน โดยจัดเป็นห้องแยกต่างหากไม่ปะปนกัน มีบรรณารักษ์ทางด้านภาษาจีนให้บริการห้องสมุด อาจกล่าวได้ว่าเป็นห้องสมุดภาษาจีนแห่งแรกในประเทศไทย

27 สิงหาคม พ.ศ. 2522 เปิดห้องสมุดประชาชน ที่ชั้น 2 ธนาคารศรีนคร สาขาพิจิตร เลขที่ 22/22 ถ.ศรีมาลา อ. เมือง จ. พิจิตร นับเป็นห้องสมุดแห่งที่ 5 โดยมี ดร. ชูวงศ์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิด

29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เปิดห้องสมุดประชาชนแห่งที่ 6 ที่ธนาคารศรีนคร สาขาวงเวียนใหญ่ เลขที่ 1491/1 ถ. ประชาธิปก หัวมุมวงเวียนใหญ่ เขตคลองสาน กทม. โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

ทราบว่า หนังสือห้องสมุดภาษาจีน มีการกระจายไปหลายแห่ง ที่เห็นตัวเล่ม คือ ห้องสมุดภาษาจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และห้องสมุดภาษาจีน สถาบันภาษา (เดิม คือ สถาบันพัฒนาครูสอนภาษาจีน) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

รายการอ้างอิง

สมชาย สินวัฒนรักษ์. (2531). ธนาคารศรีนครกับการพัฒนาห้องสมุด. วารสารการศึกษานอกโรงเรียน 25,142 (ก.พ.-มี.ค.),31-36.

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 1)
พ.ค. 18th, 2018 by supaporn

ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)

ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ

 

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้

หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น

https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063

https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf

http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf

 

 

งานบริจาคหนังสือ…การให้การแบ่งปันความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
มี.ค. 28th, 2018 by supachok

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services

สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป

รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
มี.ค. 26th, 2018 by Tossapol Silasart

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก

  • ระบบ Offline Circulation WMS จะใช้งานก็ต่อเมื่อ ระบบ WorldShare Circulation ปิดระบบชั่วคราว หรือระบบไม่พร้อมใช้งาน

โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
มี.ค. 2nd, 2018 by pailin

หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก  โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว

เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย

– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In
– กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return
– แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น

Read the rest of this entry »

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ก.พ. 14th, 2018 by pailin

การทำ Data Migration คือ การโอนย้ายข้อมูลจากระบบเดิมไปยังระบบใหม่ ซึ่งมีขั้นตอน กระบวนการ และความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างระบบเดิมกับระบบใหม่ที่ซับซ้อน ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดในทุกขั้นตอนของการทำ Data Migration

หลักจากที่ผู้บริหารตัดสินใจเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จากระบบ Virtua ที่ใช้งานอยู่ ไปเป็น WorldShare Management Services (WMS) ทำให้ทีมงานผู้ใช้ระบบเดิมอยู่ กับ ทีมงานของผู้พัฒนา WMS จาก OCLC และตัวแทนจำหน่าย ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล ประสานการดำเนินงาน และกำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการโอนย้ายข้อมูลเข้า WMS โดยขั้นตอนหลัก ดังนี้ Read the rest of this entry »

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ก.พ. 11th, 2018 by ปัญญา วงศ์จันทร์

Capture2

การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Circulation ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโมดูลดังกล่าว สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การยืม การคืน การคืนมีค่าปรับ การยืมต่อ การคืนหนังสือในตู้ การ Notes การรับแจ้งหนังสือหาย การสร้างระเบียนสมาชิก และการทำ Offline circulation เมื่อระบบขัดข้อง กระผมหวังว่าคู่มือการปฏิบัติงานจะกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนะครับ รายละเอียดของ คู่มือปฏิบัติงาน ยืม-คืน WMS  ตามไฟล์ที่แนบมานี้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก 

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

การอบรมเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว
ก.พ. 3rd, 2018 by supaporn

หลังจากเข้ารับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ในโครงการนำร่องห้องสมุด 10 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2559 นั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ตามกำลังของศูนย์บรรณสารสนเทศ นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุมประจำปี การส่งแผนและผล ให้ทุกปี แล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้เข้ากิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าร่วมการชดเชยคาร์บอนรายบุคคล การเข้าอบรมเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ด้วยมีความคิดเห็นว่า หลังจากการผ่านการตรวจประเมินแล้ว น่าจะขยับมาเป็นผู้ตรวจและน่าจะเป็นแรงหนึ่งในการเป็นผู้ตรวจประเมินให้กับเครือข่ายฯ จึงได้สมัครเข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2561 ได้รับความรู้และแนวทางในการจะต้องเป็นผู้ตรวจอย่างเต็มที่ และจะเป็นผู้ตรวจทั้งที จึงต้องผ่านการสอบด้วย

ก่อนการอบรม มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5  ด้วย นับว่าตอนนี้ เครือข่ายเพิ่มจำนวนร่วม 50 แห่ง หลังจากนั้น จึงเริ่มการอบรม ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  • การตรวจประเมินความสอดคล้องตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • การจัดการพลังงานในห้องสมุด โดย อาจารย์ปัญญวัฒน์ โกมุทบุตร  ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • การคัดแยกขยะ โดย นายบัญชาการ วินัยพานิช
  • การจัดการสารสนเทศห้องสมุดโดย นางสาวธนภรณ์ ฉิมแพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรโดย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง
  • แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว โดย ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง และคณะทำงาน สำนักหอสมุด มีการจำลองการตรวจเสมือนจริง ตั้งแต่ตอนเปิดการตรวจ การแนะนำทีมผู้ตรวจ เวลาการตรวจ และให้สำนักหอสมุด เป็นสถานที่ที่เข้ารับการตรวจประเมิน แนะนำสถานที่ นำเสนอการดำเนินงานตามเกณฑ์แต่ละข้อ และแบ่งทีมผู้เข้าอบรมเป็น 2 ทีม ทีมหนึ่งนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง เพราะเน้นทางด้านพลังงาน ส่วนอีกทีมหนึ่ง นำโดย ดร. อารีย์ เพราะเป็นเรื่องสำนักงานสีเขียว และทางด้านห้องสมุด แนะนำวิธีการตรวจจากหลักฐานเชิงประจักษ์ หลังจากกลับจากการตรวจสถานที่แล้ว ได้มีการทดสอบผู้เข้ารับการอบรม ข้อสอบมีจำนวน 40 ข้อ
การเปลี่ยนแปลงของงานวารสาร จากตัวเล่มสู่ QR Code
ก.พ. 2nd, 2018 by อุไรรัตน์ ผาสิน

เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS)  เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก

  1. เปลี่ยนการจัดเรียงการให้วารสารตามสาขาของวารสาร แทนการจัดเรียงตามลำดับอักษร เนื่องจาก ผู้ใช้ในสาขาวิชานั้น จะสามารถเข้าถึงวารสารได้โดยตรง เช่น วารสารทางด้านพยาบาล (เนื่องจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความโดดเด่นในการเรียนการสอนทางด้านพยาบาล) วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพ (รวมเทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เภสัชศาสตร์ การแพทย์แผนจีนเป็นต้น) วารสารทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมจีน บริหารธุรกิจ เป็นต้น)
  2. กำหนดคำค้น เพิ่มในรายการเมทาดาทาของวารสาร เป็นวารสารตามสาขาที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 เพื่อให้สามารถสืบค้นและสามารถส่งรายชื่อวารสารเพื่อรับรองหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว
  3. ตรวจสอบรายชื่อวารสารที่มีการผลิตเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์และทำ QR Code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสแกน QR Code และอ่านเนื้อหาของวารสารได้ทันที เป็นการลดการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่ม โดยการให้บริการฉบับอิเล็กทรอนิกส์แทน ซึ่งทำ QR Code ไว้หน้าปกวารสาร (บางฉบับที่ได้รับฟรี หรือยังมีความจำเป็นต้องบอกรับเป็นตัวเล่ม) กรณีที่ไม่ตัวเล่มแล้ว จะสแกน QR Code พร้อมชื่อวารสาร จัดวางไว้ให้บริการที่ชั้นวางวารสาร ดังรูป

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

    วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa