จากการเข้าร่วมประชุม OCLC APRC17 ในหัวข้อเรื่อง Hello! I’m the Smarter Library และศึกษาดูงาน ณ Waseda University Library และ National Diet Library ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 4 วัน จัดโดย OCLC Asia Pacific Regional Council สามารถสรุปรายงานที่ได้รับจากการเข้าประชุมและศึกษาดูงาน ดังนี้
ประเด็นทางกายภาพและการเข้าถึงสารสนเทศ
1. การวางแผนและการออกแบบห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ที่มีลักษณะ Smart Library ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ Intelligent, Attractive, Comfortable และ Reliable (เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหวอยู่เสมอ การออกแบบห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ) ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดการสื่อสารและการต่อยอดทางความคิด ด้วยความหลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดแกลอรี่ และพื้นที่โล่ง
2. การรู้จัก Design customer journey เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีช่องทางในการใช้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
3. การบริหารจัดการ การปรับปรุงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษาของ Hong Kong Polytechnic University นำเสนอ i-Space โดย I ย่อมาจาก Inspiration, Ideation และ Implementation ทางห้องสมุดจึงปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้เกิด Inspiration ในการเรียนรู้ และต่อยอดทางความคิดได้ และกรณีของ University of NSW, Australia ที่สำรวจความต้องการใช้พื้นที่ของนักศึกษา ได้รับคำตอบหลักๆ ที่ได้รับกลับมา ได้แก่
3.1 ต้องการให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่เงียบสงบเพื่อการศึกษา ค้นคว้า
3.2 ต้องการให้สามารถเข้าใช้ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน
3.3 ต้องการมีพื้นที่และที่นั่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมด้วยเก้าอี้ที่คำนึงถึงหลักเออร์โกโนมิกส์
3.4 ต้องการให้เป็นสถานที่นอน
ส่วนในเรื่องความต้องการที่เป็น Virtual space ได้แก่
3.5 Google analytics (incl. cohort analysis)
3.6 Single search box – analysis of search terms
3.7 CRM Knowledgebase views
3.8 Alma, Primo and Leganto views
3.9 Smart Sparrow (adaptive e-learning) analytics
3.10 Video views
3.11 Social media reach
3.12 Website focus groups & pop up survey
ประเด็นพัฒนาการของ OCLC
1.Tipasa เป็นระบบเสริมของการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
2. Share Print Management โปรแกรมการบริหารจัดการความรับผิดชอบและค่าใช้จ่าย สำหรับ Print Collection
3. งานวิจัยของ OCLC เช่น
3.1 Research Data Management (oc.lc/rdm)
3.2 Research Information Management: Defining RIM and the Library’s Role (oc.lc/rimpaper)
3.3 Shifting Gears: Gearing Up to Get into the Flow, Second Edition (oc.lc/shifting-gears)
3.4 OCLC Research presentations จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
3.4.1 Data Designed for Discovery – Roy Tennant นำเสนอในงาน International Association of University Libraries Conference (IATUL), 20 June 2017, Bolzano, Italy https://www.oclc.org/research/news/2015/11-23.html เป็นการออกแบบข้อมูลเพื่อให้เกิดผลการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.4.2 Challenges of Multilingualism – Karen Smith-Yoshimura ในงาน Visualizing Digital Humanities Workshop, 21 June 2017, Lorentz Center, Leiden, Netherlands https://www.youtube.com/watch?v=NG1tkE03WJo และ https://www.slideshare.net/oclcr/challenges-of-multilingualism
3.4.3 LIBER 2017 – Rebecca Bryant and Annette Dortmund ในงาน Adoption and Integration of Persistent Identifiers in European Research Information Management, Patras (Greece) http://www.oclc.org/content/dam/research/presentations/bryant/bryant-niso-virtual-aug-2017.pdf
4. Syndeo เป็นการพัฒนาความสามารถของเมทาดาทา เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของสมาชิกเครือข่ายห้องสมุด และจากรายการออนไลน์ การกำหนดการค้น การดูแลเรื่อง authority record จัดหากลไกผ่านกลุ่มของห้องสมุดผ่านภูมิภาคหรือประเทศที่มีรายการทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ การค้นคืน และการแสดงเมทาดาทารวมกันเป็นเพียง collection เดียว โครงการที่มีการดำเนินการ เช่น Te Puna (หอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์) และ Jisc ภายใต้โครงการ National Bibliographic Knowledgebase (NBK) ของสหราชอาณาจักร
ประเด็นการร่วมมือกับ OCLC ในโครงการต่างๆ ของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก
1. Wikipedia + Libraries: Better Together เป็นโครงการที่สร้างเครือข่ายของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในการสร้างองค์ความรู้ที่เป็น open access ในวิกิพีเดีย เพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ และด้วยความที่เป็นบรรณารักษ์เป็นผู้นำความรู้เข้าวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลจึงมีความน่าเชื่อถือ เป็นการปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่ใน
วิกิพีเดีย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สืบค้นหาข้อมูล และอีกโครงการหนึ่งที่เกี่ยวกับ Wikipedia คือ โครงการ #1Lib1Ref (One Librarian, One Reference) บรรณารักษ์แต่ละท่านใส่รายการอ้างอิงในวิกิพีเดีย
2. Te Puna เป็นโครงการของหอสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ โดยพัฒนาเครื่องมือและบริการต่างๆ เพื่อให้บรรณารักษ์ทั้งประเทศนิวซีแลนด์ในการสืบค้น การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อประหยัดงบประมาณ และเวลา รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ที่ต้องใช้ในห้องสมุดแต่ละแห่ง
3. Jisc กับความร่วมมือกับ OCLC ภายใต้โครงการ National Bibliographic Knowledgebase (NBK) ของสหราชอาณาจักร ในการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อให้ทราบว่ามีทรัพยากรเก็บไว้ที่แห่งใด รูปแบบใดที่สามารถใช้ได้ ทั้งในรูปของสิ่งพิมพ์และดิจิทัล สถานะของการเข้าถึงและการเข้าใช้ เป็นต้น